ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สติปัฏฐาน 4"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BallWarapol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''สติปัฏฐาน 4''' เป็นหลักการ[[ภาวนา]]ตาม[[มหาสติปัฏฐานสูตร]]<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52</ref> เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 อย่าง การตาม[[อนุปัสสนา]]ใน[[กาย]] [[เวทนา]] [[จิต]] และ[[ธรรม]]
 
คำว่าสติปัฏฐานนั้นแปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า '''สติ''' หมายถึงความระลึกรู้ ไม่ลืม สติเป็น[[เจตสิก]]ประ​เภทหนึ่ง​ที่เกิดกับจิตที่ดีงามเท่านั้น ไม่เกิดกับอกุศล คอยช่วยให้จิตที่ดีงามนึกถึงแต่เรื่องที่เป็น[[ประโยชน์]]ให้ผลเป็นความสุข ระลึกถึงแน่สิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดโทษคือกิเลส,​ ส่วน'''ปัฏฐาน''' ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​มหาสติปัฏฐานสูตร​และ​สติปัฏฐานสูตร ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่นไม่ปล่อยเวลาให้เสีย[[ประโยชน์]]
 
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของคือ วงจร[[ปฏิจจสมุปบาท]] เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีจนละคลายความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
 
# '''กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้ไม่ลืมว่ากายเป็นฐาน ซึ่งกายในแค่ที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือของธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น [[รูปธรรม]]หนึ่งๆ อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้นเป็นวงจร[[ปฏิจจสมุปบาท]] ก็จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่ากายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
# '''เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้ไม่ลืมว่าเวทนา, ทั้งสุข ทุกข์ อุเบกขา มีและไม่มี[[อามิส]], ล้วนเป็นฐาน[[นามธรรม]]อย่างหนึ่ง ไม่มองเวทนากายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็น[[แค่นามธรรม]]อย่างหนึ่ง ที่อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้นเป็นวงจรปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่าเวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
# '''จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้ไม่ลืมว่าจิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้มี[[เหตุใกล้]]คือ[[เจตสิก]]หรือรู้จิตก็ได้มากมายเป็นปัจจัยให้เกิดอยู่ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็น[[นามธรรม]]อย่างหนึ่ง ที่อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้นเป็นวงจรปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่าจิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
# '''ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้สภาวะไม่ลืมว่าโลกิยธรรมทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัยมากมาย ไม่มองด้วยความเป็นฐานคน สัตว์ ทั้งเรา เขา แต่มองเป็น[[รูปธรรม]]และ[[นามธรรม]]ล้วนมี ที่อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้นเป็นวงจรปฏิจจสมุปบาทก็จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่าธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัยล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
 
== อ้างอิง ==