ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสังหารหมู่ที่ปีเตอร์ลู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 12:
ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลและจะมีเจ้าของโรงงานที่มีน้ำใจกว้างขวางอย่าง โรเบิร์ต โอเวนก็ตาม แต่ว่าเจ้าของโรงงานที่มีความคิดเช่นเดียวกับโอเวนนั้นมีจำนวนน้อย ส่วนมากมักจะเป็นห่วงเรื่องการเงินหรือโรงงานมากกว่าสวัสดิภาพของพวกคนงาน เพราะฉะนั้นพวกกรรมกรส่วนมากซึ่งได้รับความเดือดร้อนก็มักจะไปชุมนุมกันเพื่อระบายความทุกข์ยากของตัวเอง ราษฎรได้เริ่มการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลให้เอาใจใส่ในฐานะของตนมากขึ้น จนได้เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้นระหว่างราษฎรกับรัฐบาลอังกฤษ
เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อ วันที่16 สิงหาคม 1819 ได้มีการชุมนุมของกลุ่มพวกราษฎรและกรรมกรประมาณ 80,000 คน ในเมืองแมนเชสเตอร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการทอผ้าในขณะนั้น ได้ไปชุมนุมกันที่จัตุรัส St. Peter’s Square เพื่อฟังคำอภิปรายเกี่ยวกับการปรับปรุงรัฐสภา ประเทศอังกฤษ ปรากฏว่าในการชุมนุมได้มีผู้แถลงการณ์ปรักปรำรัฐบาล ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาการณ์อยู่บริเวณการชุมนุมเข้าไปจับกุมผู้แถลงการปรำปรำนั้น ส่งผลให้ประชาชนบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก มีคนตาย11คน บาดเจ็บกว่า 400คน เป็นผู้หญิง 113คน ซึ่งรัฐบาลก็รู้สึกพอใจที่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีความรู้สึกที่จะออกมารับผิดชอบใดๆต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ประชาชนชาวอังกฤษประณามการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลและเห็นใจชาวอังกฤษที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐบาลครั้งนี้ และด้วยเหตุนี้เองประชาชนชาวอังกฤษจึงร่วมกันรุมประณามการกระทำของรัฐบาลโดยเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า Peterloo Massacre ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อล้อเลียนชัยชนะของรัฐบาลที่ วอเตอร์ลู เหตุการณ์ Peterloo Massacre เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งแรกในหลายๆครั้งที่ประชาชนออกมากดดันให้รัฐบาลอังกฤษปฏิรูปการปกครอง
ซึ่งภายหลังจากเหตุการณ์นี้ รัฐบาลอังกฤษก็ได้ออกกฎหมายขึ้นมา ที่เรียกว่ากันว่า “Six Acts” ขึ้นในปลายปี ค.ศ. 1819 กฏหมายกฎหมายนี้ใช้เพื่อควบคุมการมาชุมนุมกันและเพิ่มโทษผู้ที่เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นซึ่งข้อกำหนดและปฏิบัติของกฎหมาย Six Acts นั้นก็1. ห้ามการชุมนุมขนาดใหญ่
2. เพิ่มค่าปรับสำหรับข้อหาก่อความวุ่นวาย
3. เพิ่มภาษีหนังสือพิมพ์
4..ห้ามทำการฝึกอาวุธ
5.เพิ่มภาษีสนามบิน
6.อนุญาติอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้นบ้านเรือนของประชาชนในบางมณฑลได้
 
ซึ่งราษฏรก็พากันประณามพระราชบัญญัติ 6 ฉบับนี้ โดยให้ชื่อว่า “Liberticide Acts” ซึ่งเป็นกฎหมายที่บั่นทอนเสรีภาพของประชาชน และภายหลักจากที่รัฐบาลอังกฤษออกกฎหมายนี้ได้สองเดือนก็ได้มีการวางแผนลอบสังหารคณะรัฐมนตรีทั้งชุด เหตุการณ์นี้เรียกว่า “Cato Street Conspiracy ” นับเป็นโชคดีของชาวอังกฤษที่รัฐบาลพรรคทอรี (Conservative) ซึ่งบริหารราชการสืบต่อมานี้ประกอบด้วยรัฐมนตรีหลายคนซึ่งมีจิตใจเอนเอียงไปในทางเสรีนิยม มีความมุ่งหมายที่จะแก้ไขฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น ในระหว่างปี ค.ศ. 1823-1830 ปรากฏว่ารัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงเช่น จอร์จ แคนนิ่ง (สมัย ค.ศ. 1822-1827) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้ขึ้นบริหารราชการ นอกจากนี้ จอร์จ แคนนิ่ง ยังได้เพื่อนร่วมคณะที่มีจิตใจกว้างขวางในทางการเมือง เช่น โรเบิร์ต พีล (Robert Peel. ค.ศ. 1788-1850) ซึ่งต่อไปจะเป็นนายารัฐมนตรีในช่วงปี ค.ศ. 1834-1835 พีลได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายอาญาให้รุนแรงน้อยกว่าแต่ก่อน