ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8008275 สร้างโดย 2001:44C8:4410:131B:1:2:4BB3:255B (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 5:
| ชื่อทั่วไป = พุทธทาสภิกขุ
| สมณศักดิ์ = พระธรรมโกศาจารย์
| วันเกิด = [[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2449]]
| วันบวช = [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2469]]
| วันตาย = [[8 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2536]]
| พรรษา = 67
| อายุ = 87
บรรทัด 19:
}}
 
'''พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) ''' หรือรู้จักในนาม '''พุทธทาสภิกขุ''' ([[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2449]] - [[8 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2536]]) เป็นชาว[[อำเภอไชยา]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] เกิดเมื่อปี [[พ.ศ. 2449]] เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่[[กรุงเทพมหานคร]] จนสอบได้[[เปรียญธรรม 3 ประโยค]] แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของ[[ศาสนาพุทธ]]ได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น ''พุทธทาส'' เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
 
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ [[พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโทปทุมุตฺตโร)|ปัญญานันทภิกขุ]] [[วัดชลประทานรังสฤษฎ์]] และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์<ref>โสมชยา ธนังกุล. มรดกธรรมจากท่านพุทธทาส. '''แสตมป์ & สิ่งสะสม'''. ปีที่ 1 (+42) ฉบับที่ 3. พฤษภาคม 2555. ISSN 2229-2780. หน้า 48</ref>
 
== ประวัติ ==
 
=== ครอบครัว ===
[[ไฟล์:buddhadasa_home.jpg|200px|thumb|บ้านที่ท่านพุทธทาสภิกขุเกิด<br>ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี [[พ.ศ. 2529]] ซึ่งไม่เหลือเค้าเดิมมากนัก โดยบ้านเดิมนั้นเป็นพื้นดิน และหลังคามุงจาก]]
[[ไฟล์:buddhadasa_newhome.jpg|200px|thumb|บ้านที่ท่านพุทธทาสภิกขุโตขึ้นมา<br>ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2529 ท่านพุทธทาสภิกขุย้ายมาอยู่บ้านหลังนี้ตั้งแต่ยังเล็ก และบิดามารดาของท่านพุทธทาสภิกขุก็ใช้บ้านเป็นร้านค้าชื่อ ''ไชยาพานิช'' ไปในตัว]]
[[ไฟล์:buddhadasa_father.jpg|110px|thumb|left|นายเซี้ยง พานิช<br>บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุ]]
[[ไฟล์:buddhadasa_mother.jpg|110px|thumb|left|นางเคลื่อน พานิช<br>มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุ]]
 
ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า ''เงื่อม พานิช'' เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ [[27 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2449 ในสกุลของ[[พ่อค้า]] ที่[[ตำบลพุมเรียง|ตลาดพุมเรียง]] [[อำเภอไชยา]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] ช่วงปลายรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน
 
บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ ''เซี้ยง พานิช'' ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุเป็น[[คนไทยเชื้อสายจีน]] เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจาก[[มณฑลฝูเจี้ยน]] [[ประเทศจีน]] มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจาก[[อำเภอปากพนัง]] [[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้น[[กรุงรัตนโกสินทร์]] แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ใน[[ภาษาแต้จิ๋ว]]) ต่อมาเมื่อมี[[พระราชบัญญัตินามสกุล]]ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น ''พานิช'' เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย
บรรทัด 52:
: ''คือพอมานั่งรวมกลุ่มกัน ไอ้เด็กคนที่เป็นหัวโจกหน่อย มันก็จะตั้งประเด็นขึ้น เช่น เอ้าวันนี้ เรามาพูดเรื่องหุงข้าว ใครจะเล่าก่อน ส่วนมากพวกที่อาสาก่อนมันก็จะเป็นพวกที่ฉลาดน้อยกว่าคนอื่น มันก็ต้องเล่าวิธีที่หุงข้าวว่าทำอย่างไร เด็กทั้งหลายก็คอยฟัง ถ้าคนเริ่มต้นมันเป็นคนโง่ๆ หน่อย มันอาจจะเริ่มต้นว่า "กูก็เอาข้าวสารใส่หม้อ ตั้งบนไฟ" เด็กนอกนั้นมันก็จะชวนกันค้านว่า "มึงยังไม่ได้เข้าไปในครัวสักที จะทำได้ยังไงล่ะ" อย่างนี้เป็นต้น หรืออาจจะมีสอดว่า "มึงยังไม่ได้ก่อไฟสักที" ถ้ามีช่องให้ซักค้านได้มาก ๆ มันก็ต้องให้คนอื่นเป็นคนเล่า เวลาถูกค้านได้ทีก็จะเฮกันที มันอาจจะละเอียดถึงขั้นว่ายังไม่ได้เปิดประตูแล้วจะเข้าไปในครัวได้อย่างไร หรือยังไม่ได้หยิบขันมันจะตักน้ำได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น ในที่สุดมันจะต้องได้เล่าถึงขั้นตอนทุกขั้นตอน จนไม่มีอะไรบกพร่อง เหมือนกับการบรรยายของนักประพันธ์ละเอียดถี่ยิบไปหมด เพราะคนค้านมันมีมาก มันก็ค้านได้มาก มันเป็นการฝึกความละเอียดลออถี่ถ้วน ฝึกการใช้ลอจิก คนฉลาดมันมักจะเป็นคนเล่าคนหลังๆ ที่สามารถเล่าได้ละเอียดโดยไม่มีใครค้านได้''<ref name="เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา" />
 
=== ชีวิตวัยหนุ่มมมมม ===
[[ไฟล์:bhodharam_temple.jpg|200px|thumb|โบสถ์วัดโพธาราม หรือวัดเหนือ<br>ภาพนี้ถ่ายช่วงปี [[พ.ศ. 2460]] - [[พ.ศ. 2470|70]]]]
[[ไฟล์:sarapiuthid.jpg|200px|thumb|อาคารหลังเก่าของโรงเรียนสารภีอุทิศ (ปัจจุบันได้รื้อไปแล้ว)]]
 
บรรทัด 81:
[[ไฟล์:buddhadasa_2469.jpg|150px|thumb|ท่านพุทธทาสภิกขุเมื่อแรกบวช]]
 
ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2469]] ที่โรงอุโบสถ[[วัดอุบล (อำเภอไชยา)|วัดอุบล]] หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มี[[พระอุปัชฌาย์]]คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาส[[วัดวินัย (อำเภอไชยา)|วัดวินัย]] หรือวัดหัวคู เป็น[[พระคู่สวด]] ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า ''อินทปญฺโญ'' ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่
 
การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุอ้างถึงคำพูดของท่านพุทธทาสภิกขุก่อนที่จะบวชไว้ว่า
บรรทัด 269:
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า = [[พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี)|พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)]]
| ตำแหน่ง = พระสงฆ์ผู้ดำรงราชทินนาม<br>"[[พระธรรมโกศาจารย์"]]
| ปี = [[พ.ศ. 2530]] - [[พ.ศ. 2536]]
| ถัดไป = [[พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโทปทุมุตฺตโร)|พระธรรมโกศาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโทปทุมุตฺตโร)]]
}}
{{จบกล่อง}}