ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 423:
=== การคมนาคม และ โทรคมนาคม ===
==== คมนาคม ====
สำหรับคนที่อาศัยอยู่ประเทศจีน เวลาเราจะไปไหนมาไหน ก็ต้องนั่งรถเมล์ รถไฟฟ้า หรือว่า แท็กซี่ ใช่มั้ยหล่ะครับ รู้จักกันหมดทุกคำรึเปล่าครับ ว่าในภาษาจีนเรียกว่าอะไรกัน วันนี้เราจะมาเรียนเกี่ยวกับยานพาหนะต่างๆกันครับ
{{โครง-ส่วน}}
 
'''地铁【dìtiě】'''
 
"รถไฟฟ้าใต้ดิน"
 
รถไฟใต้ดินที่ประเทศจีนจะมีตามเมืองใหญ่ๆครับ ที่มีเปิดให้บริการแล้วแน่นอน มี ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางเจา เซิ่นเจิ้น เทียนจิน ส่วนที่มีแผนที่จะเปิดในอนาคต ซึ่งกำลังสร้างอยู่ไม่แน่ใจว่าเสร็จแล้วรึยัง ก็จะมีพวกเมืองใหญ่ๆในแต่ละมณฑล อย่างเช่น ซีอาน เฉิงตู หนานจิง หางโจว ซูโจว เป็นต้น
 
ค่ารถไฟในบ้านเราจะประมาณ 15-40 บาท แต่ในเมืองจีนจะค่อนข้างถูก อย่างรถไฟฟ้าใต้ดินของปักกิ่ง ราคาค่าตั๋ว 2 หยวน (10 บาท) ตลอดสาย ซึ่งถือว่าถูกมากสำหรับค่าครองชีพในเมืองจีน แต่เนื่องจากกว่าค่าตั๋วถูกมาก ใครๆก็ขึ้นได้ เลยทำให้มีคนขึ้นเยอะมาก ถ้าช่วงพีค '''高峰时间'''【gāofēng shíjiān】 อาจจะต้องรอ 2-3 ขบวนถึงจะขึ้นได้
 
ส่วนรถไฟใต้ดินของเมืองอื่นๆจะคิดตามระยะทาง อย่างเช่น เซี่ยงไฮ้ จะคิดค่าโดยสารตั้งแต่ 3-10 หยวน แต่โดยปกติแล้วถ้าไม่ได้ออกไปชานเมืองค่าโดยสารก็จะแค่ 3-5 หยวนครับ ซึ่งก็ถือว่าถูกมากๆ สำหรับค่าครองชีพของเมืองเซี่ยงไฮ้
 
คำว่าสายรถไฟใต้ดินในภาษาจีน อย่างเช่น รถไฟสาย 1 เราจะเรียกว่า 一'''号线''' 【yī hào xiàn】ครับ
 
'''公共汽车【gōnggòng qìchē】'''
 
"รถเมล์"
 
公共 แปลว่า "สาธารณะ" ส่วน 汽车 แปลว่า "รถยนต์" รวมกันเลยแปลว่า "รถเมล์" นั่นเอง จริงๆแล้วคำว่า"รถเมล์" บ้านเราถ้าเรียกกันแบบเต็มๆก็จะเรียกว่า "รถโดยสารสาธารณะ" ซึ่งยาวมากใช่มั้ยหล่ะครับ เลยย่อลงมาเหลือแค่ "รถเมล์" ในภาษาจีนก็เหมือนกันครับ ปกติคนจะจีนไม่เรียกว่า 公共汽车 แต่จะเรียกว่า'''公交车'''【gōngjiāochē】 ซึ่งแปลว่า "รถเมล์" เหมือนกันครับ
 
รถเมล์ในประเทศจีนส่วนใหญ่จะไม่คิดตามระยะทางนะครับ จะคิดเป็นเที่ยวๆเอา รถเมล์ของปักกิ่งถูกมากๆ ครับ ถ้ามีบัตร 一卡通 【yī kǎ tōng】 ซึ่งเป็นบัตรที่เหมือนกับบัตรรถไฟฟ้าบ้านเรานี่แหล่ะครับ แต่บัตรของเค้า สามารถขึ้นไปทั้งรถเมล์ รถใต้ดิน หรือแม้กระทั่งแท็กซี่ก็ยังได้ ถ้ามีบัตร 一卡通 ค่ารถเมล์จะเหลือแค่ 0.4 เหมา หรือแค่ 2 บาทเท่านั้น ถ้าไม่มีบัตรก็จ่ายแค่ 1 หยวนเท่านั้น ส่วนวิธีการจ่ายเงินก็แล้วแต่เมืองครับ ตอนผมอยู่ปักกิ่ง วิธีการจ่ายเงินค่ารถเมล์ก็คือ บนรถเมล์จะมีคนที่นั่งเก็บเงินอยู่ เหมือนกับกระเป๋ารถเมล์บ้านเรานี่แหล่ะครับ แต่เค้าไม่เดินมาเก็บ เราต้องเดินไปจ่ายเอง แต่ตอนอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ กับ กวางเจา เวลาขึ้นรถเมล์จะมีช่องแตะบัตรและช่องหยอดเงินข้างๆคนขับครับ สำหรับเมืองอื่นๆนอกจากปักกิ่ง ค่าโดยสารปกติจะ 2 หยวน (10 บาท) ตลอดสาย
 
ส่วนสายรถเมล์ จะใช้คำว่า '''路'''【lù】 ถ้าสายรถเมล์ที่เป็นเลข 2 หลัก จะอ่านแบบนับตัวเลข เช่น รถเมล์สาย 93 จะอ่านว่า 九十三路公交车【jiǔ shí sān lù gōngjiāochē】 แต่ถ้าเป็นสายรถเมล์ที่เป็นเลข 3 หลัก จะอ่านแบบตัวต่อตัวเลยครับ อย่างเช่น รถเมล์สาย 234 จะอ่านว่า 二三四路公交车【èr sān sì lù gōngjiāochē】
 
'''出租车【chūzūchē】'''
 
"แท็กซี่"
 
ภาษาจีนกลางเรียกว่า 出租车 มีแค่มณฑลกวางตุ้งที่เดียวที่สามารถเรียกว่า 出租车 หรือว่า '''的士'''【dīshì】ก็ได้ เวลาเราจะเรียกแท็กซี่ เราจะพูดว่า '''打的'''【dǎdī】 หรือว่า '''打车'''【dǎchē】
 
ค่าแท็กซี่ในประเทศจีน แต่ละเมืองจะไม่เหมือนกัน
 
ปักกิ่ง เริ่มต้นที่ 10 หยวน ( 3กิโลเมตรแรก)  ถ้าเป็นตอนกลางคืนจะเริ่มต้นที่ 11 หยวน
 
เซี่ยงไฮ้ ค่าแท็กซี่จะแพงที่สุด เริ่มต้นที่ 14 หยวน ( 3กิโลเมตรแรก)  ถ้าเป็นตอนกลางคืนจะเริ่มต้นที่ 18 หยวน
 
กวางเจา เริ่มต้นที่ 10 หยวน ( 3 กิโลเมตรแรก) ตอนกลางคืนราคาเท่ากัน
 
==== โทรคมนาคม ====
เส้น 429 ⟶ 465:
 
=== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ===
'''วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน''' เป็นสิ่งที่น่าสนใจและน่าศึกษาอย่างมาก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนเจริญก้าวหน้ามาก่อนตะวันตกหลายร้อยปี สิ่งประดิษฐ์บางอย่างนั้นคนจีนคิดค้นได้ก่อนชาวตะวันตกถึงกว่าหนึ่งพันปี แต่น่าเสียดายที่เรารู้เรื่องเหล่านี้น้อยมาก เพราะเราต่างโดนวัฒนธรรมตะวันตกครอบงำด้วยกันทั้งสิ้น
{{โครง-ส่วน}}
 
== รากฐานและต้นกำเนิดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนแก้ไข ==
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนเกิดขึ้นมาจากความคิด ความเชื่อ และปรัชญาจีน ไม่มีใครบอกได้ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อได้ แต่หากเราอาศัย[[พงศาวดาร]]และนิยายปรัมปราจีนแล้ว เราอาจจะกล่าวได้ว่าปรัชญาจีนมีกำเนิดและวิวัฒนาการมานับพันๆปีเช่นเดียวกับปรัชญาอินเดีย การเกิดขึ้นของปรัชญาจีนอาจอธิบายได้ดังนี้ ในยุคโบราณ ราว 557 ปี ก่อนพุทธศักราช เชื่อกันว่ากษัตริย์นามว่า ฟูซี เป็นผู้ให้กำเนิดปรัชญาจีน แนวความคิดของพระองค์มีรากฐานมาจากการผสมเส้นตรง กล่าวคือ เส้นตรงเดี่ยว เรียกว่า หยาง เป็นตัวแทนแทนเพศ[[ชาย]] และเป็นสัญลักษณ์แทนความแข็งแกร่ง ส่วนเส้นตรงแยกเรียกว่า หยิน เป็นตัวแทนเพศ[[หญิง]]และเป็นสัญลักษณ์แทนความอ่อนโยนแปรปรวน
 
หยางและหยินแม้จะมีลักษณะตรงกันข้ามกัน แต่ทั้งสองก็รวมกันเป็นสิ่งที่เรียกว่า เอกภาวะ ได้ หรือประสานกลมเกลียวกันโดยอาศัยความแตกต่างนั่นเอง เส้นตรงทั้งสองนี้ในกาลต่อมา พระเจ้าเหวินองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจ ได้ทรงนำมาจัดรวมกันได้ 8 กลุ่ม โดยมีกลุ่มละ 3 เส้น และเรียงกันเป็นรูปวงกลม เส้นตรงทั้งสามเส้นมี 8 กลุ่ม มีสัญลักษณ์แทนองค์ประกอบหรือธาตุหลักของจักรวาล 8 ประการ คือ [[สวรรค์]] [[ดิน]] [[ฟ้า]] [[น้ำ]] [[ลม]] [[ไฟ]][[ภูเขา]] และหนองบึง ในสมัยต่อมา เส้นตรง 3 เส้นทั้ง 8 กลุ่มนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเส้นตรง 3 เส้นเพิ่มเข้ามา จึงเป็นเส้นตรง 6 เส้น และจัดกลุ่มได้ถึง 64 กลุ่ม แต่ละกลุ่มอธิบายธรรมชาติ จักรวาลและวิถีชีวิตของมนุษย์ เรียกว่า ปา กว้า
 
เรื่องกำเนิดปรัชญาจีนนี้ พงศาวดารจีนกล่าวย้อนไปนับหมื่นๆปี ว่ามีคนเริ่มต้นสร้างสวรรค์ มีชื่อว่า โกสี แล้วก็มีพี่น้องอยู่ 3 กลุ่ม คือกษัตริย์ในสรวงสวรรค์ 12 องค์ กษัตริย์บนโลก 11 องค์ และกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์อีก 9 องค์ ทั้ง 3 กลุ่มนี้จะเป็นตัวแทน สวรรค์ [[โลก]] และ[[มนุษย์]] เชื่อกันว่ากษัตริย์เหล่านี้เป็นวีรบุรุษของความอัจฉริยะด้านต่างๆ เช่น ยูเชา เป็นกษัตริย์ที่สร้างบ้านเรือเป็นองค์แรก ส่วน ซุยหยิน ทรงเป็นวีรบุรุษด้านสร้างรถไฟเป็นต้น ปรัชญาอีกอย่างที่มีอิทธิพลต่อการสร้างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน คือ หยินหยาง ปรัชญานี้เป็นลัทธิเกี่ยวกับ[[จักรวาล]]วิทยา ที่ค้นหาและศึกษาความจริงเกี่ยวกับสากลจักรวาล และเชื่อว่าหยางหยิน เป็นต้นเค้า หรือต้นกำเนิดของสรรพสิ่งต่างๆ
 
ทฤษฎีและวิวัฒนาการของหยางหยินนี้ นักปราชญ์จีนชื่อ ชาน อธิบายไว้ว่า เรื่องหยางหยินเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อจีนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ศาสตราจารย์ฟุงยู่หลาน กล่าวไว้ว่า หยางหยินมีพื้นฐานมาจากดาราศาสตร์ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า ฟางจือ นิกายนี้มีแนวโน้มไปทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามอธิบาย ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ในความหมายของพลังของธรรมชาติ ในระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเกิดนิกายนี้ นักปราชญ์ในสมัยนั้นมีแนวความคิดอยู่ 2 ทฤษฎี ซึ่งต่างก็พยายามอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ ทฤษฎีแรก คือ หยางหยิน ส่วนทฤษฎีที่สอง คือ ธาตุทั้ง 5 หรือ หวู ซิ่ง มีหลักฐานปรากฏอยู่ในหนังสือ the book of history โดยใช้ชื่อว่า หลักใหญ่ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงธาตุทั้ง 9 แต่เน้นความสำคัญเฉพาะธาตุ 5 ชนิดเท่านั้น โดยอธิบายว่า
 
* น้ำ มีธรรมชาติเปียกชื้นและไหลลงสู่ที่ต่ำ
* ไฟ มีลักษณะเป็นเปลวพุ่งขึ้นสู่ที่สูง
* ไม้ มีลักษณะโค้งงอหรือตั้งตรง
* เหล็ก มีลักษณะที่อาจถูกหลอมและเปลี่ยนรูปร่างได้
* ดิน ใช้เพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
 
หนังสือ อู่ ซิง ซวอ ซึ่งเป็นหนังสือโบราณ ได้กล่าวถึงธาตุทั้ง 5 ไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากธาตุทั้ง 5 นี้ ธาตุทั้ง 5 จะเป็นส่วนประกอบของทุกสิ่งในโลกนี้ คนจีนใช้ความคิดนี้อธิบายสิ่งต่างๆ เช่น ฮวงจุ้ย ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี ว่าเอาอะไรผสมอะไรแล้วเกิดเป็นอะไร ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนจึงถือกำเนิดขึ้นมา ดังจะอธิบายต่อไป
 
สำหรับทฤษฎีหยางหยินนั้น ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และปรากฏการณ์ธรรมชาติ วึ่งปรากฏในตำรา กวานจื้อ ไว้ว่า หยางหยินเป็นหลักสำคัญของสวรรค์และแผ่นดิน ฤดูทั้ง 4 เป็นวิถีแห่งหยางหยิน หากจะเทียบกับสิ่งประดิษฐ์ต่างๆแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ทุกสิ่งล้วนสอดคล้องกับหลักหยางหยินทั้งสิ้น สิ่งต่างๆจะต้องประกอบขึ้นมาจากสิ่ง 2 สิ่ง ตามหลักหยางหยิน ประโยชน์ใช้สอยจึงจะเกิดขึ้น ดังเช่นกุญแจ ตัวกุญแจมีรูสำหรับไข และมีรูปสำหรับเหล็กงอตัวอยู่ จะปิดลั่นกุญแจ ทั้งยังมีห่วงสำหรับคล้องสายยูกุญแจ จัดเป็นเพศหญิง คือ หยิน เรียกว่าแม่กุญแจ ส่วนลูกกุญแจเป็นเพศชาย เพราะมีรูปร่างแหลมไว้สอดเข้าไปในลูกกุญแจ หยางทำหน้าที่ไขให้หยินทำงานเปิดออก เป็นการเปิดเผยวิ่งที่ปิดบังไว้ออกมา หรืออีกตัวอย่าง คือครก เพราะตัวครกนั้นเป็นตัวแม่ เป็นเพศหญิง เนื่องจากมีหลุมลึกลงไป ส่วนสากคือเพศชาย ครกมีลักษณะรองรับพลังจากสาก เพื่อที่จะโขลกหรือป่นสิ่งใดๆ หยินเป็นตัวรองรับหยาง พลังงานจึงถือกำเนิดขึ้น ลำพังสากอย่างเดียวจะไม่ก่อให้เกิดพลังงานขึ้นมาได้ เป็นต้น เหลาจื้อยังกล่าวอีกว่า ความว่างเป็นเหตุให้เกิดความมี หรือความมีจะเกิดขึ้นได้ ก็จะต้องอา ศัยความว่าง แต่ถ้ากล่าวขั้นรวบยอดแล้ว ความว่างและความมีก็เป็นของสิ่งเดียวกัน ที่เรียกต่างกันนั้นก็เพราะอยู่ต่างลำดับกันเท่านั้น ดุจร้อน หนาว หรือ อยู่ในตำแหน่งต่างกัน เช่น หัวกับก้อยอยู่บนเหรียญเดียวกัน ทำนองเดียวกับวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกเมื่อแยกออกจากกันแล้ว ก็จะประกอบด้วยสิ่ง 2 สิ่ง คือ สสารกับพลังงาน แต่กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว สสารกับพลังงานก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน อนึ่ง ความว่างตามความเห็นของคนทั่วไปนั้นไม่สำคัญ และไม่มีประโยชน์อะไร แต่เหลาจื้อกลับเห็นตรงกันข้าม เหลาจื้อคิดว่า ความว่างเปล่านั้นแหละสำคัญ คนเราจะได้ประโยชน์ก็เพราะมีความว่างนี่แหละ เหลาจื้อกล่าวว่า หากปั้นดินเหนียวเป็นภาชนะ ช่องว่างของดินเหนียวนั้นแหละทำให้ประโยชน์เกิดขึ้น หากเราเจาะประตูและหน้าต่างทำเป็นห้อง ช่องว่างของประตูและหน้าต่างนั้นแหละเป็นตัวที่ทำให้ห้องมีประโยชน์ จากเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานความคิดของชาวจีน อันจะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนในสมัยต่อมา
 
== วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนแก้ไข ==
สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักในชื่อ [[สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 4 ของจีน]] ซึ่งรวมถึง เข็มทิศ ดินปืน กระดาษ และการพิมพ์ สมัยนี้ภูมิศาสตร์ก็เจิญขึ้นมาเช่นกัน จากหนังสือจวงจื่อ ได้เก็บทฤษฎีของฮุ่ยซือ ไว้ว่า ข้าพเจ้าทราบว่า ศูนย์กลางของฝากฟ้า อยู่ทางตอนเหนือของรัฐเอียน และตอนใต้ของรัฐเยว่ คำว่าใต้ฟ้าที่คนสมัยนั้นเรียก หมายถึง แผ่นดินจีนนั่นเอง รัฐเอียน อยู่บริเวณปักกิ่ง ส่วนรัฐเยว่ อยู่บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง การที่จะหาจุดศูนย์กลางของจีนในสมัยโบราณนั้นต้องไปดูทางตอนใต้ของรัฐเอียน ตอนเหนือของรัฐเยว่ นี่มีเหตุผล คือ นักวิชาการไม่เพียงทราบว่าโลกหมุน แต่ยังทราบอีกว่าโลกกลมอีกด้วย ฉะนั้น ฮุ่ยซือจึงกล้าพูดว่า จุดศูนย์กลางของจีนอยู่ทางตอนเหนือของรัฐเอียน ตอนใต้ของรัฐเยว่ ทั้งนี้เพราะโลกกลม เมื่อเดินทางจากตอนเหนือของรัฐเอียน ก็จะสามารถไปถึงตอนใต้ของรัฐเอียนได้ ภูมิศาสตร์จีนก็เจริญไม่น้อยเช่นเดียวกัน
 
กงซูจื่อ เป็นวิศวกรที่ใครๆในสมัยนั้นก็รู้จักกันดี มีคำกล่าวว่า ผลงานอันยอดเยี่ยมของกงซูจื่อ หากไม่ใช้เครื่องมือเรขาคณิต ก็ไม่อาจสร้างรูปเหลี่ยม หรือวงกลม กงซูจื่อสร้างสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น นกพยนต์ เมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว กงซูจื่อใช้ไม้ไผ่สร้างนกบินขึ้นไปบนท้องฟ้า บินได้สามวันไม่ตกพื้นเลย แต่ว่าเราต้องตระหนักว่าส่วนประกอบของนกพยนต์กับเครื่องบินนั้นย่อมไม่เหมือนกัน แต่นกพยนต์ต้องอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัย ถึงจะบินบนอากาศได้ อย่างไรก็ตามเรื่องนกพยนต์นี้ไม่อาจยืนยันได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ทั้งวงเวียนและไม้ฉากเป็นอุปกรณ์บ่งบอกถึงมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ของจีนในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจอีกอย่างของกงซูจื่อ มีบันทึกไว้ในตำราหลี่จี้ ว่ากงซูจื่อเคนเสนอให้ใช้เครื่องกลชนิดหนึ่งส่งโลงศพเข้าไปเก็บในสุสาน แต่ผู้คนพากันคัดค้านว่ากงซูจื่อไม่ควรนำมารดาผู้อื่นมาอวดอ้างว่าตนนั้นเก่ง เราจึงเห็นได้ว่า กงซูจื่อมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี จนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างเครื่องจักรกลได้
 
สมัยซ้องได้มีการพัฒนาทางด้านการใช้ถ่านหินและอุตสาหกรรมหลอมเหล็ก จีนมีอาวุธที่แข็งแกร่งดุจหินผาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก การใช้ถ่านหินในเตาเผาด้วยอุณหภูมิที่พอเหมาะนับเป็นสิ่งที่ก้าวหนามากที่สุดของประวัติศาสตร์โลก
 
* ด้านคณิตศาสตร์ก็ก้าวหน้าไปมาก นาฬิกาดาวที่ซูซ่งคิดขึ้นมาเมื่อปีค.ศ. 1090 เป็นการวางกฎด้านความคิดที่สำคัญ และยังชี้ให้เห็นว่านาฬิกาไขลานมิใช่เกิดจากคนตะวันตกตามที่เราเข้าใจกัน
* ด้านการแพทย์ ซ่งฉี เขียนกฎหมายแพทย์ออกมาเป็นคนแรกของโลก มีหนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคเด็ก การฝังเข็ม การปรุงยา ออกมามากมายในช่วงนี้ มีวัคซีนป้องกันโรคหัดตั้งแต่ค.ศ. 1014
* มีการตั้งข้อตกลงหรือสัญญาในอาชีพต่างๆ เช่น กสิกรรม การทหาร สถาปัตยกรรม หนังสือที่สำคัญที่สุดในสมัยนี้ชื่อ เม่ง จี บิ ตัน เป็นหนังสือที่ให้ความรู้หลายด้าน คนเขียนคือ เซนกัว และคณะ หนังสือเล่มนี้ทำให้เราได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเข็มแม่เหล็กเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีเรื่องการพิมพ์ การทำแผนที่แบบแสดงพื้นที่สูงต่ำ และเรื่องฟอสซิล
* การต่อเรือสมัยนี้มีการสร้างใบและพายด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวต่อเรืออย่างดี เรือไม่มีช่องรั่วเหมือนเมื่อก่อน หางเสือได้ปรับปรุงอย่างดี มีเข็มทิศ จีนเดินเรือได้จากญี่ปุ่นลงไปถึงสุมาตรา
* วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง เนื่องจากสภาพการเมืองและสังคมเอื้ออำนวย กล่าวคือ สมัยก่อนราชวงศ์ซ้อง บ้านเมืองเป็นช่วง 5 ราชวงศ์ บ้านเมืองจึงระส่ำระส่าย ไร้เสถียรภาพทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงไม่มีทางเจริญขึ้นมาได้ ในสมัยต่อมา คือ สมัยราชวงศ์ซ้อง บ้านเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทาง ราชสำนักต้องการทรัพย์สินเงินทองไปให้สินบนแก่ชาวต่างชาติที่อยู่อาศัยโดยรอบ ชาวจีนทุกคนจึงต้องทำมาหากินเพื่อหาเงินมาพัฒนาบ้านเมือง เศรษฐกิจจึงเจริญ และตามมาด้วยยุคเฟื่องฟูของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน
 
== ผลของยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฟื่องฟูแก้ไข ==
ประการแรก คือ ผลผลิตตต่างๆสมัยราชวงศ์ซ้องได้เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ราชวงศ์ซ้องแข็งแกร่งเพราะเศรษฐกิจเฟื่องฟู อันที่จริงแล้ว ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูได้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงราชวงศ์ถังตอนปลาย คือตั้งแต่ราว ค.ศ. 618 – 907 อันเนื่องมาจากรัฐบาลเน้นเรื่องการค้า ทำลายระบบถือครองที่ดิน และข้าวที่ปลูกได้ในดินแดนตะวันออกฉียงใต้มีปริมาณมากขึ้น ยุคเฟื่องฟูได้ดำเนินต่อมาจนถึงราชวงศ์ซ้อง อุตสาหกรรมถ่านหิน เหล็ก เหล็กกล้า ดินปืน เจริญขึ้นอย่างมาก จีนมีอาวุธที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากมาย ด้านการเกษตร มีการนำพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาจากอาณาจักรจามปา บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง มีการตั้งระบบควบคุมน้ำ ทำให้จีนปลูกข้าวเจ้าได้ถึงปีละสองครั้ง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเจ้ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การปลูกฝ้ายก็แพร่ขจายไปทั่วในช่วงศต. ที่ 12 ปริมาณการบริโภคชาก็เพิ่มขึ้นทั้งจีนและดินแดนภายนอก เทคโนโลยีผลิตเครื่องปั้นดินเผาของจีนก็ก้าวหน้าที่สุดในโลก ถึงแม้การค้ากับเอเชียกลางจะมีจำกัด แต่การประดิษฐ์เข็มทิศและเทคโนโลยีต่อเรือที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก ก็ได้เป็นตัวส่งเสริมการค้าระหว่างจีนกับเอเชียและตะวันออกกลาง สินค้าส่งออกของจีนในช่วงนี้ได้แก่ ชา เครื่องหัตถศิลป์ ผ้าไหม เหรียญทองแดง เป็นต้น เครื่องถ้วยชามกระจายตัวออกไปถึงเอเชียอาคเนย์ พวกอาหรับก็นำเครื่องถ้วยชามติดเรือตนไปขายต่อทางแถวอ่าวเปอเซียและแอฟริกาตะวันออกไกลถึงแซนซิบาร์และไคไร ส่วนสินค้าเข้าคือไม้หอม น้ำหอม เครื่องเทศ ไข่มุก และงา ปริมาณเงินในระบบมีมาก มากกว่าในสมัยถังด้วยซ้ำ ในบางพื้นที่ถึงกับเกิดการขาดเหรียญทองแดงหมุนเวียนในระบบด้วยซ้ำ ซึ่งเรียกกันว่า ช่วงขาดเงินสด (cash famines) ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้แร่เงินมากขึ้น รวมถึงเงินกระดาษ ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีเป็นเงินสดได้ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนภาษีทั้งหมด มากกว่าจะได้เป็นเมล็ดพันธุ์พืช หรือผ้า สภาพของเมืองต่างๆนั้นเจริญด้านการค้าอย่างมาก กำแพงเมืองของไคฟงและฮังโจวเปิดตลอดทั้งชั้นนอกและชั้นใน ถนนสายใหญ่ของเมืองมีร้านขายของตั้งอยู่เรียงรายดังเช่นที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ พวกพ่อค้าให้ข้าราชการเป็นคนจัดการสถานที่ในตลาด ผู้คนกินดีอยู่ดี มีรสนิยมหรูหรา มีภัตตาคาร โรงละคร โรงเหล้า และซ่องโสเภณีเกิดขึ้นอยู่มากมาย ถนนตามเมืองต่างๆมีการละเล่นหลายอย่าง เช่น ต่อตัว เล่นกล หมากรุก ทำนายโชคชะตา แต่เมื่อการค้าเจริญ สิทธิสตรีกลับตกต่ำลง เพราะผู้ชายนั้นไม่อยากให้ผู้หญิงเข้ามาแข่งเรื่องการค้ากับตก ประเพณีมัดเท้าจึงเกิดขึ้น โดยมีสาระสำคัญว่า สตรีสูงส่งหรือสตรีชั้นสูงนั้นจะต้องมัดเท้าตั้งแต่ยังเด็ก หากใครมัดเท้า ก็จะมีผู้ชายสูงส่งมาขอแต่งงาน ลูกชาวบ้านธรรมดานั้นจะไม่มัดเท้า
 
อิทธิพลที่เห็นได้ชัดที่สุดของช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู คือ มีเมืองที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคนปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เมืองไคฟง มีบ้านเรือน 260,000 หลังคาเรือน มีพลเมือง 1 ล้านคน ส่วนฮังโจว มีบ้านเรือน 391,000 หลังคาเรือน ทำให้ระหว่าง ค.ศ. 800 ถึง ค.ศ. 1000 จีนจึงมีประชากรถึงกว่า 100 ล้านคน ประการต่อมา การที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูก็เป็นปัจจัยทำให้สังคมจีนเปลี่ยนไปด้วย ในสมัยก่อน ผู้นำทั้งทางการเมืองและทางสังคมจะเป็นผู้มีการศึกษาที่มีประวัติความเป็นมาของตระกูลยาวนาน ในสมัยซ้อง สิ่งนี้ไม่มีอีกต่อไป เพราะผู้นำในสมัยนี้นั้นเป็นคนในท้องถิ่น ซึ่งมีฐานะทางสังคมสูงได้เพราะพวกเขาเป็นคนที่วิริยะอุตสาหะมาก และไม่ได้ขึ้นตรงต่อรัฐบาล คนพวกนี้ร่ำรวยและมีอิทธิพลต่อสังคมนั้น พวกเขาเป็นเจ้าของที่ดิน ลงทุนค้าขาย บริจาคเงินให้วัดและโรงเรียนต่างๆ ช่วยเหลือคนที่ประสบภัยน้ำท่วมหรือภัยแล้ง สมัยซ้อง คนพวกนี้ได้รับการศึกษาและเข้าร่วมวัฒนธรรมระดับชาติ ในฐานะนักวิชาการ (literati) วัฒนธรรมซ้องใกล้ชิดกับ ทำให้ระบบขุนนางหายไป คนใกล้ชิดกับช้าราชการและนักวิชาการมากกว่าเจ้า นอกจากนี้ยังเป็นสมัยศิลปะรุ่งเรืองและมีนักคิดสำคัญอีกด้วย มีเครื่องกระเบื้องลายครามและเครื่องดินเผาที่สำคัญที่สุด มีการนำเทคนิคการผลิตต่างๆมาทำให้ได้สีและรูปทรงที่สวยงามอีกด้วย{{โครง-ส่วน}}
 
=== การศึกษา ===
เส้น 436 ⟶ 509:
 
=== สาธารณสุข ===
ในปี พ.ศ. 2492 ก่อนการปฏิวัติ ประเทศจีนมีปัญหาเรื่องอหิวาตกโรคระบาดเป็นอันมาก แต่ในปัจจุบันจีนไม่พบกับปัญหานี้เลย เพราะโรคนี้ได้หายไปจากประเทศจีนแล้ว ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ เขาบอกว่าพบโรคโปลิโอ (poliomyclitis) และโรคหัด (measles) น้อยมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผลจากการฉีดวัคซีนซึ่งครอบคลุมประชากรสูงมาก โรคติดต่ออื่นๆ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (encephalitis) โรคไอกรนก็ปรากฏว่าจำนวนผู้เจ็บป่วยและตายจากโรคเหล่านี้ลดลงเป็นอันมาก
{{โครง-ส่วน}}
 
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นก็คือ เจตจำนงทางการเมืองหรือนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการสาธารณสุขสูง ประมาณกันว่างบประมาณทางด้านสาธารณสุขของประเทศนั้น จีนได้เจียดจ่ายงบประมาณของประเทศให้กับกิจกรรมทางด้านสาธารณสุขถึง 9.22 % ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศไทย (ของไทยรัฐบาลให้งบประมาณเพื่อกิจกรรมสาธารณสุขสำหรับประชาชนประมาณ 4.4% ของงบประมาณทั้งหมดของประเทศ)
 
ในด้านการวางแผนครอบครัว แม้จีนจะมีชื่อเสียงในการพยายามลดประชากรในประเทศลง แต่ไม่สนับสนุนให้ครอบครัวชาวจีนมีลูกมากกว่า 1 คน แต่ก็พบตัวเลขการใช้บริการการวางแผนครอบครัวในบริเวณที่เราไปดูงานต่ำกว่าที่คิดเอาไว้ มีเพียงประมาณ 67-68% ของคู่แต่งงานแล้วเท่านั้นเอง ผู้ชายจีนก็คล้ายๆกับผู้ชายไทย คือไม่ค่อยนิยมทำหมันชายกัน เฉพาะในอำเภอที่เรามาดูงาน ตั้งแต่ปี 2523-2528 มีผู้ชายจีนมาทำหมันชายไม่ถึง 3o ราย น้อยกว่าในโรงพยาบาลระดับอำเภอของไทยมากมาย ผู้หญิงจีนจะนิยมการทำหมันหญิงแต่ก็กำลังลดลง โดยเขาให้เหตุผลว่า ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หลังจากมีลูก 1 คนแล้วมักจะทำหมันหญิง ตอนนี้มีการทำหมันหญิงให้กับผู้หญิงที่แต่งงานไปแล้วจนเหลือผู้ไม่ทำหมันน้อย ที่เหลือมักจะมีแต่ผู้หญิงสูงอายุเท่านั้น ทำให้ปัจจุบันตัวเลขของการทำหมันหญิงน้อยลง
 
สถานการณ์เช่นนี้ก็พบในชนบทหลายๆแห่งของไทย ที่โครงการวางแผนครอบครัวไปถึงมากขึ้น โดยอาศัยสถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชน ทำให้การทำหมันหญิงเป็นไปอย่างแพร่หลาย จนปัจจุบันเหลือแต่ผู้หญิงสูงอายุที่ไม่เหมาะกับการทำหมันหญิงแล้วเท่านั้นที่ไม่ได้ทำ แต่ผู้หญิงอื่นๆทำหมันหญิงไปกันเป็นจำนวนมาก
 
สำหรับการเจ็บป่วย โดยทั่วไปโรคที่พบมากในประเทศจีนก็มีลักษณะคล้ายๆ กับไทย และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยที่ว่าหากเราจะแบ่งโรคที่ปรากฏทั่วไปในปัจจุบันแล้ว อาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
 
1. โรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคโลหิตไหลไม่หยุด โรคธาลัสซีเมีย พบในบุคคลทั่วไป
 
2. โรคที่เกี่ยวเนื่องกับความยากจน เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคติดเชื้อต่างๆ พบมากในกลุ่มคนที่ยากจน
 
3. โรคที่เกี่ยวเนื่องกับความมั่งมี เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง พบมากในชนชั้นกลางและผู้มีอันจะกิน
 
4. โรคที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน เช่น โรคจิตประสาท โรคฆ่ากันตาย พบมากในคนเมืองมากกว่าในชนบท
 
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น โรคในกลุ่มที่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์จะพบพอๆกันกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย โรคที่เกี่ยวพันกับความยากจนจะไม่พบแล้ว แต่จะพบโรคที่เกี่ยวพันกับความมั่งมีมาก ขณะเดียวกัน โรคที่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน นับวันจะพบมากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้น
 
ในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศจีน ประเทศไทย อินเดีย จะพบโรคที่เกี่ยวพันกับความยากจนมาก ขณะเดียวกันก็จะพบโรคกลุ่มอื่นๆด้วย การจะพบโรคกลุ่มใดมากหรือน้อยขึ้นกับช่องว่างทางเศรษฐกิจของคนในสังคมของประเทศนั้นๆ และขึ้นอยู่กับการมีสภาพการเปลี่ยนแปลงของชนบทสู่เมืองมากน้อยเพียงใด
 
ในประเทศจีนแม้จะมีช่องว่างเศรษฐกิจของคนในสังคมยังไม่ห่างกันมากนัก แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังนับเป็นประเทศที่ยากจนมากประเทศหนึ่ง (ยากจนกว่าประเทศไทยด้วย) ดังนั้นโรคเจ็บป่วยที่พบมากยังอยู่ในกลุ่มโรคที่เกี่ยวพันกับความยากจนโดย 3 อันดับแรกของโรคที่พบมากในบริเวณที่เราไปดูงานคือ 1. โรคปอด 2. โรคข้อเข่า และ 3. โรควัณโรคปอด 2 ใน 3 อันดับแรกเป็นโรคติดเชื้อซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับความยากจน
 
ส่วนโรคที่ทำให้เกิดการตาย 2 อันดับแรก ได้แก่ 1. โรคทางเดินหายใจ และ 2. โรคหัวใจ โรคที่ทำให้เกิดการตายอันดับหนึ่งยังคงเป็นโรคที่เกี่ยวพันกับความยากจนเพราะเป็นการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนใหญ่
 
ลักษณะการเจ็บป่วยและการตายของประเทศจีนจึงคล้ายกับประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปรวมทั้งประเทศไทย
 
ดังได้กล่าวในฉบับที่แล้วว่า ระบบการบริการสาธารณสุขจีนเป็นการสร้างระบบ 3 ระดับ (Three-tier system) เป็นหลัก จึงให้ความสำคัญกับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านเป็นอันมาก
 
ในระดับอำเภอจะได้รับการกระจายอำนาจและมีศูนย์ต่างๆให้การสนับสนุนสถานบริการระดับล่าง เช่น ศูนย์ป้องกันโรคระบาด ศูนย์ควบคุมวัณโรค ศูนย์อนามัยแม่และเด็ก และจะผสมผสานงานทั้งหมดเพื่อให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างครบถ้วนในระดับตำบลจะดีมาก ในบริเวณที่เรามาดูงานนี้ ในระดับตำบลจะมีบริการครบครัน โดยมีโรงพยาบาลในระดับนี้ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 แผนก
 
1. แผนกบริหาร จะจัดการเรื่องการเงิน สวัสดิการ และเรื่องทั่วๆไปของโรงพยาบาล
 
2. แผนกสาธารณสุขชุมชนมีหน้าที่ในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ โรคระบาดในท้องถิ่น อนามัยแม่และเด็ก วางแผนครอบครัวและวัณโรค
 
3. แผนกรักษาพยาบาล แบ่งเป็น ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ สูติศาสตร์ แผนกยา สมุนไพร ชันสูตร ผ่าตัด เอกซเรย์ ฯลฯ
 
ในระดับตำบล นอกจากจะทำหน้าที่บริการแล้วยังทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับระดับหมู่บ้านอีกด้วย
 
ในระดับหมู่บ้านจะมีบุคลากร 3 คน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการให้บริการคือ
 
1. หมอหมู่บ้าน หรือก็คือหมอเท้าเปล่าเดิม
 
2. พนักงานผู้ช่วย จะช่วยเรื่องการป้องกันและควบคุมโรค
 
3. ผดุงครรภ์หมู่บ้าน จะช่วยในเรื่องการอนามัยแม่และเด็ก
 
ไม่ว่าจะในระดับอำเภอ ตำบล หรือหมู่บ้าน จะมีองค์กรชุมชนดูแลอยู่ องค์กรชุมชนเหล่านี้นอกจากทำหน้าที่ในการดูแลสถานบริการแล้ว ยังมีหน้าที่ในการสนับสนุนให้สถานบริการเหล่านี้สามารถเลี้ยงตัวได้ด้วยเช่น หมอหมู่บ้านอาจจะถูกจ่ายเงินเดือนโดยองค์กรชุมชน ทำให้ชุมชนรู้สึกมีความเป็นเจ้าของ เป็นต้น เพราะเป็นคนว่าจ้างเอง ขณะเดียวกันหมอชนบทก็รู้สึกว่าตนเองต้องบริการชุมชนเพราะเป็นนายจ้างของตน
 
พบว่าจำนวนประมาณ 68% ของคนไข้สามารถรักษาให้หายได้ในระดับหมู่บ้านโดยไม่ต้องเดินทางไปแสวงหาบริการในระดับที่สูงกว่า
 
ระบบ 3 ระดับ (Three-tier system) ถูกนำมาใช้ตั้งแต่หลังการปฏิวัติ อย่างไรก็ตาม จีนใหม่ภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและ 4 ทันสมัย ทำให้ระบบการสร้างแรงจูงใจเดิมที่เคยเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หมอหมู่บ้านหรือหมอเท้าเปล่า ปัจจุบันจะถูกนำมาพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น แตกต่างจากแต่ก่อนมาก แต่ขณะเดียวกัน เมื่อกลับไปปฏิบัติงานในชุมชนของตนเองแล้วอาจไม่ได้รับค่าตอบแทนในลักษณะถูกว่าจ้างโดยชุมชน แต่รับค่าตอบแทนในลักษณะต่อการให้การบริการเป็นคนๆ พูดง่ายๆก็คือ เหมือนคลินิกเอกชนในบ้านเรา หมอหมู่บ้านจะคิดค่าบริการจากคนไข้โดยตรง ไม่ใช่จ่ายจากชุมชนมาให้ ในหมู่ประชาชนผู้รับบริการ
 
ภายใต้นโยบาย 4 ทันสมัย เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้ชาวนาบางครอบครัวมีรายได้ดีขึ้นมากกว่าแต่ก่อน ก็จะสามารถแสวงหาบริการตามที่ต่างๆ ตามกำลังซื้อของตนเองได้ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ ระบบการส่งต่อผู้ช่วย (referval system) ซึ่งมีการส่งต่อจากหมู่บ้านไปตำบล จากตำบลไปอำเภอเรื่อยไป ประชาชนสามารถไปเลือกหาบริการสาธารณสุขจากที่ใดก็ได้หากมีฐานะที่เพียงพอ ซึ่งเหมือนกับบ้านเราทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยให้ดี เมื่อจัดระบบไม่ได้ การวางแผนในแต่ละระดับจะเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้คนจะหลั่งไหลเข้าไปรับบริการในระดับที่สูงกว่า ซึ่งประชาชนคนไข้คิดว่ามีบริการที่มีคุณภาพมากกว่า เช่น ที่พบคนไข้จำนวนมากมายในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในเมืองในปัจจุบันโดยที่โรคมากกว่าครึ่งสามารถรักษาโดยคนที่มีความรู้ความสามารถในระดับที่ต่ำกว่า เช่น อำเภอหรือตำบลได้ บังเอิญชาวนาร่ำรวยของประเทศจีนยังมีไม่มากนัก ปัญหานี้จึงยังไม่เกิดขึ้นมา แต่หากมีมากขึ้นเชื่อว่าปัญหานี้ในอนาคตจะทวีมากขึ้น
 
กล่าวโดยรวมได้ว่าการบริการของประเทศจีนมีการครอบคลุมค่อนข้างดี มีสถานบริการถึงทุกระดับ แม้แต่ในหมู่บ้าน ในระดับตำบลก็มีโรงพยาบาลซึ่งบริการได้ไม่น้อยกว่าโรงพยาบาลชุมชนในบ้านเราให้บริการอยู่ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น อาจกล่าวโดยย่อได้ว่าปัจจัยที่สำคัญมากในการทำให้ประเทศจีนมีพัฒนาการสาธารณสุขที่ดีขึ้นน่าจะได้แก่
 
1. การที่รัฐบาลมีเจตจำนงแน่วแน่ในการพัฒนาสาธารณสุข ให้ความสำคัญมากกับการมีสุขภาพดีของประชาชนดังจะเห็นได้จาก การที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณจำนวนมากสำหรับการสาธารณสุข
 
2. การมีการกระจายอำนาจเป็นการพึ่งตนเอง ปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น มีองค์กรชุมชนทุกระดับคอยสนับสนุน และเน้นให้มีการสร้างระบบบริการ (Three-tier system) ซึ่งจะสามารถครอบคลุมบริการสาธารณสุขเกือบทั้งหมดไว้ได้ในระดับอำเภอส่งไป โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งจังหวัดหรือส่วนกลางมากนัก
 
3. การมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น องค์กรชุมชนในหมู่บ้านจะเป็นผู้ควบคุมดูแลและให้ค่าตอบแทนแก่หมอหมู่บ้านหรือหมอเท้าเปล่า โดยไม่ต้องพึ่งพาการว่าจ้างจากรัฐบาลหรือข้าราชการโดยทั่วไป ทำให้หมอหมู่บ้านสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้มากขึ้น{{โครง-ส่วน}}
 
== ประชากร ==