ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 74:
 
<br />
== '''ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์''' ==
ชมรมอาสาพัฒนาฯ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณกลางปีการศึกษา 2516 โดยมีนักศึกษาช่างยนต์ชั้นปีที่ 2 กลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วยห้อง 1, 2, 3 รอบเช้า และห้อง 13, 14 รอบบ่าย รวมประมาณ 20-30 คน ได้อาสาออกไปช่วยครูซ่อมแซมบ้านในระหว่างปิดภาคเรียนเทอมกลาง ทำงานอยู่ประมา
4-5 วัน โดยมีหัวหน้ากลุ่มนักศึกษาอยู่หลายคน เช่น นายชัยพร พรพนมเวศน์, นายสุรชัย เลี้ยงหทัยธรรม, นายชำนิ อู่ข้าวอู่น้ำ, นายสมบูรณ์ แซ่โค้ว, นายณรงค์ ศรีมาลา, นายพิชัย แซ่ตั้ง, นายประวิช อัชฌาสุทธิคุณ เป็นต้น
ซึ่งหัวหน้ากลุ่มเหล่านี้ได้นัดแนะกับเพื่อน ๆ ที่มีใจอาสาสมัคร ทำงานพัฒนาชิ้นแรก คือหมู่บ้านอาคารสงเคราะห์ทหารเรือ วัดครุฑ ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบ้านช่างหล่อ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล อยู่ โดยได้ช่วยกันปรับพื้นถนนเก่าให้เป็นพื้นแผ่นคอนกรีต ขนาด 24"x24"x2" ปูเป็นแผ่นคู่ยาวประมาณ 350 เมตร พร้อมทั้งขุดลอกคลองระบายน้ำ ทำงานกันแม้ฝนจะตกแดดจะออก จนได้รับคำชมเชยจากบรรดานายทหารเรือเจ้าของอาคารเหล่านั้น ทำให้นายทหารผู้หนึ่งได้กล่าวว่า "ถ้านักเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเช่นนี้ บ้านเมืองก็จะเจริญไปนานแล้ว เพราะเด็กในวัยนี้กำลังอยากจะสร้างสรรและอยากเด่นถ้าแนะนำได้ถูกทาง"
จากคำพูดประโยคนี้ ทำให้อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล และนักศึกษามีความรู้สึกและปรารถนาที่จะเห็นวิทยาลัยของเรามีชมรมอาสาพัฒนาขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มใจ จากนักศึกษาชุดนั้น
ดังนั้น อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล จึงได้นำเรื่องการขอจัดตั้งชมรมอาสาพัฒนา เข้าไปเสนอ'''อาจารย์อรรณพ ประชัยณรงค์''' (ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างกลปทุมวันในขณะนั้น) ซึ่งได้รับการสนับสนุนและยินดีที่จะช่วยหาเงินเป็นทุนสำหรับชมรม และแล้วชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวันก็ได้กำเนิดขึ้นและเริ่มเปิดรับสมาชิกเฉพาะชั้นปีที่ 2 และ 3 ทุกแผนกช่าง พร้อมกับได้ฟอร์มงานเลือกคณะกรรมการบริหารชมรม โดยมีนายชัยพร พรพนมเวศน์ เป็นประธานชมรม
จนกระทั่งเปิดภาคเรียนการศึกษาใหม่ ปี 2517 พี่ชายของอาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล ได้จดหมายบอกมาว่าขอให้ไปช่วยกันพัฒนาที่จังหวัดชัยภูมิ เมื่อกรรมการชมรมได้ไปทำการสำรวจและลงมติเห็นควรที่จะไปทำการพัฒนาโรงเรียนบ้านโสตลับ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เมื่อติดต่อประสานงานกับทางจังหวัดชัยภูมิแล้ว ท่านผู้อำนวยการได้แต่งตั้งอาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล และอาจารย์กวี รัตนานุภาพ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
หลังจากงานค่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 ด้วยเงินทุกโครงการประมาณหนึ่งหมื่นห้าพันบาท งานค่ายของชมรมอาสาพัฒนา วิทยาลัยช่างกลปทุมวันก็ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมาทุกปี จนกระทั่งในปีการศึกษา 2523 ชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน โดยมีอาจารย์อาทร จันทวิมล เป็นผู้อำนวยการ
ได้ทำโครงการค่ายอาสาพัฒนาร่วมกับทางกองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดน
และ
 
'''ได้รับพระราชทานนามชื่อโรงเรียนที่สร้างจากองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีว่า
"โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์"'''
เป็นต้นมา
 
โดยกองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดนได้ให้ความสนับสนุนในเรื่องรถยนต์ที่ใช้ติดต่อประสานงานและการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานค่ายในปี2530ได้ออกค่ายเพื่อสร้างโรงเรียนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์8ที่ตำบลนาดอน,จังหวัดนครพนม(http://www.scout23.net/index.php/8)
จวบจนปี พ.ศ. 2544 ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวันได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) โดยได้ดำเนินการออกค่าย ณ จ.อุบลราชธานี ด้วยเงินทุนทีใช้ในโครงการประมาณ 1,200,000 บาท แต่งานค่ายอาสาพัฒนาในปัจจุบันยังคงยึดแนวทางอุดมการณ์ของนักอาสาพัฒนารุ่นพี่ ๆ
ไว้แนบแน่นในอันที่จะช่วยเหลือพัฒนาการศึกษาของเยาวชนและสังคมไทยในถิ่นทุรกันดารให้มีความเจริญสืบต่อไป
 
.......ปัจจุบันทางชมรมอาสาฯช่างกลปทุมวันได้เปลี่ยนโครงสร้างอาคารเรียนเป็นโครงเหล็ก เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้เอาไว้ ที่ผ่านมาชาวอาสาฯได้ไปสร้างโรงเรียนที่ จ.ประจวบคิรีขันต์ เป็นโรงเรียนช่างกลปทุมวันอนุสรน์ที่ ๑๙
==โครงการจัดตั้งวิทยาเขตพิจิตร==
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา มินยง อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันฯ ได้วางแนวทางการขยายพื้นที่การศึกษา สู่ภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ จึงได้ทำความร่วมมือกับจังหวัดพิจิตรที่มีความสนใจที่จะจัดการศึกษาของจังหวัดไปสู่ระดับอุดมศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสาขาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของในพื้นที่ สำหรับโครงการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน วิทยาเขตพิจิตร ต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปีในการจัดตั้งบนเนื้อที่กว่า 600ไร่ พร้อมด้วยงบประมาณกว่า 900 ล้าน คาดน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2559 เพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรี AEC ในปี 2558 เริ่มต้นรับนักศึกษารุ่นแรก 650-700 คน ในปีการศึกษา 2559เน้นสร้างบัณฑิตคุณภาพ มีความรู้คู่กับนักปฏิบัติ เพื่อป้อนตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง