ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิโลทาร์ที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
'''สมเด็จพระจักรพรรดิโลแธร์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์''' หรือ '''สมเด็จพระจักรพรรดิโลแธร์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์''' ({{lang-en|Lothair III, Holy Roman Emperor}}) ([[ค.ศ. 1075]] - [[4 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1137]]) ทรงเป็นสมเด็จพระ[[จักรพรรดิ]]แห่ง[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]แห่งตระกูลซัพพลิงบวร์ก ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี [[ค.ศ. 1133]] จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ [[4 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1137]] พระองค์เป็นพระราชโอรสของเก็บฮาร์ดแห่งซัพพลิงบวร์ก
 
<br />
 
== ดยุคแห่งแซ็กโซนี ==
 
 
โลแธร์เป็นบุตรชายของเก็บฮาร์ด เคานต์แห่งซุพพลิงบวร์ก ทรงประสูติไม่กี่วันก่อนหน้าที่พระบิดาจะถูกสังหารในสมรภูมิเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1075 พระองค์สืบทอดดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลบริเวณเฮล์มสเตดต์ใน[[รัฐซัคเซิน|แซ็กโซนี]] และในปี ค.ศ. 1088 ทรงมีส่วนร่วมในการก่อจราจลต่อ[[จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไฮน์ริชที่ 4]]
 
 
การแต่งงานในปี ค.ศ. 1088 กับริเชินซา ทายาทของทั้งตระกูลนอร์ดเฮล์มและตระกูลบรุนสวิก ทำให้โลแธร์กลายเป็นขุนนางผู้ทรงอำนาจในแซ็กโซนีและเป็นเจ้าชายที่ร่ำรวยที่สุดในเยอรมนีเหนือ
 
 
ด้วยการสนับสนุนจากกษัตริย์เยอรมัน [[จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|พระเจ้าไฮน์ริชที่ 5]] ให้ต่อกรกับพระบิดาของพระองค์ จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 ในปี ค.ศ. 1104 ทำให้โลแธร์ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าไฮน์ริชที่ 5 ให้เป็นดยุคแห่งแซ็กโซนีเมื่อดยุคมักนุส ดยุคคนสุดท้ายของตระกูลบิลุง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1106
<br />
 
== กษัตริย์แห่งเยอรมนี ==
 
 
แนวคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระของโลแธร์ไม่นานก็ทำให้พระองค์ขัดแย้งกับกษัตริย์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1112 ถึงปี ค.ศ. 1115 พระองค์มีส่วนร่วมในการก่อกบฏต่อพระเจ้าไฮน์ริชเป็นช่วงๆ และกองกำลังของพระองค์ปราบกษัตริย์ได้ที่สมรภูมิเวลเฟสฮอล์ซในปี ค.ศ. 1115<ref>Comyn, pg. 181</ref>
 
 
ในปี ค.ศ. 1125 พระเจ้าไฮน์ริชที่ 5 สิ้นพระชนม์ โลแธร์ได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์เยอรมันและได้รับการสวมมงกุฎที่[[อาเคิน]] สงครามกลางเมืองระหว่างผู้สนับสนุนโลแธร์กับทายาทของ[[ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน|ตระกูลโฮเฮินสเตาเฟิน]] สองพระอนุชา คอนรัดและฟรีดริช ดยุคแห่งสวาเบีย อุบัติขึ้น ในปี ค.ศ. 1127 คอนรัดได้รับเลือกจากสมัครพรรคพวกให้เป็นกษัตริย์ การแตกพ่ายของฐานที่มั่นของชาวโฮเฮินสเตาเฟิน [[เนือร์นแบร์ค|เนิร์นแบร์ก]]และชปายยาร์ ในอีกสองปีต่อมาทำให้การต่อต้านอันทรงประสิทธิภาพจบสิ้นลง แม้ชาวโฮเฮินสเตาเฟินจะดิ้นรนต่อสู้อยู่อีกหลายปี ขณะที่คอนรัดก็ครองตำแหน่งจอมปลอมของพระองค์ต่อไป
<br />
 
== จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ==
<br />
[[ไฟล์:Lothair II, Holy Roman Emperor.jpg|thumb|ภาพวาดของโลแธร์ใน ''คอเด็กซ์ เอเบราดิ'' อารามฟุลดา ปี ค.ศ. 1150/60]]
ในปี ค.ศ. 1130 สองผู้ท้าชิงตำแหน่งประสันตะปาปาที่เป็นอริกันร้องขอการสนับสนุนจากโลแธร์ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1131 โลแธร์ต้อนรับ[[สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 2|พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 2]] ที่ลิแอชและร่วมเดินทางไปด้วยกัน พระองค์เดินทัพเข้าสู่อิตาลีในปี ค.ศ. 1132–33 แม้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโรมจะอยู่ในกำมือของอานาเคลตุส โลแธร์ได้รับการสวมมงกุฎเป็น[[จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1133<ref>Comyn, pg. 192</ref> จากนั้นพระองค์ได้รับที่ดินศักดินาจากพระสันตะปาปาเป็นทรัพย์สินที่ดินอันกว้างใหญ่ไพศาลของมาทิลดาแห่งทัสคานี<ref>Comyn, pg. 192</ref>
 
 
ในปี ค.ศ. 1134 หลังกลับไปเยอรมนี โลแธร์กลับไปทำศึกกับชาวโฮเฮินสเตาเฟินอีกครั้ง ไม่นานฟรีดริชแห่งโฮเฮินสเตาเฟินก็ยอมจำนน สันติภาพถูกประกาศที่เทศกาลถือศีลอดในบัมแบร์ก (เดือนมีนาคม ค.ศ. 1135) ทำให้สวาเบียกลับมาเป็นของฟรีดริชอีกครั้ง ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1135 คอนรัดสงบศึกกับโลแธร์ภายใต้เงื่อนไขด้านการผ่อนปรนแบบเดียวกัน
 
 
โลแธร์ยังส่งเสริมการขยายอำนาจของชาวเยอรมันและเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าไปในอาณาบริเวณทางตะวันออกของเอลเบอ ในปี ค.ศ. 1135 พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งเดนมาร์กประกาศตนเป็นข้าราชบริพารของจักรพรรดิโลแธร์ และเจ้าชายโปแลนด์ เจ้าชายโบเลสสวาฟที่ 3 สัญญาว่าจะจ่ายบรรณาการและได้รับโปเมอราเนียและรุยเงินเป็นที่ดินศักดินาของเยอรมนี
<br />
 
== การสิ้นพระชนม์ ==
 
 
ข้อตกลงกับจักรพรรดิไบเซนไทน์จอห์นคอมเนนุสส่งผลให้โลแธร์ลงมือออกเดินทางไปสู้รบในอิตาลีเป็นครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1136–37 ทรงผลักดันกองกำลังของโรเจอร์ที่ 2 แห่งซิซิลีออกไปจากพื้นที่ทางใต้ของ[[คาบสมุทรอิตาลี]]
<br />
[[ไฟล์:Königslutter Dom Rück.jpg|thumb|สถานที่ฝังศพของจักรพรรดิโลแธร์ที่ 2 ''ไคซาร์โดม'' ในเคอนิงสลัตทาร์ ก่อตั้งโดยจักรพรรดิในปี ค.ศ. 1135]]
พระองค์สิ้นพระชนม์ระหว่างเดินทางกลับเยอรมนีขณะกำลังข้าม[[เทือกเขาแอลป์]]เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1137<ref>Bryce, pg. xl</ref> ศพของพระองค์ถูกต้มเพื่อยับยั้งการเน่าสลาย<ref>J. L. Bada, B. Herrmann, I. L. Payan and E. H. Man (1989), "Amino acid racemization in bone and the boiling of the German Emperor Lothar I", ''Applied Geochemistry'' '''4''': 325–27.</ref> กระดูกถูกพาไปที่โบสถ์อารามของ[[ซีโมนเปโตร|นักบุญปีเตอร์]]และ[[เปาโลอัครทูต|นักบุญพอล]]ในเคอนิงสลัตทาร์ที่ทรงบริจาคเงินให้ในฐานะโบสถ์ที่จะใช้ฝังพระศพและที่ทรงวางศิลาฤกษ์ในปี ค.ศ. 1135
<br />
 
== ทายาท ==
 
 
ราชวงศ์ซุพพลิงบวร์กนั้นอยู่ได้ไม่นาน โลแธร์กับพระมเหสี ริเชินซาแห่งนอร์ดเฮล์ม มีพระโอรสธิดาที่มีชีวิตรอดเพียงคนเดียวคือพระธิดาที่มีชื่อว่าแกร์ทรูด ประสูติเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1115 เพื่อให้[[ตระกูลเวล์ฟ]]สนับสนุนเลือกพระองค์เป็นกษัตริย์ โลแธร์จับแกร์ทรูดแต่งงานกับ[[ไฮน์ริชที่ 10 ดยุคแห่งบาวาเรีย]] เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1127<ref>Comyn, pg. 190</ref> ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือ[[ไฮน์ริชที่ 12 ดยุกแห่งบาวาเรีย|ไฮน์ริชสิงห์]]<ref>Comyn, pg. 190</ref>
 
 
หลังการสิ้นพระชนม์ของโลแธร์ในปี ค.ศ. 1137 คอนรัดจากตระกูลโฮเฮินสเตาเฟินได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์ในชื่อ[[คอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าคอนรัดที่ 3]] เมื่อไฮน์ริชผู้หยิ่งทะนง พระชามาดาและทายาทของโลแธร์และเจ้าชายผู้ทรงอำนาจที่สุดในเยอรมันซึ่งถูกมองข้ามจากการเลือกตั้งไม่ยอมรับกษัตริย์คนใหม่ พระเจ้าคอนรัดที่ 3 จึงริบอาณาเขตทั้งหมดของเขา
<br />
== พระอิสริยยศ ==
* [[สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] ([[ค.ศ. 1133]] - [[ค.ศ. 1137]])
เส้น 31 ⟶ 83:
* [[อาณาจักรดยุกแห่งแซกโซนี|ดยุกแห่งแซกโซนี]] ([[ค.ศ. 1133]] - [[ค.ศ. 1137]])
 
<br />
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* Karl Hampe (1973). ''Germany Under the Salian and Hohenstaufen Emperors''. ISBN 0-631-14180-4
*[https://www.britannica.com/biography/Lothar-II-Holy-Roman-emperor Encyclopædia Britannica: Lothair II]
 
== ดูเพิ่ม ==