ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
พระองค์ทรงจมน้ำที่แม่น้ำซาเล็ปในเอเชียไมเนอร์จนเสด็จสวรรคตเมื่อปี [[ค.ศ. 1190]]
 
<br />
 
== ต้นชีวิต ==
 
 
ไม่มีใครรู้วันประสูติที่แท้จริงของฟรีดริชที่ 1 หรือฉายาคือ บาร์บารอสซา (ภาษาอิตาลี มีความหมายว่า "เคราแดง"<ref>Iba, Johnson (2015), p. 29</ref>) แม้ทั่วไปแล้วจะระบุปีประสูติของพระองค์ว่าเป็นปี ค.ศ. 1122 หรือ 1123 บิดาของพระองค์คือฟรีดริชที่ 2 ดยุคแห่งสวาเบีย ส่วนมารดาคือจูดิธ บุตรสาวของไฮน์ริชที่ 9 ดยุคแห่งบาวาเรียหรือไฮน์ริชดำ บิดาของบาร์บารอสซาเป็น[[ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน|ชาวโฮเฮินสเตาเฟิน]] ขณะที่มารดาเป็น[[ตระกูลเวล์ฟ|ชาวเวล์ฟ]] สองราชวงศ์ชั้นนำใน[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ที่เป็นศัตรูกันมาช้านาน
 
 
ในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่สอง บาร์บารอสซาติดตามพระปิตุลา [[พระเจ้าคอนรัดที่ 3 แห่งเยอรมนี]] ไปดินแดนตะวันออก สุดท้าย[[สงครามครูเสด]]กลายเป็นหายนะ<ref>Comyn (1851), p. 199</ref> และผู้ทำครูเสดซึ่งรวมถึงชาวเยอรมันทำได้ไม่ดีนักในการเดินทางทางทหาร ที่ดอริเลออน ชั่วพริบตาเดียว กองทัพของพระเจ้าคอนรัดถูกชาวตุรกีซุ่มโจมตีและพ่ายแพ้ยับเยิน อย่างไรก็ดีบาร์บารอสซาได้ประสบการณ์ทางทหารจากการสู้รบครั้งนี้ รวมถึงความเชื่อมั่นจากพระปิตุลา
<br />
 
== การขึ้นครองราชย์ ==
 
 
ปี ค.ศ. 1152 ตอนที่พระเจ้าคอนรัดนอนอยู่บนเตียงสิ้นพระชนม์ พระองค์มอบตราประจำตัวจักรพรรดิให้บาร์บารอสซา และแสดงออกถึงความต้องการที่จะให้พระภาติยะสืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์<ref>Comyn (1851), p. 200</ref> โดยมีเจ้าชายบิชอปแห่งบัมแบร์กซึ่งเป็นอีกคนที่อยู่ที่เตียงสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าคอนรัดเป็นสักขีพยาน พระโอรสวัย 6 พรรษของคอนรัดที่ไม่ได้สืบทอดเป็นกษัตริย์ต่อจากพระบิดาได้รับแต่งตั้งเป็นดยุคแห่งสวาเบีย นอกจากจะได้รับประกาศชื่อให้เป็นผู้สืบทอดของพระเจ้าคอนรัด การอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ของบาร์บารอสซายังได้รับการยอมรับจากความสายสัมพันธ์ทางสายเลือดที่มีต่อตระกูลโฮเฮินสเตาเฟินและตระกูลเวล์ฟ ในตอนที่ขึ้นครองบัลลังก์ บาร์บารอสซาหมายจะฟื้นฟูจักรวรรดิให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งเหมือนในสมัย[[ชาร์เลอมาญ]] เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย กษัตริย์คนใหม่เดินทางไปทั่วอาณาจักรเพื่อพบปะเจ้าชายประจำท้องถิ่น และเพื่อรวมเหล่าเจ้าชายให้เป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้พระองค์
<br />
 
== จักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ ==
 
 
สิ่งหนึ่งของชาร์เลอมาญที่บาร์บารอสซาได้มาครอบครองคือตำแหน่ง "[[จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]" ในปี ค.ศ. 1153 สนธิสัญญาคอนสตานซ์ระหว่างบาร์บารอสซากับ[[สมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3|พระสันตะปาปายูจีนที่ 3]] ได้ข้อสรุป โดยหลักๆ สนธิสัญญากำหนดให้บาร์บารอสซาได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แลกกับการให้ความช่วยเหลือพระสันตะปาปาต่อกรกับศัตรูชาวนอร์มันในซิซิลี<ref>Falco (1964), pp. 218 et seq.</ref> ในปี ค.ศ. 1155 บาร์บารอสซาได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จากผู้สืบทอดตำแหน่งของพระสันตะปาปายูจีน [[สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4|พระสันตะปาปาอาเดรียนที่ 4]] จากนั้นก็เดินทางกลับเยอรมนี พระองค์พบว่ามีความขัดแย้งภายในเกิดขึ้นในช่วงที่พระองค์ไม่อยู่ จึงใช้มาตราเพื่อให้อาณาจักรกลับมาเป็นระเบียบเรียบร้อย
<br />
 
== ความสัมพันธ์กับพระสันตะปาปา ==
<br />
[[ไฟล์:B alexander III2.jpg|thumb|ฟรีดริช บาร์บารอสซายอมจำนนต่ออำนาจของพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 โดยสปิเนลโล อาเรติโน คริสตศตวรรษที่ 14]]
แม้จะได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างบาร์บารอสซากับพระสันตะปาปากลับตึงเครียดขึ้น ด้วยประเด็นที่ว่าจักรพรรดิควรเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระสันตะปาปา หรือพระสันตะปาปาควรเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของจักรพรรดิ บาร์บารอสซาย่อมต้องคิดว่าพระสันตะปาปาควรเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของจักรพรรดิ ส่วนพระสันตะปาปาก็มีมุมมองที่ตรงกันข้าม<ref>Comyn (1851), p. 235</ref> สุดท้ายเรื่องนี้ก็ส่งผลให้บาร์บารอสซาถูก[[สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3|พระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3]] [[การตัดขาดจากศาสนา|ตัดขาดจากศาสนา]]<ref>Dahmus (1969), p. 295</ref> เพื่อเป็นการตอบโต้ บาร์บารอสซาหันไปสนับสนุนอยู่เบื้องหลังผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาอย่างต่อเนื่อง
<br />
[[ไฟล์:Kyffhäuser-Denkmal in Thüringen 2H1A0034WI.jpg|thumb|อนุสาวรีย์บาร์บารอสซาที่ภูเขาคึฟฟอยเซอร์ คึฟฟอยเซอร์เดงมาลในประเทศเยอรมนี]]
สุดท้ายในปี ค.ศ. 1176 บาร์บารอสซาสงบศึกกับพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์และการตัดขาจากศาสนาถูกยกเลิกหลังการสู้รบของบาร์บารอสซากับสหพันธ์[[ลอมบาร์ด]]ในอิตาลีเหนือ<ref>Brown (1972), pp. 164–165</ref> อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวของบาร์บารอสซาในหลายปีต่อมาทำให้ความสัมพันธ์กับพระสันตะปาปาเกิดรอยร้าวอีกครั้ง แต่กระนั้นเมื่อมีการเรียกทำ[[สงครามครูเสดครั้งที่ 3|สงครามครูเสดครั้งที่สาม]] บาร์บารอสซาตอบสนองทันทีโดยการระดมทหาร 15,000 นาย<ref>Loud 2010, p. 19.</ref><ref>Konstam, ''Historical Atlas of the Crusades'', 162</ref> และออกเดินทางไปดินแดนตะวันออก ทว่าครั้งนี้ชะตาไม่ได้ลิขิตให้จักรพรรดิผู้ชราแล้วไปถึง[[แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์|ดินแดนศักดิ์สิทธิ์]] ในปี ค.ศ. 1190 บาร์บารอสซาจมน้ำสิ้นพระชนม์ในแม่น้ำซาเลฟใน[[อานาโตเลีย]]ตะวันออกเฉียงใต้<ref>Comyn (1851), p. 267</ref> อ้างอิงตามบันทึกส่วนหนึ่ง จักรพรรดิจมน้ำสิ้นพระชนม์ขณะกำลังพยายามข้ามแม่น้ำ ขณะที่บันทึกอีกหลายฉบับอ้างว่าทรงกระโดดลงไปในแม่น้ำจนตัวแข็งและจมน้ำสิ้นพระชนม์ อีกกรณีหนึ่ง มีการโทษว่าน้ำหนักของเกราะคือต้นเหตุทำให้จมน้ำสิ้นพระชนม์
<br />
 
== พระโอรสธิดา ==
 
 
การอภิเษกสมรสครั้งแรกของฟรีดริชที่ 1 กัยอาเดลไฮด์แห่งฟูบวร์กไม่มีพระโอรสธิดาและถูกประกาศให้เป็นโมฆะ<ref name=":0">Gislebertus (of Mons), ''Chronicle of Hainaut'', transl. Laura Napran, (Boydell Press, 2005), 55 note245.</ref>
<br />
[[ไฟล์:Hochzeit friedrich I. tiepolo.jpg|thumb|การอภิเษกสมรสของจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 บาร์บารอสซากับเบียทริซแห่งเบอร์กันดี]]
จากการอภิเษกสมรสครั้งที่สองกับเบียทริซแห่งเบอร์กันดี<ref name=":0" /> พระองค์มีพระโอรสธิดา ดังนี้
 
# เบียทริซ (ค.ศ. 1162 – 1174) ถูกหมั้นหมายกับพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งซิซิลี แต่สิ้นพระชนม์ก่อนจะได้แต่งงานกัน
# ฟรีดริชที่ 5 ดยุคแห่งสวาเบีย (16 กรกฎาคม ค.ศ. 1164 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1170)
# [[จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|ไฮน์ริชที่ 6 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] (พฤศจิกายน ค.ศ. 1165 – 28 กันยายน ค.ศ. 1197)<ref name=":0" />
# คอนรัด (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1167 – 20 มกราคม ค.ศ. 1191) ต่อมามีชื่อใหม่ว่าฟรีดริชที่ 6 ดยุคแห่งสวาเบียหลังพระเชษฐาสิ้นพระชนม์<ref name=":0" />
# จิเซลา (ตุลาคม/พฤศจิกายน ค.ศ. 1168 – ค.ศ. 1184)
# ออตโทที่ 1 เคานต์แห่งเบอร์กันดี (มิถุนายน/กรกฎาคม ค.ศ. 1170 – ถูกสังหาร 13 มกราคม ค.ศ. 1200)<ref name=":0" />
# คอนรัดที่ 2 ดยุคแห่งสวาเบียและโรเธินบวร์ก (กุมภาพันธ์/มีนาคม ค.ศ. 1172 – ถูกสังหาร 15 สิงหาคม ค.ศ. 1196)<ref name=":0" />
# รานูด (ตุลาคม/พฤศจิกายน ค.ศ. 1173 – วัยทารก)
# วิลเลียม (มิถุนายน/กรกฎาคม ต.ศ. 1176 – วัยทารก)
# [[พระเจ้าฟิลิปแห่งเยอรมนี|ฟิลิปแห่งสวาเบีย]] (สิงหาคม ค.ศ. 1177 – ถูกสังหาร 21 มิถุนายน ค.ศ. 1208) กษัตริย์แห่งเยอรมนี ค.ศ. 1198<ref name=":0" />
# แอ็กเนส (ค.ศ. 1181 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 1184) ถูกหมั้นหมายกับเอเมริกแห่งฮังการี แต่สิ้นพระชนม์ก่อนจะได้แต่งงานกัน
 
<br />
== อ้างอิง ==
[https://www.britannica.com/biography/Frederick-I-Holy-Roman-emperor Frederick I HOLY ROMAN EMPEROR WRITTEN BY: Hans Patze]
{{รายการอ้างอิง}}
 
[https://www.ancient-origins.net/history/frederick-i-barbarossa-megalomaniac-roman-emperor-crusade-power-008283 Frederick I Barbarossa: A Megalomaniac Roman Emperor On a Crusade for Power]{{รายการอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==