ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การบุกครองโปแลนด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Đông Minh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Đông Minh (คุย | ส่วนร่วม)
fixed cite error
บรรทัด 69:
ประเทศโปแลนด์มีส่วนในการแบ่งเชโกสโลวาเกียหลัง[[ความตกลงมิวนิก]] แม้ว่าโปแลนด์จะมิใช่ส่วนหนึ่งของความตกลงก็ตาม ความตกลงดังกล่าวบังคับให้[[เชโกสโลวาเกีย]]สละพื้นที่เชสคีเตชีน (Český Těšín) โดยออกคำขาดซึ่งมีผลในวันที่ 30 กันยายน 1938 และเชโกสโลวาเกียยอมรับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ภูมิภาคดังกล่าวมีชาวโปแลนด์เป็นฝ่ายข้างมากและมีการพิพาทระหว่างเชโกสโลวาเกียหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การผนวกดินแดนสโลวักภายหลังเป็นเหตุผลสำหรับรัฐสโลวักให้เข้าร่วมการบุกครองของเยอรมัน
 
ถึง ค.ศ. 1937 เยอรมนีเริ่มเพิ่มการเรียกร้องนครดานซิกมากขึ้น<ref name="thanu_153">https://web.archive.org/web/20070927230153/http://www.euronet.nl/~jlemmens/autobahn.html</ref> ขณะที่เสนอให้สร้างถนนเพื่อเชื่อมปรัสเซียตะวันออกกับเยอรมนี โดยตัดผ่านฉนวนโปแลนด์ โปแลนด์ปฏิเสธข้อเสนอนี้ ด้วยเกรงว่าหลังยอมรับข้อเรียกร้องแล้ว จะยิ่งขึ้นกับเจตนาของเยอรมนีมากขึ้นและเสียเอกราชในที่สุด ดังเช่นที่เกิดกับเชโกสโลวาเกีย ผู้นำโปแลนด์ยังไม่ไว้ใจฮิตเลอร์ ยิ่งไปกว่านั้น การสนับสนุนกับกลุ่มชาตินิยมยูเครนต่อต้านโปแลนด์จากองค์การนักชาตินิยมยูเครน ซึ่งถูกมองว่าเป็นความพยายามเพื่อโดดเดี่ยวและสร้างความอ่อนแอแก่โปแลนด์ ยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของฮิตเลอร์จากมุมมองชาวโปแลนด์เสื่อมลง อังกฤษยังรับรู้ถึงสถานการณ์ระหว่างเยอรมนีกับโปแลนด์ วันที่ 31 มีนาคม โปแลนด์ได้รับการสนับสนุนโดยการรับประกันจากอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งกล่าวว่าบูรณภาพแห่งดินแดนของโปแลนด์จะได้รับการคุ้มครองโดยการสนับสนุนจากทั้งสองประเทศ ในอีกด้านหนึ่ง [[เนวิลล์ เชมเบอร์เลน]] นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และลอร์ดฮาลิแฟกซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังหวังจะทำข้อตกลงกับฮิตเลอร์เกี่ยวกับดานซิก (และอาจรวมถึงฉนวนโปแลนด์) และฮิตเลอร์ก็หวังอย่างเดียวกัน เชมเบอร์แลนและผู้สนับสนุนเชื่อว่าสงครามสามารถหลีกเลี่ยงได้และหวังให้เยอรมนียอมไม่ยุ่งกับส่วนที่เหลือของโปแลนด์ การครองความเป็นใหญ่ของเยอรมนีเหนือยุโรปกลางอยู่ในความเสี่ยง
 
[[ไฟล์:MolotovRibbentropStalin.jpg|thumb|right|200px|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของโซเวียต [[วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ]] กำลังลงนามใน[[สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ]] ด้านหลังเขา (ซ้ายยืน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยอรมนี [[โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ]] (ขวา) ผู้นำโซเวียต [[โจเซฟ สตาลิน]]]]