ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Art Choco Love (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7947914 สร้างโดย Art Choco Love (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 21:
| open = ยังไม่กำหนด
| close =
| owner = [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]<br>[[ท่าอากาศยานไทย|บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]]<br>[[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]]<br>[[จังหวัดสมุทรปราการ]]
| operator = รอเอกชนประมูล
| character =
บรรทัด 42:
|}}
 
'''รถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ''' หรือ '''รถไฟฟ้าบีทีเอส สายบางนา-สุวรรณภูมิ''' เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่[[กรุงเทพมหานคร]] และ[[จังหวัดสมุทรปราการ]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|โครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2)]] โดยความร่วมมือระหว่าง [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] [[ท่าอากาศยานไทย|บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]] [[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] และ[[จังหวัดสมุทรปราการ]] มีแนวความคิดเริ่มต้นมาจากการก่อสร้างส่วนต่อขยาย[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]] ระยะที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ที่กรุงเทพมหานครเล็งเห็นถึงโอกาสในการขยายเส้นทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแนว[[ถนนเทพรัตน]] ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการยื่นขอผลวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เพื่อเริ่มดำเนินโครงการ
 
== ประวัติของโครงการ ==
เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างส่วนต่อขยาย[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]] ระยะที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง โดย[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]เล็งเห็นถึงโอกาสในการขยายเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้าไปเชื่อมกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยอาศัยเส้นทางตามแนว[[ถนนเทพรัตน]] และเกิดจากกการที่กรุงเทพมหานครมองว่าถนนเทพรัตนไม่มีระบบขนส่งมวลชนตัดผ่าน จึงมีแนวคิดในการก่อสร้างโครงการขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ที่ยินดีสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการธนาซิตี้เพื่อใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ และได้รับความเห็นชอบจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในการปรับแบบการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งยังได้รับความเห็นชอบจากจังหวัดสมุทรปราการที่สนับสนุนให้มีระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเพื่อที่จะได้เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อันเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ
 
โครงการดังกล่าวถูกนำพิจารณาขึ้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหลายครั้ง และได้ถูกนำเสนอขึ้นต่อ [[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร]] เพื่อบรรจุลงแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง แต่ได้รับข้อวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการก่อสร้างเส้นทางอย่างต่อเนื่อง แต่กรุงเทพมหานครก็ยังคงผลักดันแนวคิดของโครงการให้สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชานในบริเวณดังกล่าว ซึ่งต่อมาเส้นทางสายนี้เป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องที่ได้รับการบรรจุลงในร่างแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่สอง ซึ่งจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มเติมถึง 10 เส้นทางที่ขยายเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต
 
ในปัจจุบัน กรุงเทพมหานครได้ก่อสร้างทางแยกหลังจากออกจาก[[สถานีอุดมสุข]]ไว้ทั้ง[[ขาเข้าเมือง]] (North-Bound) และ[[ขาออกเมือง]] (East-Bound) ที่บริเวณถนนสุขุมวิทช่วงทางแยกต่างระดับบางนา-สุขุมวิท และได้ก่อสร้างตอม่อรูปตัว U คว่ำตั้งแต่ด้านหน้าพื้นที่ก่อสร้าง[[แบงค็อก มอลล์|ศูนย์การค้าแบงค็อก มอลล์]] ไปจนถึง[[สี่แยกบางนา]] เพื่อเตรียมไว้สำหรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้โดยเฉพาะ แต่หลังจากการปรับแบบครั้งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้มีแนวคิดในการย้ายสถานีปลายทางไปอยู่บริเวณ[[ถนนสรรพาวุธ]] ตรงด้านหน้าศาลจังหวัดพระโขนง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการติดต่อศาลหรือสำนักงานเขตบางนาให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น
 
== รูปแบบของโครงการ ==
บรรทัด 57:
 
=== ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ ===
จะมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่บนพื้นที่ขนาด 29 ไร่ บริเวณโครงการธนาซิตี้ ซึ่งกรุงเทพมหานคร และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จะเวนคืนที่ดินจำนวนนี้จาก บริษัท ยูซิตี้ จำกัด (มหาชน) เจ้าของโครงการธนาซิตี้แทนการรับการสนับสนุนจากกลุ่มบีทีเอส เพื่อนำไปใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง
 
=== สถานี ===
บรรทัด 145:
* 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยแผนการจัดทำร่างแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องระยะที่ 2 (M-Map Phase 2) ร่วมกับทางไจก้า โดยทางไจก้าเสนอให้ต่อขยายเส้นทายสายนี้เพิ่มเติมจากบริเวณแยกสรรพาวุธไปยังสถานีแม่น้ำ ถนนพระรามที่ 3 เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากย่านสมุทรปราการเข้าสู่สถานีแม่น้ำที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร โดยให้แนวทางพาดผ่านพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึง พร้อมกับพิจารณาตัดเส้นทางส่วนธนาซิตี้-วัดศรีวารีน้อยออกเพื่อลดระยะทาง และยกระดับโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางหนักเพื่อลดภาระของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่จะเปลี่ยนเป็นรถไฟความเร็วสูงแทน
* 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - กรุงเทพมหานครเปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการฯ ว่าปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) แต่เพื่อให้โครงการเดินหน้าโดยเร็ว กรุงเทพมหานครได้จัดทำเอกสารร่างขอบเขตงานเพื่อให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP-Netcost Model) ระยะเวลาสัญญา 30 ปีควบคู่ไปด้วย ซึ่งรายละเอียดเบื้องต้นได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจร (คจร.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งมีนโยบายให้ใช้วิธีการเวนคืนที่ดินสำหรับก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการบริเวณโครงการธนาซิตี้จาก บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) แทนการรับการสนับสนุนจากกลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป เนื่องจากเกรงว่าเอกชนที่ได้งานจะเป็นคนละรายกัน
* 19 กันยายน พ.ศ. 2561 นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ภายในปี พ.ศ. 2561 กรุงเทพมหานครจะพยายามผลักดันเร่งรัดให้เกิดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ให้ได้ โดยให้สำนักการจราจรและขนส่ง ติดตามผลการจัดทำรายงานผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของรถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ ในขณะที่สายสีเทา ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานครจะไปหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เนื่องจากจำเป็นต้องขอใช้พื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยบางส่วนในการก่อสร้างโครงการ<ref>[https://www.thairath.co.th/content/1378922 กทม.ดันรถไฟฟ้าใหม่2สาย ไลต์เรลสุวรรณภูมิ-สีเทา1]</ref>
 
==การปรับเปลี่ยนเส้นทาง==