ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิกวังซฺวี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 35:
ภายหลังจากที่พระองค์มีพระชนม์ควรที่จะเริ่มดำเนินพระราชกรณียกิจด้วยตัวพระองค์เองได้แล้ว แต่พระนางซูสีไทเฮาก็ยังคงพระอำนาจในการตัดสินพระทัยและดำเนินพระราชกรณียกิจแทนพระองค์พระจักรพรรดิอยู่ ถึงแม้ว่าพระนางจะไปประทับที่[[พระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน|พระราชวังฤดูร้อน]]แล้วก็ตาม และพระนางยังมีพระเสาวนีย์เป็นการแต่งเรื่องว่า[[องค์ชายอี้ซวน|เจ้าชายชุนที่ 1]] พระราชบิดาขององค์พระจักรพรรดิจะไม่ทรงก้าวก่ายทางการเมืองไม่ว่าด้วยกรณีใดๆทั้งสิ้น
 
หลังจากที่พระองค์มีพระราชอำนาจเต็มที่ พระองค์ทรงพระราชดำริที่จะปฏิรูปให้จีนมีความทันสมัยทุกด้านมากกว่าที่จะปฏิรูปไปในทางอนุรักษนิยมแบบพระนางซูสีไทเฮาได้ทรงวางไว้ พระองค์ทรงเชื่อว่าการมีจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญแบบญี่ปุ่น ประเทศจะมีความเจริญทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2441 พระองค์ทรงริเริ่ม[[การปฏิรูปร้อยวัน]] โดยพยายามที่จะปฏิรูป การเมือง สังคมและกฎหมาย ในช่วงระยะเวลาอันไม่นานหลังจากการวางมือของพระนางซูสีไทเฮา พระจักรพรรดิทรงออกพระบรมราชโองการหลายฉบับในการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ โดยมีขุนนางหลักที่คอยช่วยเหลือกิจการในครั้งนี้ของพระองค์ของคนคือ [[คัง โหย่วเหวย ]] และ [[เหลียง ฉี่เชา]]
 
โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มีการเปลี่ยนแปลงประเทศจากเกษตรกรรมไปเป็นอุตสาหกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสอบรับราชการ โดยพระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกาในการจัดตั้ง[[มหาวิทยาลัยปักกิ่ง]] ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัยในขณะนั้นของจีน มีการก่อสร้างทางรถไฟ ลู่หาน และระบบท้องพระคลังให้มีระบบเช่นเดียวกับทางตะวันตก โดยมีเป้าหมายทำให้จีนเป็นประเทศที่ทันสมัย มีพระมหาจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ยังคงความเป็นจีนเอาไว้อยู่ ดังเช่นการ[[ปฏิรูปสมัยเมจิ]]ของญี่ปุ่น