ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มิดการ์เดอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''มิดการ์ด''' {{lang-en|Midgard}} หมายถึงโลก หรือพื้นพิภพตามความเชื่อของ...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ภาษานอร์สโบราณ]] {{lang|non|Miðgarðr}}; [[ภาษาอังกฤษเก่า]] {{lang|ang|Middangeard}}, [[ภาษาสวีดิช]] and [[ภาษาเดนมาร์ก]] ''Midgård'', [[ภาษาแซกซันเก่า]] {{lang|osx|Middilgard}}, [[ภาษาเยอรมันสูง]] {{lang|goh|Mittilagart}} ซึ่งมีความหมายว่า "middle yard" (ในภาษาเยอรมันตัว "g" จะเปลี่ยนรูปเป็นตัว "i" หรือตัว "y" ในภาษาอังกฤษ) หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวมนุษย์ตามความเชื่อในทางจักรวาลวิทยาของชนเผ่าเยอรมันสมัยแรกเริ่ม และเป็นหนึ่งในพิภพทั้งเก้า (nine worlds) ตามความเชื่อปรัมปราของชาวนอร์ส.
 
นักนิรุติศาสตร์ลงความเห็นว่า คำว่า "Midgard" เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับ และน่าจะมีที่มาจากคำภาษากรีกว่า Oikoumene ซึ่งหมายถึงพิภพของชาวมนุษย์ และเป็นคำที่ปรากฏในต้นฉบับบภาษากรีกของพระคริสต์ธรรมใหม่ (New Testament). แนวคิดเรื่อง "มิดการ์ด" ปรากฎอยู่ในวรรณกรรมอังกฤษสมัยเก่า และกลางหลายเรื่อง ซึ่งมีการใช้คำว่า ''middellærd'' หรือ ''middelerde'' ในความหมายที่สื่อถึงโลก ("earth"; {{lang-ang|eorðe}}). เจ. อาร์. อาร์. โทลเคียน (J.R.R. Tolkien) นักเขียนนิยายแฟนตาซีชื่อดังของอังกฤษ เป็นผู้ที่นำคำว่า "Middle-earth" มาใช้เป็นชื่อของสถานที่ดำเนินเรื่อง ในงานมหากาพย์จินตนิยายเรื่อง [[ลอร์ดออฟเดอะริงก์]] (The Lord of the Rings) จนทำให้เกิดความรู้จักคำนี้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก
 
ตามความเชื่อของเทพปกรณัมนอร์ส มิดการ์ดเป็นหนึ่งในเก้าพิภพของจักรวาล และเป็นพิภพเดียวที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้หมดด้วยตาเปล่า มีที่ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของมหาพฤกษา[[อิกดราซิล]] (Yggdrasil) มิดการ์ดจึงเป็นพิภพที่อยู่ระหว่าง [[นิเฟิลเฮม]] (Niflheim) อเวจีน้ำแข็งที่อยู่ทางเหนือ และมัสเปลเฮม (Muspelheim) พิภพแห่งไฟที่อยู่ทางใต้<ref>{{Cite news|url=https://www.britannica.com/topic/Midgard|title=Midgard {{!}} Norse mythology|work=Encyclopedia Britannica|access-date=2017-08-29|language=en}}</ref> มิดการ์ถูกห้อมล้อมด้วยมวลน้ำมหาศาลที่ไม่อาจผ่านเข้าออกได้ และมีพญางูทะเลยักษ์[[ยอร์มุนกานดร์]] (Jörmungandr) ผู้มีร่างกายอันมหึมาจนอาจรัดพันโลกไว้ได้อาศัยอยู่. มิดการ์ดสามารถไปมาหาสู่กันกับ[[อัสการ์ด]]ซึ่งเป็นถิ่นประทับของเหล่าทวยเทพได้ โดยผ่านทาง[[บิฟรอสต์]] (Bifröst), สะพานสายรุ้งที่มี[[ไฮม์ดาลร์]] (Heimdallr) เป็นผู้รักษาอยู่