ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กูเกิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|บริษัทกูเกิล|เว็บไซต์และเสิร์ชเอนจิน|กูเกิล เสิร์ช}}
{{กล่องข้อมูล บริษัท
| company_name = กูเกิล
| company_type = บริษัทมหาชน [http://www.google.com/intl/en/about/company/ เกี่ยวกับ Google {{en}}]</ref> <br />[[เมนโลพาร์ก]], [[รัฐแคลิฟอร์เนีย]]
| location = [[กูเกิลเพล็กซ์]], [[เมาน์เทนวิว]], [[แคลิฟอร์เนีย]], สหรัฐอเมริกา
| founder = {{plainlist|
* [[แลร์รี่ เพจ]]
* [[เซอร์เกย์ บริน]]
}}
| key_people = [[ซันดาร์ พิชัย]] (ประธานบริหาร)
| industr = [[อินเทอร์เน็ต]] และ[[ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์]]
| จำนวนพนักงาน = 2 คน ([[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2550|2550]]) <ref name=q42007results>{{cite web |url=http://www.google.com/press/pressrel/revenues_q407.html |title=Google Announces Fourth Quarter And Fiscal Year 2007 Results |date=31 มกราคม พ.ศ. 2551
| accessdate = 29 กุมภาพันธ์ 2551}}</ref>
| num_employees = 59,976 (ไตรมาสที่ 3 ปี 2015)<ref name= 10K>{{cite web|url=http://investor.google.com/earnings/2015/Q3_google_earnings.html |title=Google Inc. Announces Third Quarter and Fiscal Year 2015 Results| publisher = Google}}</ref>
| revenue = {{profit}} [[ดอลลาร์สหรัฐ|US$]] 66.001 พันล้าน (2557) <ref name="financialtables">{{cite web |url=http://www.sec.gov/Archives/edgar/data/1288776/000128877614000020/0001288776-14-000020-index.htm |title= Google Inc. 2013 Annual Report Form (10-K) |publisher= (XBRL). United States Securities and Exchange Commission. |accessdate=12 กุมภาพันธ์ 2557}}</ref>
| operating_income = {{nowrap|{{increase}} US$16.496&nbsp;พันล้าน (2557)<ref name='xbrlus_3'/>}}
| net_income = {{nowrap|{{increase}} US$14.444&nbsp;พันล้าน (2557)<ref name='xbrlus_3'/>}}
| assets = {{nowrap|{{increase}} US$131.133&nbsp;พันล้าน (2557)<ref name='xbrlus_3'/>}}
| equity = {{nowrap|{{increase}} US$104.5&nbsp;พันล้าน (2557)<ref name='xbrlus_3'/>}}
| slogan = [[Don't be evil]]
| parent = [[แอลฟาเบต]]
| homepage = [http://www.google.com/ www.google.com]<br />[http://www.google.co.th www.google.co.th]
}}
 
'''กูเกิล''' (Google Inc.) ({{nasdaq|GOOG}} และ {{lse|GGEA}}) เป็น[[บริษัทมหาชน]][[อเมริกัน]] มีรายได้หลักจาก[[แอดเวิดส์|การโฆษณาออนไลน์]]ที่ปรากฏใน[[กูเกิล เสิร์ช|เสิร์ชเอนจินของกูเกิล]] [[จีเมล|อีเมล]] [[กูเกิล แมปส์|แผนที่ออนไลน์]] [[กูเกิล แอปส์|ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน]] [[ออร์กัต|เครือข่ายออนไลน์]] และ[[ยูทูบ|วิดีโอออนไลน์]] รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อ[[กูเกิลเพล็กซ์]]ตั้งอยู่ที่[[เมาน์เทนวิว|เมืองเมาน์เทนวิว]] [[รัฐแคลิฟอร์เนีย]] โดยมีพนักงาน 16,805 คน ([[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2550|2550]]) {{อ้างอิง}} โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ[[ดัชนีดาวโจนส์]] (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) <ref>{{cite web |url=http://blogs.wsj.com/marketbeat/2007/10/31/googles-surge-would-make-casey-kasem-proud/ |title=Google’s Surge Would Make Casey Kasem Proud |date=31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 |publisher=[[Wall Street Journal]] |accessdate=29 กุมภาพันธ์ 2551}}</ref>
 
กูเกิลก่อตั้งโดย [[แลร์รี เพจ]] และ [[เซอร์เกย์ บริน]] ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่[[มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด]] ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ [[4 กันยายน]] [[พ.ศ. 2541]] ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ [[เมนโลพาร์ก|เมืองเมนโลพาร์ก]] ใน[[รัฐแคลิฟอร์เนีย]] <ref name="ก่อตั้ง">{{cite journal |url=http://www.usatoday.com/money/industries/technology/2004-04-29-google-timeline_x.htm |title=The Rise of Google |journal=[[ยูเอสเอทูเดย์]] |date= 29 เมษายน พ.ศ. 2547 |accessdate=29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551}}</ref> และมี[[การเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก]] เมื่อ [[19 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2547]] เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้าน[[ดอลลาร์สหรัฐ|ดอลลาร์สหรัฐ]] และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และ[[การซื้อกิจการ]]อื่นรวมเข้ามา เช่น [[กูเกิล ดีปไมด์]] รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่าง[[กูเกิล เอกซ์]]กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดย[[นิตยสารฟอร์จูน]]<ref name="best_company">"[http://money.cnn.com/magazines/fortune/bestcompanies/2007/full_list/ 100 Best Companies to Work For 2007]." ''[[นิตยสารฟอร์จูน]] [[22 มกราคม]] [[พ.ศ. 2550]] เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551</ref> ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ [[Don't be evil]] อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้าน[[การละเมิดข้อมูลส่วนตัว]] [[การละเมิดลิขสิทธิ์]] และ[[การเซ็นเซอร์]]ในหลายส่วน
 
วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558 แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน สองผู้ก่อตั้งกูเกิล ได้ตั้งบริษัทใหม่ชื่อ "[[แอลฟาเบต]]" (Alphabet) โดยมีแผนจะใช้บริษัทนี้เป็นบริษัทแม่แทน และลดขนาดองค์กรกูเกิลลงเพื่อความคล่องตัวทางธุรกิจ<ref>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1439272018 กูเกิลประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ตั้งบริษัทแม่แห่งใหม่ ลดไซซ์กูเกิลเพื่อความคล่องตัว]</ref><ref>[http://www.dailynews.co.th/foreign/340834 "กูเกิ้ล" ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ | เดลินิวส์]</ref> ต่อมาวันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน กูเกิลได้เปลี่ยนโลโก้บริษัทใหม่<ref>[http://googlethailand.blogspot.com/2015/09/google-update.html?m=1 Google ปรับโฉมใหม่ - Official Google Thailand Blog]</ref><ref>[http://www.fastcompany.com/3050613/googles-new-logo-is-its-biggest-update-in-16-years Google's New Logo Is Its Biggest Update In 16 Years | Fast Company]</ref>
 
== โครงการรณรงค์ ==
กูเกิล ร่วมรณรงค์กิจกรรมการปิดไฟ กับโครงการ[[เอิร์ธ อาวเออร์]] (Earth Hour) ของ[[กองทุนสัตว์ป่าโลก]] (World Wildlife Fund : WWF) ด้วยการปรับหน้า[[เว็บเพจ]]เป็น[[สีดำ]]พร้อมข้อความว่า "เราปิดไฟแล้ว ต่อไปตาคุณ" (We've turned the lights out. Now it's your turn.) ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551<ref>[http://www.google.co.th/intl/th_th/earthhour/ Earth Hour] google.co.th</ref>
 
"Google"
ชื่อ "Google" มาจากคำว่า "[[googol]]" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10<sup>100</sup> เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง
 
ในวันที่ [[10 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2548]] กูเกิลชนะความในศาล ในคดีที่มีบริษัทอื่นตั้งชื่อใกล้เคียง ได้แก่ googkle.com ghoogle.com และ gooigle.com เพื่อเรียกให้คนอื่นเข้าเว็บไซต์ของตน ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของกูเกิล
 
== ผลิตภัณฑ์ของกูเกิล ==
=== ซอฟต์แวร์เดสก์ทอป ===
ซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล
 
; [[กูเกิล ทอล์ก]] : ทอล์ก (Google Talk) ซอฟต์แวร์[[เมสเซนเจอร์]]และ[[วีโอไอพี]]
 
; [[กูเกิล เอิร์ธ]] : เอิร์ธ (Google Earth) ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละประเทศ ของโลก
 
; [[ปีกาซา]] : ปีกาซา (Picasa) ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา
 
; [[กูเกิล แพ็ก]] : แพ็ก (Google Pack) เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง [[ไฟร์ฟอกซ์]] [[สตาร์ออฟฟิศ]] [[อะโดบี แอโครแบต|อะโดบี รีดเดอร์]] [[สไกป์]]
 
; [[กูเกิล โครม]] : โครม (Google Chrome) ซอฟต์แวร์[[เบราว์เซอร์]]
 
; [[สเก็ตช์อัป]] : สเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ
 
; [[กูเกิล สกาย แมพ]] : สกาย แมพ (Google sky map) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ดู แผนที่ดาว ตำแหน่งดาวเคราห์ และ ดาวฤกษ์ ของ กาแล็กซี่ต่างๆๆ
 
; [[กูเกิล แมพ]] : แมพ (Google Map) ซอฟต์แวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก
 
=== ด้านเอกสาร ===
; [[กูเกิล เอกสาร]] : เอกสาร (Google Meet Docs ) ซอฟต์แวร์ที่ใช้เกี่ยวกับ การเก็บข้อมูล ภาพ ข้อมูล เหมือนกับ Microsoft word
 
; [[กูเกิล ชีต]] : ชีต (Google Meet Sheet) ซอฟต์แวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การทำข้อมูล กราฟเส้น ต่างๆๆ เหมือนกับ Microsoft Excle
 
; [[กูเกิล สไลด์]] : สไลด์ (Google Meet Slides) ซอฟแวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การนำเสนอ ข้อมูล ความรู้ เหมือนกับ Microsoft power point
 
; [[กูเกิล คิป]] : คิป (Google Keep) ซอฟแวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การจดบันทึก สิ่งต่างๆๆหรือสิ่งสำคัญ ซึ่งเหมือนการเก็บข้อมูลใน สมุด หรือ ไดอารี่
 
=== บริการบนอินเทอร์เน็ต ===
{|class="wikitable sortable"
! width = "120px"| ชื่อ || width = "120px"| ชื่ออังกฤษ || รายละเอียดย่อ || width = "30px"| อ้างอิง
|-
| [[กูเกิล เสิร์ช]] || Google Search || เว็บไซต์[[เสิร์ชเอนจิน]]ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา || [http://www.google.com]
|-
| [[กูเกิล กรุ๊ปส์]] || Google Groups || บริการ[[เว็บบอร์ด]] และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม || [http://groups.google.com]
|-
| [[กูเกิล ค้นหารูปภาพ]] || Google Image Search || บริการค้นหารูปภาพออนไลน์ || [http://images.google.com/]
|-
| [[กูเกิล แคเลนเดอร์]] || Google Calendar || บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย || [http://www.google.com/calendar/]
|-
| [[จีเมล]] || Gmail || บริการ[[อีเมล]] || [http://www.gmail.com]
|-
| [[กูเกิล ไซต์ไกสต์]] || Google Zeitgeist || บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช || [http://www.google.com/press/zeitgeist.html]
|-
| [[กูเกิล ด็อกส์]] || Google Docs || บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง [[เวิร์ด]] [[สเปรดชีต]] [[พรีเซนเตชัน]] ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ <ref>[http://googleblog.blogspot.com/2006/03/writely-so.html Writely So] จากบล็อกกูเกิล</ref> โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550 || [http://docs.google.com/]
|-
| [[กูเกิล ทรานซเลต]] || Google Translate || บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า || [http://translate.google.com/]
|-
| [[บล็อกเกอร์]] || Blogger || บริการเขียน[[บล็อก]] || [http://www.blogger.com]
|-
| [[กูเกิล บล็อกเสิร์ช]] || Blog Search || บริการค้นหาบล็อก || [http://blogsearch.google.com/]
|-
| [[ปีกาซา]] || Picasa || เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา || [http://picasaweb.google.com/]
|-
| [[กูเกิล เพจ]] || Google Page || บริการสร้างเว็บไซต์ || [http://pages.google.com/]
|-
| [[กูเกิล โน้ตบุ๊ก]] || Google Notebok || บริการสมุดบันทึกออนไลน์ || [http://www.google.com/notebook]
|-
| [[กูเกิล แมปส์]] || Google Maps || บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร || [http://maps.google.com/]
|-
| [[ยูทูบ]] || YouTube || บริการแชร์วิดีโอ || [http://www.youtube.com/]
|-
| [[กูเกิล วิดีโอ]] || Google Video || บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์ || [http://video.google.com/]
|-
| [[กูเกิล เว็บมาสเตอร์]] || Google Webmaster || ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์ || [http://www.google.com/webmasters/]
|-
| [[กูเกิล สกอลาร์]] || Google Scholar || บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ || [http://scholar.google.com/]
|-
| [[กูเกิล สกาย]] || Google Sky || ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์ || [http://www.google.com/sky/]
|-
| [[กูเกิล สารบบเว็บ]] || Google Directory || ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก [[ดีมอซ]] || [http://directory.google.com/]
|-
| [[ออร์กัต]] || Orkut || เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ [[ไฮไฟฟ์]] และ[[เฟซบุ้ก]] ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547 || [http://www.orkut.com/]
|-
| [[กูเกิล แอดเซนส์]] || Google AdSense || ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์ ||
|-
| [[กูเกิล แอดเวิรดส์]] || Google AdWords || บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์ || [http://adwords.google.com/]
|-
| [[กูเกิล แอนะลิติกส์]] || Google Analytics || บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน || [http://www.google.com/analytics/]
|-
| [[กูเกิล เพลย์]] || Google Play || บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทาง[[ชื่อโดเมน]]ส่วนตัว โดย[[แอปพลิเคชัน]]ที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน || [https://play.google.com/store]
|-
| [[ไอกูเกิล]] || iGoogle || ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บ[[ฟีด]]และ[[แก็ดเจ็ต]]<!--คำว่า gadget อ่านว่า แก็ดเจ็ต--> จากเว็บอื่นมารวมได้ || [http://www.google.com/ig]
|-
| [[กูเกิลกูรู]] || Google guru || เชิญให้สมาชิก Gmail เข้ามาตั้งคำถามและตอบคำถามได้ โดยมีคะแนนที่ทางกูเกิลให้เมื่อเข้ามาที่กูเกิล สามารถใช้ตั้งคำถามได้ เป็นเวอร์ชันทดลองให้ไปลองใช้กัน พบแต่ในประเทศไทยเท่านั้น (ปัจจุบันปิดใช้งานแล้ว) || [http://guru.google.co.th]
|-
| [[กูเกิล พลัส]] || Google Plus || เครือข่ายสังคมออนไลน์ล่าสุดจากกูเกิล (เปิดตัวในวันที่ 28 มิ.ย. 2554 โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้งานให้ทดลองใช้เฉพาะผู้ที่มี invite หลังจากนั้นวันที่ 20 ก.ย. 2554 ก็เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ใช้งานโดยไม่ต้องมี invite) || [http://plus.google.com/]
|-
| [[กูเกิล มิวสิก]] || Google Music || บริการฟังเพลง-ดาวน์โหลดเพลงออนไลน์จากกูเกิล ในเบื้องต้นเปิดใช้เป็นทางการเฉพาะประเทศ[[สหรัฐอเมริกา]] || [http://music.google.com]
|-
|}
 
โดยบริการที่อยู่ในขั้นทดลอง จะเปิดให้ใช้งานโดยจะมีคำว่า "Beta" อยู่ภายใต้โลโก้นั้นซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ[[กูเกิล แล็บส์]] (Google Labs)
 
=== บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ ===
* Map's for mobile
* Mobile
* SMS
* App Google Play Store
 
=== ระบบปฏิบัติการ ===
; [[แอนดรอยด์]] : แอนดรอยด์ (Android) ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ตโฟนที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
; [[กูเกิล โครมโอเอส]] : โครม โอเอส (Chrome OS) ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่ 2 ราย คือ [[ซัมซุง]]และ[[เอเซอร์]]
; [[กูเกิลทีวี]] : กูเกิลทีวี (Google TV) ระบบปฏิบัติการบนโทรทัศน์รุ่นใหม่ เช่น สมาร์ตทีวี [[แอลอีดี]]ทีวี สามารถใช้บริการ[[อินเทอร์เน็ต]]ผ่านทีวีได้
 
== สำนักงาน ==
กูเกิลมีสำนักงานหลายสาขาทั่วโลก โดยในสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 20 สาขา และที่อื่นทั่วโลกมากกว่า 40 แห่ง กูเกิลสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่[[เมาน์เทนวิว|เมืองเมาน์เทนวิว]]ใน[[รัฐแคลิฟอร์เนีย]] โดยสถานที่ตั้งของสาขาทั้งหมดดังนี้<ref>[http://www.google.com/corporate/address.html ที่ตั้งทั้งหมดของสำนักงานกูเกิล]</ref>
{{บน}}
;สหรัฐอเมริกา
* [[เมาน์เทนวิว]] [[รัฐแคลิฟอร์เนีย]] (สำนักงานใหญ่)
* [[เออร์ไวน์]] [[รัฐแคลิฟอร์เนีย]]
* [[แซนแฟรนซิสโก]] [[รัฐแคลิฟอร์เนีย]]
* [[แซนตามอนิกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย)|แซนตามอนิกา]] [[รัฐแคลิฟอร์เนีย]]
* [[ดีทรอยต์ (มลรัฐมิชิแกน)|ดีทรอยต์]] [[รัฐมิชิแกน]]
* [[แอนน์อาร์เบอร์]] [[รัฐมิชิแกน]]
* [[ออสติน]] [[รัฐเทกซัส]]
* [[แอตแลนตา]] [[รัฐจอร์เจีย]]
* [[เดนเวอร์]] [[รัฐโคโลราโด]]
* [[โบลเดอร์]] [[รัฐโคโลราโด]]
* [[เคมบริดจ์ (มลรัฐแมสซาชูเซตส์)|เคมบริดจ์]] [[รัฐแมสซาชูเซตส์]]
* [[ชิคาโก]] [[รัฐอิลลินอยส์]]
* [[คอปเพลล์]] [[รัฐเทกซัส]]
* [[แดลลัส]] [[รัฐเทกซัส]]
* [[เคิร์กแลนด์]] [[รัฐวอชิงตัน]]
* [[ซีแอตเทิล]] [[รัฐวอชิงตัน]]
* [[นิวยอร์กซิตี|นิวยอร์ก]] [[รัฐนิวยอร์ก]]
* [[ฟินิกซ์ (มลรัฐแอริโซนา)|ฟินิกซ์]] [[รัฐแอริโซนา]]
* [[พิตต์สเบิร์ก]] [[รัฐเพนซิลเวเนีย]]
* [[วอชิงตัน ดี.ซี.]]
 
; อเมริกาเหนือ
* [[แคนาดา]]
; อเมริกาใต้
* [[บราซิล]]
* [[เม็กซิโก]]
 
; ออสเตรเลีย
* [[ออสเตรเลีย]]
 
{{กลาง}}
; เอเชีย
* [[จีน]]
* [[อินเดีย]]
* [[ฮ่องกง]]
* [[ญี่ปุ่น]] ([[โตเกียว]] [[โอซะกะ]])
* [[เกาหลีใต้]]
* [[สิงคโปร์]]
* [[ไต้หวัน]]
* [[ตุรกี]]
* [[ไทย]]
* [[สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์]]
 
; ยุโรป
* [[เดนมาร์ก]]
* [[ฟินแลนด์]]
* [[ฝรั่งเศส]]
* [[เยอรมนี]]
* [[ไอร์แลนด์]]
* [[อิตาลี]]
* [[เนเธอร์แลนด์]]
* [[นอร์เวย์]]
* [[โปแลนด์]]
* [[รัสเซีย]]
* [[สเปน]]
* [[สวีเดน]]
* [[สวิตเซอร์แลนด์]]
* [[สหราชอาณาจักร]] ([[ลอนดอน]] [[แมนเชสเตอร์]])
 
{{ล่าง}}
 
== ความขัดแย้งในกฎและสิทธิ ==
การเติบโตของกูเกิลในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และการบริการ ก่อให้เกิดความขัดแย้งและการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้ง ตัวอย่างเช่น[[การละเมิดลิขสิทธิ์]]ของผู้เขียนหนังสือ จากการให้บริการค้นหาหนังสือผ่าน [[กูเกิล บุ๊กเสิร์ช]] ที่มีการนำข้อมูลจากหนังสือมาสแกนเพื่อให้ผู้ใช้งานค้นคว้าง่ายขึ้น<ref>{{cite web|title=A New Chapter|url=http://www.economist.com/business/displaystory.cfm?story_id=12523914|publisher=The Economist|date=30 ตุลาคม 2551|accessdate=2008-11-07}}</ref> เช่นเดียวกับการค้นหาภาพผ่าน [[กูเกิล ค้นหารูปภาพ]] นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์ที่กูเกิลได้ทำ[[การเซ็นเซอร์]]ข้อมูลในการค้นหาบางส่วน เช่นกูเกิลได้ยอมให้ใน[[ประเทศจีน]] ที่ทางรัฐบาลไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานกูเกิลจีนค้นหาข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลเกี่ยวกับ [[การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532|การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน]] และเช่นเดียวกันในการเซ็นเซอร์ของเยอรมนีและฝรั่งเศสเกี่ยวกับ[[การล้างชาติพันธุ์โดยนาซี]]
 
ในด้าน[[การละเมิดข้อมูลส่วนตัว]]นั้นกูเกิลถูกวิจารณ์ว่าได้เก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ[[คุกกี้ (อินเทอร์เน็ต)|คุกกี้]] เป็นระยะเวลานานกว่าเว็บไซต์อื่น โดยทางกูเกิลเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 18 เดือน ขณะที่ทาง[[ยาฮู!]]และ[[เอโอแอล]]เก็บข้อมูลเป็นเวลา 13 เดือน<ref>{{cite news|author=Liedtke, Michael|title=Ask.com will purge search info in hours|url=http://www.journalgazette.net/apps/pbcs.dll/article?AID=/20071211/BIZ/712110335|work=Journal Gazette|publisher=Fort Wayne Newspapers|date=11 ธันวาคม พ.ศ. 2550|accessdate=2007-12-11}}</ref> ทางด้านข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ที่แสดงผลผ่าน [[กูเกิล เอิร์ธ]] และ[[กูเกิล แมปส์]] ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยความมั่นคงของหลายประเทศ ในด้านความเป็นส่วนตัว และการล้วงความลับทางการเมือง รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถดูสถานที่สำคัญโดยไม่มีการเซ็นเซอร์ เช่น [[พระราชวัง]] ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในด้านการจารกรรมและปัญหาการก่อการร้ายได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเปิดให้ดูได้มานานก่อนหน้าที่กูเกิลจะออกซอฟต์แวร์ก็ตาม
 
ในด้านการโฆษณาผ่านกูเกิล ได้มีการวิจารณ์ในระบบการโฆษณาที่ไม่มีประสิทธิภาพเต็มความสามารถ ซึ่งทางเจ้าของเว็บไซต์ที่ติดตั้งโฆษณาพยายามโกงโดยการกดโฆษณาเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเอง ทำให้ผู้ลงโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นซึ่งมีรายงานว่า 14-20 เปอร์เซนต์ เป็นการกดโดยตั้งใจเพื่อทำรายได้ให้กับเจ้าของเว็บ<ref>Mills, Elinor. "[http://archive.is/20120714035458/http://news.com.com/Google+to+offer+advertisers+click+fraud+stats/2100-1024_3-6098469.html Google to offer advertisers click fraud stats]." ''[http://www.cnet.com/ c net].'' 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549. เรียกดู 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549.</ref> นอกจากนี้กูเกิลยังโดนกล่าวถึงในเรื่องของการกีดกันโอกาสของคนต่างเพศและคนสูงอายุจากอดีตพนักงานที่โดนเชิญให้ออก<ref>Kawamoto, Dawn. "[http://archive.is/20120711182240/http://news.com.com/Google+hit+with+job+discrimination+lawsuit/2100-1030_3-5807158.html?tag=nl Google hit with job discrimination lawsuit]." ''[http://www.news.com/ c|net news.com].'' 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548.</ref><ref> [http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNews/20071006/google_old_071006/20071006 CTV.ca | Google accused of ageism in reinstated lawsuit]</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Google|กูเกิล}}
* [http://www.google.com/ เว็บไซต์กูเกิลอย่างเป็นทางการ]
* [http://www.google.co.th/ เว็บไซต์กูเกิลประเทศไทย]
 
=== หนังสืออ่านเพิ่ม ===
* เรื่องราวของกูเกิล, หนังสือแปลจาก The Google Story ของ เดวิด เอ. ไวส์ และ มาร์ก มัลซีด แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท. ISBN 974-9754-52-2
 
{{บริษัทกูเกิล}}
{{แอลฟาเบต}}
{{บริษัทไอทีขนาดใหญ่}}
 
[[หมวดหมู่:กูเกิล|กูเกิล]]
[[หมวดหมู่:บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แฟรงเฟิร์ต]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กูเกิล"