ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ฟิสิกส์ของสี: เคาะวรรค
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ฟิสิกส์ของสี: เคาะวรรค
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 202:
ซึ่งมีทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ และไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แต่ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ ก็กล่าวเฉพาะเรื่องราวที่เป็นทางวิทยาศาสตร์ และเน้นไปที่มิติของฟิสิกส์เท่านั้น
เริ่มต้นจากสมัยของนิวตัน (Newton) ในศตวรรษที่ 17 ที่ความเข้าใจเรื่องสีเป็นไปในอีกลักษณะหนึ่ง โดยเข้าใจว่าสีขาวคือ สีบริสุทธิ์ ส่วนสีอื่น ๆเป็นการแปลงร่างของสีขาว
ในตอนนั้นเรารับรู้กันแล้วว่าเมื่อผ่านแสงแดดไปยังแท่งแก้วสามเหลี่ยมที่เรียกว่าปริซึม (prism) จะทำให้เกิดแสงสีต่าง ๆ ได้ นิวตันเองได้ทำการทดลองเรื่องนี้
การทดลองของนิวตันได้เผยให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว "แสงขาว" (แสงที่มากระทบฉากขาวแล้วเกิดเป็นสีขาว) ไม่ใช่สีเดี่ยวหรืออีกนัยหนึ่งก็คือไม่ใช่สีบริสุทธิ์
เพราะเฉดสีของแสงต่าง ๆที่หักเหออกจากปริซึมนั้นแยกเป็นสีต่าง ๆ คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เหมือนที่เห็นในแถบสีของรุ้งกินน้ำ
นิวตันทำการทดลองนำปริซึมมาอีกอันหนึ่งแล้วทำการผ่านแสงบางส่วน ที่มีจำนวนสีน้อยลงมาผ่านปริซึมอีกครั้ง
ซึ่งครั้งนี้นิวตันได้สังเกตเห็นสีที่มีแถบสีที่ใกล้เคียงกันจำนวนน้อยลงหากพูดกันด้วยภาษาแบบฟิสิกส์ก็คือ สีที่หักเหได้ในครั้งที่สองนี้มีลักษณะเป็นแสงเดี่ยว (monochromatic) มากขึ้น
ความเข้าใจเกี่ยวกับสีต่างๆต่าง ๆ ที่รวมเป็นแสงขาวนี่เองที่นิวตันนำมาอธิบายการมองเห็นเนื้อสี (hue) ว่าการที่เราเห็นสีต่างๆต่าง ๆจากวัตถุได้นั้นเกิดจากการที่วัตถุนั้นสะท้อนหรือดูดกลืนสีต่างๆต่าง ๆ
ได้แตกต่างกัน เรามองเห็นวัตถุสีเหลืองก็เพราะว่าวัตถุนั้นสะท้อนสีเหลืองได้มากกว่าสีอื่นๆอื่น ๆ นั่นเอง นิวตันได้แสดงให้เห็นด้วยว่าถ้าเอาแสงสีต่างๆต่าง ๆ เหล่านี้มาผสมกัน
ก็จะทำให้เกิดเป็นสีอื่นๆอื่น ๆได้เช่น ถ้าเอาแสงสีแดงมาผสมกับแสงสีเหลืองบนฉากสีขาวเราจะมองเห็นเป็นสีส้ม และถ้าเอาแสงสีทั้งหมดมาผสมกันมันก็จะได้สีขาวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
เรียกว่าความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องแสงสี(color)และเนื้อสีของวัตถุ(hue) นั้นมีมากขึ้นจากคำอธิบายของนิวตันถึงแม้จะมีบางข้อสรุปที่มีข้อผิดพลาดอยู่บ้างเช่น
นิวตันคิดว่าจะต้องมีสีมากกว่า 2 แสงสี มาผสมกันจึงจะทำให้เกิดเป็นแสงสีขาวได้ แต่ฮอยเกนส์ก็ได้แสดงให้เห็นว่าคู่สีบางคู่ก็สามารถทำให้เกิดแสงสีขาวได้
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สี"