ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patsagorn Y. (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 17:
}}
 
'''โขน'''ขน เป็น[[ศิลปะ]]การแสดงชั้นสูงของ[[ไทย]]ที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบ[[ละครใน]] แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่ม[[นักแสดง|ตัวแสดง]] เปลี่ยน[[ทำนองเพลง]]ที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับ[[ละคร]] แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน<ref>[http://www.thaifolk.com/Doc/perform2.htm ความเหมือนและความแตกต่างของโขนและละครใน]</ref> มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]<ref>[http://personal.swu.ac.th/students/fa471010166/khon1.htm ประวัติและความเป็นมาของโขนในสมัยกรุงศรีอยุธยา]</ref> จากหลักฐาน[[จดหมายเหตุลาลูแบร์]] [[เอกอัครราชทูต]][[ฝรั่งเศส]]ในสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียง[[ซอ]]และ[[เครื่องดนตรี]]ประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวม[[หน้ากาก]]ปิดบังใบหน้าตนเองและถือ[[อาวุธ]]<ref name="ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของ[[ชาวไทย|ชาวสยาม]]">ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของ[[ชาวไทย|ชาวสยาม]], มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย : มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย : สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157</ref>
 
โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น [[วรรณกรรม]] วรรณศิลป์ [[นาฏศิลป์]] คีตศิลป์ หัตถศิลป์<ref name="คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย">คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, [[มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]], ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]</ref> โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่น[[ชักนาคดึกดำบรรพ์]]<ref>[http://personal.swu.ac.th/students/fa471010255/knone1.html กำเนิดโขน]</ref> มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการ[[ไหว้ครู]]ของ[[กระบี่กระบอง]] รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และ[[เพลง]][[ดนตรี]]เข้ามาประกอบการแสดง<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/index.html รอบรู้เรื่องโขน]</ref> ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวม[[หัวโขน]] ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่[[ศีรษะ]]ถึง[[คอ]] เจาะรูสองรูบริเวณ[[ดวงตา]]ให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น [[ยักษ์|ตัวยักษ์]] [[ลิง|ตัวลิง]] [[เทวดา|ตัวเทวดา]] ฯลฯ ตกแต่งด้วย[[สี]] ลงรักปิด[[ทอง]] ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โขน"