ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Đông Minh (คุย | ส่วนร่วม)
fixed one cite error
Đông Minh (คุย | ส่วนร่วม)
fixed one cite error
บรรทัด 5:
แบบจำลองดังกล่าวมานี้ถือเป็นแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วไป เรียกชื่อว่า [[สมมติฐานเนบิวลา]] มีการพัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดย[[เอมมานูเอล สวีเดนบอร์ก]] [[อิมมานูเอล คานท์]] และ[[ปีแยร์-ซีมง ลาปลัส]] การวิวัฒนาการในลำดับถัดมาเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายแขนง เช่น [[ดาราศาสตร์]] [[ฟิสิกส์]] [[ธรณีวิทยา]] [[วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์]] นับแต่ยุคเริ่มต้นของ[[การสำรวจอวกาศ]]ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และการค้นพบ[[ดาวเคราะห์นอกระบบ]]ในคริสต์ทศวรรษ 1990 แบบจำลองนี้ได้ถูกท้าทายและผ่านการปรับแต่งมาอีกหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการค้นพบใหม่ๆ
 
ระบบสุริยะได้เริ่มวิวัฒนาการอย่างมากนับตั้งแต่มันเริ่มกำเนิดขึ้น ดาวบริวารหลายดวงกำเนิดขึ้นจากจานของแก๊สและฝุ่นรอบๆดาวเคราะห์แม่ของมัน ขณะที่มีดาวบริวารบางดวงที่เกิดในบริเวณอื่น แล้วถูกดึงดูดให้กลายเป็นดาวบริวารในภายหลัง นอกจากนั้น เช่น [[ดวงจันทร์]] ซึ่งอาจจะกำเนิดหลังจาก[[สมมติฐานการชนครั้งใหญ่|การปะทะครั้งใหญ่]] การปะทะระหว่างวัตถุสองวัตถุ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเคยเป็นหัวใจสำคัญของการวิวัฒนาการของระบบสุริยะ ตำแหน่งของดาวเคราะห์มักจะเลื่อนจากตำแหน่งเดิม เนื่องด้วยแรงโน้มถ่วง<ref name="Gomes">{{cite journal | url = http://www.nature.com/nature/journal/v435/n7041/pdf/nature03676.pdf | title=Origin of the cataclysmic Late Heavy Bombardment period of the terrestrial planets |author1=Gomes, R. |author2=Levison, Harold F. |author3=Tsiganis, K. |author4=Morbidelli, Alessandro | journal=Nature |year=2005 | volume=435 | pages=466–9 | doi=10.1038/nature03676|format=PDF | pmid=15917802 | issue=7041|bibcode = 2005Natur.435..466G }}</ref> [[การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์]]นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นมากขณะในช่วงต้นของการวิวัฒนาการ
 
ในช่วงประมาณ 5 พันล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะเย็นลง และผิวนอกจะขยายตัวออกไปหลายเท่าจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม (กลายเป็น[[ดาวยักษ์แดง]]) หลังจากนั้นดาวยักษ์แดงก็จะสลายผิวนอกกลายเป็น[[เนบิวลาดาวเคราะห์]] และเหลือแกนกลางไว้ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็น [[ดาวแคระขาว]] ในอนาคตอันไกลโพ้น ความโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์จะลดลง ดาวเคราะห์บางดวงอาจจะถูกทำลาย บางส่วนอาจจะหลุดออกไปสู่[[อวกาศระหว่างดวงดาว]] ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงประมาณ[[เส้นเวลาของอนาคตไกล|หมื่นล้านปี]]ข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นดาวฤกษ์ที่ไม่มีวัตถุใดโคจรรอบๆเลย<ref name=dyson />