ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดร้อยเอ็ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 37:
 
== ชื่อ ==
เคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปรากฏชื่อใน[[ตำนานอุรังคธาตุ]]ว่า ''สาเกตนคร'' หรือ ''เมืองร้อยเอ็ดประตู'' อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มี[[เมืองขึ้น]]จำนวนมาก การตั้งชื่อเมืองว่า "ร้อยเอ็จประตูร้อยเอ็ดประตู" นั้น น่าจะเป็นการตั้งชื่อเชิงอุปมาอุปไมยให้เป็นศิริมงคลและแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของเมืองมากกว่าการที่เมืองจะมีประตูเมืองอยู่จริงถึงร้อยเอ็ดประตู ซึ่งการตั้งชื่อเพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองผ่านการมีประตูเมืองจำนวนมากนั้น น่าจะได้รับอิทธิพลหรือแบบอย่างมาจากเมืองหรืออาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองในสมัยโบราณอย่าง[[ทวารวดี]]ซึ่งมีความหมายว่าเมืองที่มีประตูล้อมรอบเป็นกำแพง หรืออย่างเมือง[[หงสาวดี]]ที่มีประตูเมืองรายล้อมกำแพงเมืองอยู่ยี่สิบประตู ซึ่งแต่ละประตูนั้นจะตั้งชื่อตามเมืองขึ้นของตน เช่น เชียงใหม่ อโยธยา [[จังหวัดนครราชสีมา]] เป็นต้น นอกจากนั้นการตั้งชื่อเมืองให้ดูยิ่งใหญ่เกินจริงเพื่อความเป็นสิริมงคลก็ถือเป็นธรรมดาของการตั้งชื่อเมืองหรืออาณาจักรในสมัยโบราณ
 
ส่วนข้อสันนิษฐานที่ว่าเมืองร้อยเอ็ดน่าจะมีเพียงสิบเอ็ดหัวเมือง อันเนื่องมาจากการเขียนจำนวนตามแบบภาษาลาวโบราณ โดยเลขสิบเอ็ดจะประกอบไปด้วยเลขสิบกับเลขหนึ่ง (10+1 =101) ทำให้เกิดการอ่านที่ผิดเพี้ยนเป็นคำว่าร้อยเอ็ดนั้น น่าจะเป็นสมมุติฐานที่คลาดเคลื่อน เพราะจากการตรวจสอบข้อความตัวอักษรธรรมในต้นฉบับใบลานเรื่องอุรังคธาตุไม่ปรากฏว่ามีจุดไหนที่เขียนชื่อเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวเลข แต่กลับมีการเขียนถึงเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวอักษรทุกจุด (มีทั้งหมด 59 จุด) และไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายแจกแจงรายชื่อหัวเมืองทั้ง 11 แห่ง (อ่านเพิ่มเติมที่ ร้อยเอ็ด คือ ร้อยเอ็ด มิใช่สิบเอ็ด หรือ 10 + 1 โดย สุวัฒน์ ลีขจร) [http://docs.google.com/fileview?id=0B0Y1AQooa5pCMDMzZGYwZTQtYmEwYy00YWE0LTkzNmQtZTgzNjM3ZjhkMTRh&hl=th]
บรรทัด 58:
 
=== สมัยอาณาจักรล้านช้าง ===
ได้ปรากฏชื่อเมืองร้อยเอ็ดในเอกสารของลาวว่า [[พระเจ้าฟ้างุ้ม]]เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นบุตรเขยเมืองขอมขิอม ได้นำไพร่พลมารวมกำลังกันอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ด ก่อนยกกำลังไปยึดเมืองเชียงทอง ([[หลวงพระบาง]]) ได้สำเร็จแล้วจึงได้สถาปนา[[อาณาจักรล้านช้าง]]
 
หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาดหายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี [[พ.ศ. 2231]] เมือง[[เวียงจันทน์]]เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ดพร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คนได้เชิญ[[เจ้าหน่อกษัตริย์]]อพยพลงมาตาม[[แม่น้ำโขง]] แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมือง[[จำปาศักดิ์]] ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า [[เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร]] ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น