ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับสัตว์ฟันแทะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kannajaja (คุย | ส่วนร่วม)
Kannajaja (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 123:
===กลยุทธ์การผสมพันธุ์===
[[ไฟล์:Xerus inauris anagoria.JPG|thumb|left|กระรอกดินเคปเป็นตัวอย่างของสัตว์ฟันแทะที่มีพฤติกรรม[[ความสำส่อน]]]]
สัตว์ฟันแทะบางชนิดมีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ[[ผัวเดียวเมียเดียว]] ซึ่งมีสองรูปแบบหลัก โดยในรูปแบบแรก (obligate monogamy) ทั้งพ่อและแม่จะดูแลลูกและมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ของลูก พฤติกรรมนี้มีประโยชน์เนื่องจากตัวผู้ลดโอกาสในการที่ไม่เจอคู่ผสมพันธุ์ตัวใหม่หรือผสมพันธุ์กับตัวเมียที่เป็นหมัน สัตว์อันดับฟันแทะที่ใช้รูปแบบนี้คือ [[หนูแคลิฟอร์เนีย]] (California mouse) [[หนูโอลด์ฟิลด์]] (Oldfield mouse) [[หนูยักษ์มาลากาซี]] (Malagasy giant rat) และ[[บีเวอร์]] ในขณะที่รูปแบบที่สอง (facultative monogamy)
ตัวผู้ไม่สามารถดูแลลูกและจะอยู่กับตัวเมียเพียงตัวเดียวเพราะไม่สามารถหาตัวเมียใหม่ได้เนื่องจากการอยู่อย่างกระจัดกระจาย ตัวอย่างของสัตว์ฟันแทะที่ใช้รูปแบบนี้คือ[[หนูนาแพรรี]] (Prairie vole) โดยที่ตัวผู้จะอยู่ในบริเวณรังและมีหน้าที่ป้องกันตัวเมียและลูกจากผู้ล่า<ref name=Waterman>{{cite book|author=Waterman, Jane|year=2008|contribution=Chapter 3: Male Mating Strategies in Rodents|editor1=Wolff, Jerry O. |editor2=Sherman, Paul W. |title=Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective|publisher=University of Chicago Press|pages=28–39|isbn=978-0-226-90538-9}}</ref>
 
สัตว์ฟันแทะชนิดอื่นมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์แบบ[[ผัวเดียวหลายเมีย]] โดยตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว พฤติกรรมนี้แบ่งออกเป็นสองชนิดหลัก โดยชนิดแรกตัวผู้จะครอบครองอาณาเขตที่มีทรัพยากรมากเพื่อดึงดูดตัวเมีย สัตว์กลุ่มที่มีพฤติกรรมลักษณะแรกได้แก่ [[มาร์มอตท้องเหลือง]] (Yellow-bellied marmot) [[กระรอกดินแคลิฟอร์เนีย]] (California ground squirrel) [[กระรอกดินโคลัมเบีย]] (Columbian ground squirrel) [[กระรอกดินริชาร์ดสัน]] (Richardson's ground squirrel) ตัวผู้ที่ปกครองอาณาเขตนั้นถือว่าเป็น “พ่อบ้าน” ในขณะที่ตัวเมียที่อาศัยในอาณาเขตนั้นถือว่าเป็น “แม่บ้าน” ในกรณีของ[[มาร์มอต]] ตัวผู้ที่เป็นพ่อบ้านจะสู้เพื่ออาณาเขตของตัวเองและชนะผู้บุกรุกตัวผู้เป็นบ่อยครั้ง สัตว์ฟันแทะบางชนิดปกป้องตัวเมียที่เป็นแม่บ้านโดยตรงและการต่อสู้อาจจะก่อความบาดเจ็บสาหัสแก่ทั้งสองฝั่ง ในขณะที่พฤติกรรมแบบที่สอง ตัวผู้จะไม่อยู่เป็นหลักเป็นฐานแต่จะเดินเรื่อย ๆ เพื่อหาตัวเมียที่จะครองครอง ตัวผู้เหล่านี้มีลำดับชั้นทางสังคม โดยที่ตัวผู้ที่มีลำดับชั้นสูงจะมีโอกาสเข้าถึงตัวเมียมากกว่าตัวผู้ที่มีลำดับชั้นต่ำ พฤติกรรมเกิดขึ้นในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่น [[กระรอกดินเบลดิง]] (Belding's ground squirrel) และกระรอกต้นไม้บางชนิด<ref name=Waterman/>