ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 8:
สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ยกฐานะมาจากสถานกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร ซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สมัยเปิดสัมพันธ์ทางทูตและการค้ากับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 การคมนาคมติดต่อกับสถานทูต เดิมใช้ทางแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมีการตัดถนนเจริญกรุง จึงสามารถเข้าทางถนนได้อีกทางหนึ่ง ตามประวัติศาสตร์แล้วรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ซื้อที่ดินเพื่อทำสถานกงสุลอังกฤษจากชาวมอญและพม่า ในราคาตารางวาละ 1 บาท พร้อมพระราชทานเสาธงไม้ให้สถานกุงสุลอีกด้วย
 
พ.ศ. 2435 เสาธงที่ได้รับพระราชทานถูกพายุหักโค้นโค่น สถานกงสุลจึงสั่งนำเข้าเสาธงเหล็กในราคา 500 ปอนด์ จากฮ่องกงเข้ามาเปลี่ยนแทน
 
ต่อมาได้มีการก่อสร้างโรงสีจำนวน 2 โรงขึ้นอีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ตรงข้ามกับสถานกงสุลอังกฤษ โรงสีได้ปล่อยควันมีขี้ฝุ่นและเสียงหวูดโรงสีไฟเปิดดังหนวกหู ซึ่งสร้างปัญหามลภาวะในการทำงานและการพักอาศัยให้กับบุคลากรของสถานกงสุลอังกฤษเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในยามค่ำคืน ยังมีเสียงดนตรีและเสียงกลองดังลั่นจากร้านเหล้า รวมถึงยังมีคนเมาอาละวาดอยู่หน้าอนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเลีย ริมถนนเจริญกรุงฝั่งตรงข้ามกับสถานทูตอีกด้วย ท่านกงสุลจึงดำริที่ต้องการจะย้ายสถานที่ตั้งสถานกงสุลใหม่ ซึ่งประจวบกับขณะนั้น [[พระยาภักดีนรเศรษฐ]] หรือ นายเลิศ มีที่ดินจำนวนมากต้องการพัฒนาพื้นที่ย่านเพลินจิตริมคลองแสนแสบของตน จึงนำมาเสนอขายให้กับสถานกงสุลอังกฤษ โดยมีเงื่อนไข[[พระยาภักดีนรเศรษฐ]] ขอรับซื้อพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างของสถานกงสุลอังกฤษเดิมทั้งหมดด้วย เมื่อสถานกงสุลพิจารณาแล้วเห็นชอบจึงรับข้อเสนอและก่อสร้างอาคารสถานกงสุลใหม่ในที่ดินของนายเลิศ