ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลัยมานผู้เกรียงไกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 108:
สุลต่านสุลัยมานทรงมีบทบาทสำคัญในการปกป้องข้าแผ่นดินที่เป็น[[ชาวยิว]]ในจักรวรรดิเป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปลายปี [[ค.ศ. 1553]] หรือปี [[ค.ศ. 1554]] จากการถวายการแนะนำโดย[[โมเสส ฮามอน]] (Moses Hamon) ผู้เป็นนายแพทย์ชาวยิวประจำพระองค์สุลต่านสุลัยมานก็ทรงออก “[[พระราชกฤษฎีกาเฟอร์มัน]]” ที่ประณาม[[การหมิ่นประมาทเรื่องเลือด]]ซึ่งเป็นกล่าวหาเท็จอย่างเป็นทางการ<ref>Mansel, 124</ref>
 
นอกจากนั้นสุลต่านสุลัยมานก็ยังทรงออกกฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับตำรวจใหม่ที่ระบุการปรับสำหรับข้อหาต่างๆต่าง ๆ ที่ระบุ รวมทั้งลดจำนวนข้อหาที่มีบทลงโทษโดยการประหารชีวิต หรือการตัดชิ้นส่วนของร่างกายของผู้ทำความผิด ในด้านภาษีอากรพระองค์ก็ทรงระบุการเก็บภาษีอากรของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์, เหมือง, กำไรจากการค้าขาย และภาษีขาเข้า-ขาออก และถ้านายภาษีทำไม่ถูกไม่ควร ที่ดินและทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ก็จะถูกยึดเป็นของหลวง
 
ในด้านการศึกษาก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่เป็นที่สนพระทัยของสุลต่าน จักรวรรดิออตโตมันมีระบบการศึกษาที่ประกอบด้วยสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับมัสยิดและบริหารโดยสถาบันศาสนา สถานศึกษาเหล่านี้เป็นแหล่งให้การศึกษาโดยไม่เสียเงินแก่เด็กชาวมุสลิม ซึ่งที่เป็นสิ่งที่ก้าวหน้ากว่าระบบการศึกษาของเด็กผู้นับถือคริสต์ศาสนาในประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน<ref name=kinross211>Kinross, 211</ref> ในเมืองหลวงสุลต่านสุลัยมานก็ทรงเพิ่มจำนวน “mektebs” หรือโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นเป็นสิบสี่โรงเรียนที่สอนให้เด็กหัดอ่าน เขียน และเรียนรู้เกี่ยวกับหลักเบื้องต้นของ[[ศาสนาอิสลาม]] ผู้ที่ประสงค์จะศึกษาต่อก็สามารถเข้า “[[มาดราซาห์]]” (Madrasah) หรือวิทยาลัยหนึ่งในแปดวิทยาลัยที่ให้การศึกษาทางด้านไวยากรณ์ [[อภิปรัชญา]] [[ปรัชญา]] [[ดาราศาสตร์]] และ[[โหราศาสตร์]]<ref name=kinross211 /> วิทยาลัยชั้นสูงให้การศึกษาเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัย ผู้จบการศึกษาก็กลายเป็น “อิหม่าม” หรือครู ศูนย์กลางการศึกษาก็มักจะเป็นสิ่งก่อสร้างรอบๆ ลานมัสยิดซึ่งประกอบด้วยห้องสมุด, ห้องอาหาร, น้ำพุ, โรงซุป และสถานพยาบาลสำหรับสาธารณชน