ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลัยมานผู้เกรียงไกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ลบป้าย ค.ศ.
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ทรงพระเยาว์: เคาะวรรค
บรรทัด 56:
 
== ทรงพระเยาว์ ==
สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพที่ทราบซอนริมฝั่ง[[ทะเลดำ]]ใน[[ประเทศตุรกี]] เมื่อวันที่ [[6 พฤศจิกายน]] [[ค.ศ. 1494]]<ref>Clot, 25.</ref> เมื่อพระชนมายุได้ 7 พรรษาพระองค์ก็ทรงถูกส่งตัวไปศึกษา[[วิทยาศาสตร์]] [[ประวัติศาสตร์]] [[วรรณคดี]] [[เทววิทยา]] และยุทธวิธีทางทหารที่โรงเรียนใน[[พระราชวังโทพคาปิ]]ในกรุง[[อิสตันบูล]] เมื่อยังหนุ่มทรงทำความรู้จักกับ[[ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชา]] ทาสผู้ต่อมากลายมาเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญที่ทรงไว้วางใจที่สุด<ref>Hope, [http://www.ccds.charlotte.nc.us/History/MidEast/save/hope/hope.html Suleiman The Magnificent]</ref> ตั้งแต่พระชนมายุได้ 17 พรรษา สุลัยมานทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองคาฟฟา (ทีโอโดเซีย) ต่อมาเมืองซารุคาน (มานิซา, ตุรกี) และ เมืองเอเดิร์น (เอเดรียโนโพล) อยู่ระยะหนึ่ง<ref>Clot, 28.</ref> เมื่อ[[สุลต่านเซลิมที่ 1]] พระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี [[ค.ศ. 1520]] สุลัยมานก็เสด็จกลับมาอิสตันบุลและขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นสุลต่านองค์ที่ 10 บาร์โทโลมิโอ คอนทารินิราชทูตจาก[[สาธารณรัฐเวนิส]]บรรยายสุลต่านสุลัยมานสองสามอาทิตย์หลังจากขึ้นครองราชย์ว่าทรงเป็นผู้ “มีพระชนมายุ 25 พรรษา พระสรีระสูงแต่ก้องแก้ง และพระฉวีบาง พระศอยาวไปเล็กน้อย พระพักตร์แหลม พระนาสิกแคบยาว มีพระมัสสุบาง ๆ และมีพระเคราเล็กน้อย แต่กระนั้นก็มีพระลักษณะที่น่าดูแม้ว่าพระฉวีจะออกซีดขาว ทรงมีชื่อว่าเป็นผู้มีความปรีชาสามารถ โปรดการศึกษาเล่าเรียน และทุกคนต่างก็ตั้งความหวังกันว่าจะทรงเป็นประมุขผู้มีคุณธรรมในการปกครอง”<ref>Kinross, 175.</ref> นักประวัติศาสตร์บางท่านอ้างว่าเมื่อสุลต่านสุลัยมานยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงชื่นชอบในความเป็นวีรบุรุษของพระเจ้า[[อเล็กซานเดอร์มหาราช]]<ref>Lamb, 14.</ref><ref>Barber, 23.</ref> และทรงได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับความคิดในการขยาย[[จักรวรรดิ]]ทั้งตะวันออกและตะวันตก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พระองค์เสด็จนำทัพไปยังดินแดนต่างๆต่าง ๆ ในการขยายจักรวรรดิออตโตมันออกไปทั้งใน[[ทวีปเอเชีย]] [[ทวีปแอฟริกา]] และ[[ทวีปยุโรป]]
 
== การสงครามและการขยายดินแดน ==