ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระแก้วดอนเต้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Preechajaihan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เคาะวรรค
บรรทัด 14:
|footnote =
}}
'''พระแก้วดอนเต้า''' เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของไทยเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ วัสดุหยกสีเขียวเข้มขนาดหน้าตัก 6.5 นิ้ว สูง 8 นิ้ว ฐานสูง ๑๗17.๗๕75 นิ้ว ฐานกว้างตอนบน 7.๗๕75 นิ้ว ฐานกว้างตอนล่าง ๑๐10.๗๕75 นิ้ว [[ศิลปะแบบเชียงแสน]]ตอนปลาย นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ[[จังหวัดลำปาง]] ประดิษฐานอยู่ในกุฏิพระแก้ว วัดพระธาตุลำปางหลวง
พระแก้วดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระแก้วที่สวยงามมากองค์หนึ่ง เป็นพระศิลปะเชียงแสนสิงห์สาม ปลายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี (สะดือ) พระพักตร์เป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ พระเกศเป็นต่อม พระกรรณยาวสยายปลายโค้งบานออก องค์พระประทับนั่งสมาธิราบมือประสานบนตัก
==ประวัติ==
เล่าเป็นตำนานว่า [[สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า]]ตรัสพยากรณ์ไว้ เมื่อทรงดับขันธ์ปรินิพพานล่วงมาแล้ว ๑,๐๐๐ ปี จะมีผู้มีบุญจากดาวดึงส์ลงมาจุติและได้บวชเป็นพระเถระ การณ์เป็นดังคำพยากรณ์ พระมหาเถระนั้นดำริสร้างพระพุทธรูป แต่ยังไม่ปลงใจเลือกวัสดุใด พญานาคในลำน้ำวังจึงนำแก้วมรกต(หรือ "แก้วกายสิทธิ์")ใส่ในหมากเต้า คือ แตงโมในไร่ของนางสุชาดาผู้อุปัฏฐาก นางสุชาดาเก็บแตงโมไปถวายพระมหาเถระเมื่อผ่าออกพบก้อนมรกตจึงนำมาจะแกะสลักเป็นพระพุทธรูป ก็พยายามแกะพระพุทธรูปขึ้น แต่ก็แกะไม่สำเร็จเพราะเนื้อแข็งมาก จนกระทั่งมีตาปะขาวซึ่งเป็นเทวดาปลอมตัวมาอาสาแกะพระให้ เมื่อแกะเสร็จตาปะขาวก็หายไป ครั้นเมื่อพระมหาเถรและนางสุชาดาทำการสมโภชแล้วก็ถวายพระนามพระพุทธรูปแก้วมรกตองค์นั้นว่า "พระแก้วดอนเต้า"