ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 183.88.178.71 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 223.204.83.59
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
| รัชกาลถัดมา = [[พระเจ้าอินทวิชยานนท์]]
}}
'''พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์''' เป็น[[รายพระนามเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่|เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่]] องค์ที่ 6 แห่ง[[ราชวงศ์ทิพย์จักร]]<ref>รุ่งพงษ์ ชัยนาม. '''ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา'''. [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]]</ref> ด้วยพระนิสัยที่เด็ดขาดเป็นที่เคารพยำเกรงในหมู่ข้าราชบริพารและพสกนิกร เมื่อทรงพิจารณาตัดสินว่าคดีความใดแล้ว หากทรงเอ่ยว่า "อ้าว" เมื่อใด หมายถึงการต้องโทษตัดศีรษะประหารชีวิต จนประชาชนทั่วไปต่างถวายพระสมัญญาว่า "เจ้าชีวิตอ้าว"<ref name="อดีตลานนา">บุญเสริม ศาสตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520) '''อดีตลานนา''' กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์</ref> ในแง่พฤติการณ์แล้ว พระองค์ถือเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ทรงอำนาจมากที่สุดในบรรดาทุกองค์
 
== พระประวัติ ==
บรรทัด 41:
{{เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร}}
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงปกครองนครเชียงใหม่ และทำนุบำรุงศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังทรงจัดสร้างระฆังชุดใหญ่ น้ำหนัดทองเท่ากับ 2,095,600 ตำลึง ถวายแด่[[วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร]] ในปี พ.ศ. 2403 และเป็นผู้จัดตั้งข้อบัญญัติสำหรับการพิจารณาพิพากษาคดีความ ณ เค้าสนามหลวง<ref name="อดีตลานนา"/>
 
ในปี พ.ศ. 2406 กลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือรวมหัวกันกล่าวโทษพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ว่าพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เอาใจออกห่างกรุงเทพ โดยการถวายเครื่องบรรณการไปยังกษัตริย์พม่าและกษัตริย์พม่าก็ถวายสิ่งของตอบ ทางกรุงเทพได้เรียกตัวพรองค์มาทำการชี้แจง พระเจ้ากาวิโลรสได้เสด็จลงกรุงเทพพร้อมพระญาติ ด้วยไหวพริบของพระองค์ พระเจ้ากาวิโลรสถือโอกาสพาตัวเจ้าเมืองหมอกใหม่เข้าถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นข้าขอบขันฑสีมากรุงเทพ นับเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
 
พระองค์ได้นำทรัพย์สมบัติที่ได้รับกษัตริย์พม่าทูลเกล้าถวายรัชกาลที่ 4 แต่รัชกาลที่ 4 ทรงรับแหวนทับทิมไว้วงเดียวเพื่อรักษาน้ำใจ และจากการสอบสวนพบว่า ''"พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ยังหามีความผิดเปนข้อใหญ่ไม่ ขอพระราชทานให้กลับขึ้นไปรักษาอาณาเขตปกครองญาติพี่น้องบุตรหลาน ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป..."''<ref>พระยาประชากิจกรจักร. ''พงศาวดารโยนก''. 2515.</ref> เห็นได้ว่าแม้สยามจะมีโอกาสเข้าแทรกแทรงล้านนาเพื่อลดอำนาจของเจ้านาย แต่ก็ไม่อาจทำการอย่างผลีผลามเพราะพระเจ้ากาวิโลรสเป็นพระเจ้าประเทศราชที่ทรงอำนาจ
 
ในด้านการปกครองทรงเข้มแข็งเป็นที่เกรงขาม แม้แต่รัฐบาลสยามก็ยังมิอาจล่วงเกินกิจการภายในของนครเชียงใหม่ได้ แต่พระเจ้ากาวิโรรสฯ ก็มิได้โปรดให้มีการเผยแพร่ศาสนาอื่นในนครเชียงใหม่ และได้ทรงสั่ง[[ประหารชีวิต]][[คริสต์ศาสนิกชน]] 2 คน ในปี พ.ศ. 2411