ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุริยุปราคา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 33:
[[ไฟล์:Solar eclipse.svg|thumb|150px|แผนภาพแสดงการเกิดสุริยุปราคา (ภาพไม่เป็นไปตามมาตราส่วน)]]
 
แผนภาแผนภาพทางขวาแสดงให้เห็นการเรียงตัวกันของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก ระหว่างการเกิดสุริยุปราคา บริเวณสีเทาเข้มใต้ดวงจันทร์คือเขตเงามืด ซึ่งดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังไปทั้งดวง บริเวณเล็ก ๆ ที่เงามืดทาบกับผิวโลกคือจุดที่สามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ บริเวณสีเทาอ่อนที่กว้างกว่าคือเขตเงามัว ซึ่งจะสังเกตเห็นสุริยุปราคาบางส่วน
 
ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงทำมุมประมาณ 5 องศา กับ[[สุริยวิถี|ระนาบวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์]] ด้วยเหตุนี้ ในเวลาที่ดวงจันทร์โคจรมาที่ตำแหน่งจันทร์ดับ ส่วนใหญ่มันจะผ่านไปทางด้านเหนือหรือด้านใต้ของดวงอาทิตย์โดยเงาของดวงจันทร์ไม่สัมผัสผิวโลก จึงไม่เกิดสุริยุปราคา สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อจันทร์ดับเกิดในช่วงที่ดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่บริเวณใกล้[[จุดโหนด|จุดตัด]]ของระนาบวงโคจรทั้งสอง