ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:NationalMemorialD85 3734 อนุสรณ์สถานแห่งชาติ The National Memorial of Thailand Photographed by Trisorn Triboon (31).jpg|thumb|200350px|อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร อนุสรณ์สถานแห่งชาติ]]
 
'''อนุสรณ์สถานแห่งชาติ''' สร้างขึ้นในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่บูรพมหากษัตริย์และวีระชนไทยผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ช่วง[[ถนนวิภาวดีรังสิต]] บรรจบกับ[[ถนนพหลโยธิน]] ตำบลคูคต [[อำเภอลำลูกกา]] [[จังหวัดปทุมธานี]] ในพื้นที่ 38 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร [[สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ]] [[กองบัญชาการกองทัพไทย]] [[กระทรวงกลาโหม]]
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:ในหลวงทรงวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานแห่งชาติ.jpg|thumb|700|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526]]
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เกิดขึ้นจากดำริของ พลเอก [[สายหยุด เกิดผล]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพไทย|อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] ว่าที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตในสงครามต่าง ๆ เช่น [[อนุสาวรีย์ทหารอาสา]] เป็นที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1, [[อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ]] สำหรับเหตุการณ์ปราบ[[กบฏบวรเดช]], [[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] สำหรับกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยังมีการสู้รบเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง เช่น [[สงครามเกาหลี]] [[สงครามเวียดนาม]] การปราบปรามผู้ก่อการร้าย มีผู้เสียชีวิตทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเป็นประจำทุกปี แต่อัฐิของผู้พลีชีพเพื่อชาติเหล่านี้ยังคงเก็บรวบรวมไว้ และยังมิได้จัดสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นอนุสรณ์อย่างสมเกียรติ
 
เส้น 18 ⟶ 17:
== การจัดแสดง ==
อนุสรณ์สถานแห่งชาติประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
 
===ลานประกอบพิธี===
เป็นพื้นที่สำหรับตั้งแถวทหารกองเกียรติยศได้ 3 กองร้อย เพื่อต้อนรับประมุข หรือบุคคลสำคัญของประเทศและต่างประเทศที่มาเยือนอนุสรณ์สถานแห่งชาติอย่างเป็นทางการ นอกจากนี่ยังใช้สำหรับวางพวงมาลาในพิธีสำคัญต่าง ๆ บนลานประกอบพิธีประดับธงกองบัญชาการกองทัพไทย ธงกองทัพบก ธงกองทัพเรือ ธงกองทัพอากาศ ธงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และธงกองอาสารักษาดินแดน ส่วนด้านข้างประดับธงชาติไทยสลับกับธงชาติของประเทศที่มาเยือน
บรรทัด 45:
 
===อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร===
[[ไฟล์:อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหารDiorama อนุสรณ์สถานแห่งชาติshown inside HTMS Thonburi during the Battle of Koh Chang (2).JPGjpg|thumb|200350px|หุ่นจำลองเหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง ภายในชั้น 1 อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร]]
[[ไฟล์:Wax sculpture of Prince Chira Pravat of Siam, National Memorial, Pathum Thani, Thailand (1).jpg|thumb|พระบรมรูปหุ่นขี้ผึ้งเต็มองค์ จอมพล [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช]] ในฉลองพระองค์เต็มยศนายทหารบกแห่งกองทัพบกไทย จัดแสดงที่ชั้น 4 อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร]]
 
อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร มีลักษณะคล้ายป้อมค่ายหอรบสมัยโบราณ ด้านหน้าของอาคารนี้ประดิษฐานพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานกำเนิดกองทัพไทยสมัยใหม่ ประทับยืนอยู่ในชุดฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง โดยสลักจากหินอ่อน
 
อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร มีลักษณะคล้ายป้อมค่ายหอรบสมัยโบราณ ด้านหน้าของอาคารนี้ประดิษฐานพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดกองทัพไทยสมัยใหม่ ประทับยืนอยู่ในชุดฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง โดยสลักจากหินอ่อน
ภายในอาคารประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ทหาร มีการจัดแสดงกิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง 4 ชั้น ดังนี้
 
* ชั้นที่ 1 จัดเป็นห้องเกียรติยศตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเชิดชูเกียรติและวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือน ที่ปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี และเหรียญกล้าหาญ เพื่อปลุกใจให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึง และ จัดแสดงหุ่นจำลองเหตุการณ์สงครามสมัยใหม่ที่กองทัพไทยได้ปฏิบัติการรบครั้งสำคัญ 5 สงคราม คือ
 
** [[สงครามโลกครั้งที่ 1]] จำลองเหตุการณ์ กองทหารไทยสวนสนามผ่านประตูชัย ณ [[กรุงปารีส]]
** [[กรณีพิพาทอินโดจีน]] จำลองเหตุการณ์ [[ยุทธนาวีเกาะช้าง]]
เส้น 55 ⟶ 59:
** [[สงครามเกาหลี]] จำลองเหตุการณ์ การรบที่เขาพอร์คชอพ
** [[สงครามเวียดนาม]] จำลองเหตุการณ์ การรบในป่าเวียดนาม
 
* ชั้นที่ 2 กำแพงแก้วรอบระเบียงได้จารึกนามผู้กล้าหาญซึ่งเสียชีวิตจากการรบ เพื่อป้องกันประเทศในสงครามต่าง ๆ รวมทั้งผู้ปฏิบัติการป้องกันผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ รวมจำนวนขณะนี้ 80000ชื่อ ภายในอาคารชั้นที่ 2 จัดสร้างเป็นห้องพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติจอมทัพไทย แสดงพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวเนื่องกับกองทัพ และ กรณียกิจของกองทัพเพื่อสนองโครงการในพระราชดำริ
 
* ชั้นที่ 3 จัดแสดงหุ่นจำลองเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ 14 เหตุการณ์
 
* ชั้นที่ 4 จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องหมายยศ และส่วนประกอบของเครื่องแบบทหาร โดยมีการจัดแสดงดังนี้
 
*# จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายโดยใช้หุ่นจัดแสดง และภาพประกอบ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 สมัยคือ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยปัจจุบัน จำนวน 15 หุ่น
*# จัดแสดงส่วนประกอบของเครื่องแบบ เช่น หน้าหมวก อินทรธนู เครื่องหมายยศ กระดุม เครื่องหมายเหล่า และเครื่องหมายสังกัด