ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
}}
 
'''รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ''' ({{lang-en|Suvarnabhumi Airport Rail Link}}) หรือ '''แอร์พอร์ต เรล ลิงก์''' เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ เดิมอยู่ในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล|โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง]] รัฐบาลได้นำโครงการนี้มาเป็นโครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ดำเนินการก่อสร้างโดย[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) และได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อ พ.ศ. 2553 โดยบริษัท [[รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.]] จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม และเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อมาได้มีการพิจารณารวมรถไฟฟ้าสายนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ[[รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน]]
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:SARL map.gif|thumb|left|แผนที่รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]
ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้าง[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูง เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการเข้า-ออกท่าอากาศยานฯ โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างทั้งงานโยธา และจัดหาผู้ให้บริการ แต่เนื่องมาจากความล่าช้าในการปรับแบบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อรองรับโครงการดังกล่าว ทำให้การก่อสร้างสามารถเริ่มดำเนินการได้เมื่อ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ก่อนเปิดใช้ท่าอากาศยานเพียงไม่กี่เดือน และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นในหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในเรื่องข้อสรุปของผู้ดำเนินการรถไฟฟ้า ความปลอดภัยโดยรวมของทั้งระบบ รวมไปถึงการที่ผู้รับเหมาไม่ยอมเซ็นโอนโครงการให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และความล่าช้าในการก่อตั้งบริษัทดำเนินการ จนในที่สุดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ก็เริ่มดำเนินการเปิดทดสอบแบบวงจำกัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งการทดสอบดังกล่าวผู้เข้าร่วมทดสอบจะไม่สามารถเข้าไปในเขตของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ จากนั้นก็ได้เปิดทดสอบแบบไม่จำกัดจำนวนอีกครั้งในวันที่ 5 ธันวาคม-7 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นการทดสอบของระบบการเดินรถอัตโนมัติอีกด้วย จากนั้นก็ได้ทดสอบระบบกับสื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆ เรื่อยมาจนถึงช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งจะเป็นกำหนดการเปิดทดสอบการเดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น ทำให้ต้องเลื่อนการทดสอบจริงออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งดำเนินการเปิดทดสอบฟรีในช่วงเช้าและเย็น จากนั้นก็ได้ทำการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยมีนาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิดรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาภายหลังได้มีการศึกษาในการเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ[[รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน]]
 
== รูปแบบการให้บริการ ==
บรรทัด 146:
 
== ส่วนต่อขยาย ==
{{บทความหลัก|รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน}}
ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ไปยัง[[สถานีกลางบางซื่อ|ศูนย์คมนาคมบางซื่อ]]และ[[ท่าอากาศยานดอนเมือง]] และจากทางด้านทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี และเดินทางไปถึง[[ท่าอากาศยานอู่ตะเภา]] โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ[[รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน]]
 
== ดูเพิ่ม ==
บรรทัด 153:
* [[รถไฟฟ้ามหานคร]]
* [[โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)|รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง]]
* [[รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน]]
 
== อ้างอิง ==