ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัตว์ป่าสงวน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NicoScribe (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7954881 สร้างโดย 2403:6100:6120:EFF:2842:CDA8:D496:ECBF (พูดคุย) ?
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
[[ภาพ:Nemorhaeduscaudatusarnouxianus2.JPG|thumb|250px|[[กวางผาจีน]] (''Nemorhaedus griseus'') 1 ใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย]]
'''สัตว์ป่าสงวน''' หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า [[พ.ศ. 2503]] จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าสงวน| ]]
 
สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตาม[[อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์|อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า]]หรือ CITES ซึ่ง[[ประเทศไทย]]ได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี [[พ.ศ. 2518]] และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ [[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2526]] นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ [[19 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2535]]
 
สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ [[เนื้อทราย]] <ref>[http://61.19.241.65/DATA/PDF/2535%5CA%5C015%5C1.PDF พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]</ref> ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสงวนคุ้มครองสัตว์ป่ามีมติเห็นชอบให้เพิ่มสัตว์ 4 ชนิด เป็นสัตว์สงวน รวมสัตว์ป่าสงวนมีทั้งสิ้น 19 ชนิด<ref>[http://news.mthai.com/hot-news/social-news/464883.html]</ref> ได้แก่
# [[นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร]] (''Pseudochelidon sirintarae'')
# [[แรดชวา|แรด]] (''Rhinoceros sondaicus'')
# [[กระซู่]] (''Dicerorhinus sumatrensis'')
# [[กูปรี]]หรือโคไพร (''Bos sauveli'')
# [[ควายป่า]] (''Bubalus bubalis'')
# [[ละองละมั่ง|ละอง หรือละมั่ง]] (''Rucervus eldi'')
# [[สมัน]] หรือเนื้อสมัน (''Rucervus schomburki'')
# [[เลียงผา]] หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ (''Capricornis sumatraensis'')
# [[กวางผาจีน]] (''Naemorhedus griseus'')
# [[นกแต้วแร้วท้องดำ]] (''Pitta gurneyi'')
# [[นกกระเรียนไทย]] (''Grus antigone'')
# [[แมวลายหินอ่อน]] (''Pardofelis marmorata'')
# [[สมเสร็จมลายู|สมเสร็จ]] (''Tapirus indicus'')
# [[เก้งหม้อ]] (''Muntiacus feai'')
# [[พะยูน]] หรือหมูน้ำ (''Dugong dugon'')
# [[วาฬบรูด้า]] (''Balaenoptera edeni'')
# [[วาฬโอมูระ]] (''Balaenoptera omurai'')
# [[เต่ามะเฟือง]] (''Dermochelys coriacea'')
# [[ปลาฉลามวาฬ]] (''Rhincodon typus'')
 
== อ้างอิง ==
*{{citation|title=Wild Animal Reservation and Protection Act, BE 2535|date=28 February 1992|periodical=Royal Thai Government Gazette|volume=109|issue=15|language=Thai}} ([http://web3.dnp.go.th/wildlifenew/downloads/Unofficial%20English%20Translation.pdf Unofficial translation] by Dan Reik, April 1996).
*{{citation|title=Wildlife Conservation in Thailand| author=Wildlife Conservation Development and Extension Section, Wildlife Conservation Division, Royal Forest Department| url=http://web3.dnp.go.th/wildlifenew/downloads/Wildlife%20Conservation%20in%20Thailand.pdf}} shurhare.
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{สัตว์ป่าสงวนของไทย}}
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าสงวน| ]]