ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามพิวรรธน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 29:
เมื่อโรงแรมดังกล่าวดำเนินการมาครบ 30 ปี บริษัทได้ดำริที่จะสร้างศูนย์การค้าใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้ยุติการดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นจึงดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด" ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 โดยพื้นที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้า[[สยามพารากอน]]
 
ตามข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [[กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)|กระทรวงพาณิชย์]] เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ผู้ถือหุ้นของสยามพิวรรธน์ ประกอบด้วย [[เอ็มบีเคเซ็นเตอร์|บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)]] ถือหุ้นใหญ่สุด 47.9771% กลุ่มบุคคลไม่เปิดเผยนาม 24.8523% [[ธนาคารกรุงเทพ]] 5.1943% [[ธนาคารกสิกรไทย]] 5.0969% นอกนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ<ref>[https://www.isranews.org/isranews-scoop/71041-report01_71041.html ขุมข่ายธุรกิจ 'ไอคอนสยาม' แสนล.! หลังฉากการลงทุน 2 ยักษ์ใหญ่ 'สยามพิวรรธน์-ซีพี.']</ref> งานวิจัยเรื่อง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการลงทุนทางธุรกิจ" กล่าวว่า [[สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์]] เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-40654502 เปิดงานวิจัย ความเป็นมา "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"]</ref>
 
== ธุรกิจของบริษัท==