ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสัญญาบาเซล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= |สำหรับ= |ดูที่=สนธิสัญญาบาเซล |เปลี่ยนทาง=}}
'''อนุสัญญาบาเซลเซิล''' หรือ '''อนุสัญญาบาเซลเซิลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนและการกำจัดซึ่งของเสียอันตราย''' ({{lang-en|Basel Convention หรือชื่อเต็ม Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal}}) เป็น[[สนธิสัญญา]]ระดับนานาชาติว่า ด้วยการจำกัดการเคลื่อนย้าย[[ของเสียอันตราย]]ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจาก[[ประเทศกำลังพัฒนา]]ไปยัง[[ประเทศด้อยพัฒนา]] จุดมุ่งหมายคือลดปริมาณสารพิษที่เกิดจากของเสียหรือขยะ
 
อนุสัญญาบาเซลเซิลเริ่มลงนามเมื่อวันที่ [[22 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2532]] (ค.ศ. 1989) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2535]] (ค.ศ. 1992) ปัจจุบันมี 166 ประเทศที่ลงนาม โดยมี[[ประเทศอัฟกานิสถาน]] [[ประเทศเฮติ]] และ[[สหรัฐ]]ที่ลงนามแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มเข้ากระบวนการปฏิบัติตามสนธิสัญญา
 
ความเป็นมา สาระสำคัญและประโยชน์การเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาบาเซลเซิล
 
ความเป็นมาใน ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปัญหาการลักลอบนำของเสียอันตรายจากประเทศอุตสาหกรรมไปทิ้งในประเทศด้อยพัฒนาที่อยู่ในทวีปแอฟริกาอเมริกากลาง และเอเชียได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (The United Nation Environment Programme : UNEP) จึงได้จัดประชุมนานาชาติขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 ณ นครบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาบาเซลเซิลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการนำเข้า ส่งออกและนำผ่านของเสียอันตรายให้เกิดความปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งป้องกันการขนส่งที่ผิดกฎหมายและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการของเสียอันตราย โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่อมาได้เปิดให้ประเทศต่าง ๆ ได้ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2535 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาแล้ว จำนวนทั้งหมด 169 ประเทศ (ข้อมูลเมื่อธันวาคม 2549) ประเทศไทยได้จัดส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาและกำหนดข้อตกลงต่าง ๆ มาโดยลำดับและได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาบาเซิลเมื่อวันที่ 24 พฤศิจกายน 2540 อนุสัญญาบาเซลเซิลมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นมา
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==