ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
'''บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ''' เดิมใช้ชื่อว่า '''การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย''' หรือ ทอท. เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัด[[กระทรวงคมนาคม]] เป็นองค์กรบริหารงานท่าอากาศยานระดับแห่งชาติของไทย โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2522]] เพื่อดำเนินกิจการท่าอากาศยานต่างๆ ให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ และรับโอนกิจการ[[ท่าอากาศยานดอนเมือง]] ซึ่งเคยสังกัด[[กรมการบินพลเรือน]] ([[กองทัพอากาศ]]) โดยอาศัยตามความบทเฉพาะกาล มาตรา 50 ของพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2522 ต่อมา ทอท. ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทภายใต้นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย โดยได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลชื่อ "บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)" และปรับตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยชื่อย่อของบริษัทยังคงใช้ "ทอท." เช่นเดิม ส่วนชื่อภาษาอังกฤษคือ Airports of Thailand Public Company Limited และใช้ชื่อย่อว่า AOT ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา โดย[[กระทรวงการคลัง]] ถือหุ้นร้อยละ 70
 
ในปี พ.ศ. 2561 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตลอดทั้งปี มีสายการบินทำการบินทั้งหมด 115 สายการบิน แบ่งเป็นขนส่งผู้โดยสาร 98 สายการบิน ขนส่งสินค้าอย่างเดียว 12 สายการบิน เช่าเหมาลำระหว่างประเทศ 4 สายการบิน เช่าหมายลำภายในประเทศ 1 สายการบิน นับว่ามากที่สุดในแง่สายการบินที่ให้บริการ จำนวนประเทศที่ให้บริการรวม 55 ประเทศ ไม่รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ตลอดปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ตมีจำนวนประเทศที่ให้บริการรวม 22 ประเทศ และ ท่าอากาศยานดอนเมืองให้บริการจำนวนประเทศรวม 15 ประเทศ

ในปีเดียวกันคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอน ท่าอากาศยานชุมพร ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานสกลนคร และ ท่าอากาศยานตาก <ref>https://www.thunhoon.com/172926/59/45/</ref>
== ท่าอากาศยานภายใต้การบริหาร ==
ทอท. บริหารงานท่าอากาศยาน 6 แห่ง: ดังต่อไปนี้