ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎหมายมหาชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7951555 สร้างโดย 27.145.176.119 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
'''กฎหมายมหาชน''' ({{lang-en|public law}}) คือ [[กฎหมาย]]ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐ หรือความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงถึงสังคม<ref name="oxdic" /> อาจแบ่งเป็น[[กฎหมายรัฐธรรมนูญ]] [[กฎหมายปกครอง]] [[กฎหมายภาษี]] [[กฎหมายอาญา]] และ[[กฎหมายวิธีพิจารณาคดี]]<ref name="oxdic">{{cite book|title=Oxford Dictionary of Law|year=2003|publisher=Oxford University Press|location=Oxford|isbn=0198607563|author=Elizabeth A. Martin|edition=7th}}</ref> ส่วนกฎหมายที่ว่าเฉพาะด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันนั้นเรียก [[กฎหมายเอกชน]]
 
กฎหมายมหาชนนั้นว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลและไม่เท่าเทียมกัน รัฐมีฐานะที่มีอำนาจมากกว่ากับประชาชน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น รัฐที่มีอำนาจกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของปัจเจกบุคคล แต่ด้วยผลของหลัก[[นิติธรรม]] การกำหนดดังกล่าวจะต้องเป็นไปภายในขอบเขตของกฎหมาย (''secundum et intra legem'') และรัฐจะต้องเคารพกฎหมาย ราษฎรที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ทางปกครองก็อาจร้องขอต่อศาลให้[[การทบทวนของฝ่ายตุลาการ|ทบทวน]]คำวินิจฉัยดังกล่าว
 
การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นฝ่ายมหาชนและเอกชนนั้นย้อนหลังไปได้ถึงสมัย[[กฎหมายโรมัน]] ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบ[[ซีวิลลอว์]]จัดการแบ่งแยกดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และนับแต่นั้น แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกก็แพร่ไปสู่ประเทศ[[คอมมอนลอว์]]ด้วย