ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช้าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Punechai (คุย | ส่วนร่วม)
Punechai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 91:
ช้างป่าและช้างสะวันนาสามารถเกิดลูกผสมขึ้นได้ แต่เนื่องจากช้างทั้งสองชอบอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่แตกต่างกันจึงลดโอกาสที่จะผสมข้ามสปีชีส์ เนื่องจากช้างแอฟริกาเพิ่งจะได้รับการยอมรับว่าประกอบด้วยสองสปีชีส์ที่แตกต่างกัน กลุ่มของช้างที่ถูกจับยังไม่ได้รับการจัดประเภทอย่างทั่วถึงและบางเชือกอาจเป็นลูกผสมก็เป็นได้
 
ภายใต้การจำแนกสองสปีชีส์ใหม่นี้ ''Loxodonta africana'' หมายความถึงแต่ช้างสะวันนา ซึ่งเป็นช้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพศผู้มีความสูงระหว่าง 2.2 ถึง 28.7 เมตรเมื่อวัดจากพื้นถึงไหล่ และหนัก 2,700 กิโลกรัม โดยตัวที่หนักที่สุดนั้นมีบันทึกไว้ที่ 9,000 กิโลกรัม<ref>[http://www.webcitation.org/5rbYDMWeK CITES Appendix II ''Loxodonta africana'']&nbsp;– retrieved 4 September 2008</ref> เพศเมียตัวเล็กกว่า สูงจากพื้นถึงไหล่วัดได้ 3 เมตร<ref>[http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/accounts/information/Loxodonta_africana.html Animal Diversity Web&nbsp;– ''Loxodonta africana'']&nbsp;– retrieved 4 September 2008</ref> ช้างสะวันนามักจะพบได้ในทุ่งหญ้าเปิด บึงและริมทะเลสาบ มีถิ่นที่อยู่อาศัยครอบคลุมเขตซะวันนาแถบตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา
 
[[ไฟล์:African Forest Elephant.jpg|thumb|225px|ช้างป่าแอฟริกา]]
บรรทัด 159:
 
''Elephas maximus'' ได้ถูกจำแนกออกเป็นหลายสปีชีส์ย่อย โดยอาศัยข้อมูลทางสัณฐานวิทยาและโมเลกุลเครื่องหมาย
* ''Elephas maximus maximus'' (ช้างศรีลังกา) พบได้เฉพาะบนเกาะ[[ศรีลังกา]] และเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาช้างเอเชีย มีการประเมินว่าช้างศรีลังกานี้มีชีวิตเหลืออยู่ในธรรมชาติเพียง 3,000-4,500 ตัวเท่านั้น<ref name="ef"/> ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการสำรวจตัวเลขที่แน่ชัดเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพศผู้ตัวใหญ่นั้นสามารถหนักได้ถึง 4,400 กิโลกรัม และสูงกว่า 76 เมตร ช้างศรีลังกาเพศผู้มีกะโหลกนูนขนาดใหญ่มาก และทั้งสองเพศมีบริเวณรอยด่างมากกว่าช้างเอเชียอื่นทั้งหมด หู หน้า งวง และช่วงท้องจะมีหนังเป็นรอยด่างสีชมพูขนาดใหญ่<ref name="Shoshani06">Shoshani, J. (2006) [http://books.google.com/books?hl=en&lr=&id=oCpiZA61tyQC&oi=fnd&pg=PA3&ots=2IMfIdn35g&sig=9LKyLo77Kb4BehHoiX_CSJsREXs#v=onepage&q&f=false ''Taxonomy, Classification, and Evolution of Elephants''] In: Fowler, M. E., Mikota, S. K. (eds.) Biology, medicine, and surgery of elephants. Wiley-Blackwell. ISBN 0-8138-0676-3. Pp. 3–14</ref> ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
* ''Elephas maximus indicus'' (ช้างอินเดีย) เป็นช้างเอเชียที่มีประชากรมากที่สุด มีอยู่ราว 36,000 ตัว<ref name="ef"/> ช้างเหล่านี้มีสีเทาอ่อน และมีรอยด่างเฉพาะบนหูและงวง เพศผู้ตัวใหญ่นั้นมีน้ำหนักระหว่าง 2,000-5,000 กิโลกรัม<ref name="Shoshani06"/> แต่มีความสูงเท่ากับช้างศรีลังกา ช้างอินเดียนี้สามารถพบได้ในประเทศเอเชีย 11 ประเทศ ไล่ตั้งแต่[[อินเดีย]]ไปจนถึง[[อินโดนีเซีย]] พวกมันชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและบริเวณรอยต่อระหว่างป่ากับทุ่งหญ้า ซึ่งสามารถหาอาหารได้หลายชนิดกว่า
* ''Elephas maximus sumatranus'' (ช้างสุมาตรา) พบเฉพาะบน[[เกาะสุมาตรา]] มีขนาดเล็กกว่าช้างอินเดียและช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ มีประชากรอยู่ระหว่าง 2,100 ถึง 3,000 ตัว<ref name="ef"/> มีสีเทาจางและมีรอยด่างน้อยกว่าช้างเอเชียอื่น โดยมีจุดสีชมพูเฉพาะบนหูเท่านั้น ช้างสุมาตราตัวเต็มวัยมีความสูงจากพื้นถึงไหล่วัดได้ 2-2.2 เมตร และหนักระหว่าง 2,000-4,000 กิโลกรัม<ref name="Shoshani06"/> มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและถิ่นที่อยู่ปกคลุมด้วยต้นไม้บางส่วน
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ช้าง"