322
การแก้ไข
Kraiwitlee (คุย | ส่วนร่วม) ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
(เก็บกวาดให้กระชับ บทความพระพุทธรูปไม่ใช้วัด มีข้อมูลในลิงค์โยงแล้ว ไม่ต้องลากมาใส่หมด) |
||
'''พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ''' (นิมิต จะต้องไม่มี ร สะกด) เป็น[[พระพุทธรูป]]ทรงเครื่องใหญ่ ประดิษฐานอยู่ที่[[วัดหน้าพระเมรุ]] มีพุทธลักษณะงดงามมาก นิยมเรียกโดยย่อว่า '''พระพุทธนิมิต''' หรือ พระพุทธนิมิตฯ เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร นิยมเรียกโดยย่อว่า [[วัดหน้าพระเมรุ]] หรือ วัดพระเมรุ ตั้งอยู่ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ให้สังเกตชื่อ คำว่า นิมิต มีความหมายว่าเนรมิตจึงต้องไม่มีตัว ร สะกด นอกจากนี้ยังใช้คำว่า วิชิต สะกดด้วย ว มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าพิชิต และคำว่า สรรเพชญ ไม่ใส่ทัณฑฆาต หรือเครื่องหมาย ์ )
ขนาดและลักษณะ พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถเป็นพระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี (บ้างเรียกว่า [[ปางทรมานพระยามหาชมพู]]) หล่อด้วยทองสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้างประมาณ 4.5 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์<ref>[Ebook] ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน กรมการศาสนา http://www.dra.go.th/th/cmsdetail-4-59-1-3213.html</ref> บ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำปีกุนด้วย
ประวัติการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นพร้อมวัดหน้าพระเมรุ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่อมาสันนิษฐานว่าได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลสมเด็จ[[พระเจ้าปราสาททอง]] เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปูนปั้น ที่ประดิษฐานอยู่ภายใน เมรุทิศ เมรุมุมของระเบียงคต [[วัดไชยวัฒนาราม]] ที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์ วัดนี้ยังได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ วัดหน้าพระเมรุรอดพ้นจากการถูกเผาและทำลายเมื่อคราวเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดหน้าพระเมรุและพระประธานองค์นี้ และพระราชทานนามพระประธานว่า 'พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ' <ref>พระพุทธปฏิมากรองค์สำคัญของประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547</ref> โดย พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ 3 ในขณะนั้น ได้ปฏิสังขรณ์โดยรักษาแบบอย่างของเดิมไว้เป็นส่วนมาก รวมถึงคงลักษณะที่วัดนี้ไม่ได้ทำหน้าต่างไว้ มีแต่ช่องลูกกรงช่องเล็กๆ ซึ่งเป็นแบบนิยมในสมัยสุโขัยและสมัยอยุธยาตอนต้น สมัยนั้นในพระอุโบสถยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งรวมถึงภาพภิกษุณี <ref>จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของ นายตรี อมาตยกุล พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปณกิจศพนางริ้ว ประกาศสุขการ และนายสุธี ประกาศสุขการ ธันวาคม พ.ศ. 2509 หน้า 57 ถึง 60 และหน้า 60 ถึง 61</ref> แต่ผู้ซ่อมแซมในสมัยต่อๆ มาได้ฉาบปูนขาวทับไว้เสียหมด
การกล่าวถึงในงานวรรณกรรม สุนทรภู่ กวีเอกของโลก ได้กล่าวไว้ในนิราศภูเขาทอง ที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 (หลังสิ้นรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมัยที่สุนทรภู่ได้รับราชการอยู่) ว่า
|
การแก้ไข