ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงกรานต์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อน และลบลิงค์เสีย
วันสงกรานต์เป็นวันที่มีผู้คนเยอะมากในงาน
บรรทัด 1:
หาเว็บอื่นดิ เว็บนี้ไม่บอก<div align=center>{{ตารางวันมหาสงกรานต์}}
''สำหรับ สงกรานต์ ความหมายอื่น ดูที่: [[สงกรานต์ (แก้ความกำกวม)]]
{{Infobox holiday
|holiday_name =
{{collapsible list
|titlestyle = background:transparent; font-size:9pt;
|title = {{resize|11.5pt| วันสงกรานต์}}
|{{Infobox|subbox=yes|bodystyle= font-size:9pt;font-weight:normal;
| rowclass3 = mergedrow| label3 = [[ภาษาพม่า|พม่า]]: | data3 = <div style="text-align: left;">သင်္ကြန်</div>
| rowclass4 = mergedrow| label4 = [[ภาษาเขมร|เขมร]]: | data4 = សង្រ្កាន្ត
| rowclass5 = mergedrow| label5 = [[ภาษาลาว|ลาว]]: | data5 = ສົງການ
| rowclass6 = mergedrow| label6 = [[ภาษาจีน|จีน]]: | data6 = 泼水节
}}
}}
|type = ในประเทศไทย
|image = Songkran in Wat Kungthapao 03.jpg
|imagesize = 250px
|caption = สงกรานต์ตามคตินิยมโบราณ นิยมสรงน้ำพระและผู้อาวุโสอันเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญู เพื่อความเป็นสิริมงคล
|official_name =
|nickname =
|observedby =
|litcolor =
|longtype =
|significance =
|begins = ''ไม่ทราบ''
|ends =
|date = [[13 เมษายน]] - [[15 เมษายน]]ของทุกปี
|scheduling = same day each year
|duration =
|frequency =
|celebrations =
|observances = ''[[สงกรานต์#กิจกรรมในวันสงกรานต์|ดูในบทความ]]''
|relatedto =
}}
'''สงกรานต์''' ({{lang-km|សង្រ្កាន្ត}}; {{lang-my|သင်္ကြန်}}; {{lang-lo|ສົງການ}}; {{lang-zh|泼水节}}) เป็นประเพณีของ[[ประเทศไทย]] [[กัมพูชา]] [[ลาว]] [[พม่า]] ชนกลุ่มน้อย[[ชาวไท]]แถบ[[เวียดนาม]]และ[[มณฑลยูนนาน]]ของ[[จีน]] [[ศรีลังกา]]และทางตะวันออกของ[[ประเทศอินเดีย]]<ref>{{cite web|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2014-04-11/21/|title=วาระประเทศไทย ในที่นี่ไทยพีบีเอส |date=11 April 2014|accessdate=12 April 2014|publisher=ไทยพีบีเอส}}</ref> สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาล[[โฮลี]] (होली) ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม<ref>{{cite web|url=http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2|title=เทศกาลโฮลีสาดสีของอินเดีย |date=22 March 2014|accessdate=11 April 2014|publisher=ไทยพีบีเอส}}</ref>
 
สงกรานต์เป็นคำ[[สันสกฤต]] หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับใน[[จักรราศี]] คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]
 
สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับ[[ตรุษไทย|ตรุษ]] จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 จากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483<ref>{{cite web|url=http://www.lib.ru.ac.th/journal/jan/jan01-NewYear.html|title=สนเทศน่ารู้ : วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม|date=24 December 2008|accessdate=14 April 2014|publisher=หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง}}</ref>
 
พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของ[[ฤดูร้อน]] ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สังคมไทยสมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น '''Water Festival''' หรือ '''เทศกาลแห่งน้ำ'''<ref>[http://www.bangkokpost.com/lifestyle/family/288667/waging-water-wars-in-a-friendly-way Waging water wars in a friendly way] จาก[[บางกอกโพสต์]]</ref> ซึ่งตัดส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมไป
 
== การคำนวณ ==
ปัจจุบันปฏิทินไทยกำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์[[สุริยยาตร์]] ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่[[พระอาทิตย์]]ย้ายออกจาก[[ราศีมีน]]เข้าสู่[[ราศีเมษ]] เรียกว่า "[[วันมหาสงกรานต์]]" วันถัดมาเรียกว่า "[[วันเนา]]" ([[ภาษาเขมร]] แปลว่า "อยู่ ") และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยน[[จุลศักราช]]และเริ่มใช้[[กาลโยค]]ประจำปีใหม่ เรียกว่า "[[วันเถลิงศก]]"
 
การคำนวณวันเถลิงศกนั้น ตามคัมภีร์สุริยยาตร์<ref>เอื้อน มนเทียรทอง. พระคัมภีร์สุริยยาตรศิวาคม. กรุงเทพฯ: สำนักโหร "หอคำ", ม.ป.ป.</ref> จะต้องมีการหาหรคุณเถลิงศก และค่าอื่น ๆ สำหรับคำนวณตำแหน่งดาวในปีนั้น ๆ เรียกว่า'''อัตตาเถลิงศก''' ทุก ๆ ปี ค่าหรคุณเถลิงศกที่คำนวณได้จะเป็นตัวเลขนับ 1 ที่วันเถลิงศก จ.ศ. 0 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ [[25 มีนาคม]] [[พ.ศ. 1181]] ตามปฏิทินเกรกอเรียน มาจนถึงปีที่ต้องการ สำหรับกระบวนการหาหรคุณเถลิงศก มีดังต่อไปนี้
 
* ตั้งเกณฑ์ 292207 ลง เอาจุลศักราชปีนั้นคูณ ได้เท่าใด เอา 373 บวก แล้วเอา 800 หาร ลัพธ์ (ส่วนที่เป็นคำตอบจำนวนเต็ม) เอา 1 บวก เป็น'''หรคุณเถลิงศก'''
* เอา 800 ตั้ง เอาเศษจากข้อก่อนมาลบ ได้ '''กัมมัชพลเถลิงศก'''
 
จากขั้นตอนข้างต้น อธิบายได้ว่า ในหนึ่งปีสุริยคติมีเวลาทั้งหมดคิดเป็น 292207 กัมมัช (กัมมัชคือหน่วยย่อยของเวลาในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยที่ 1 กัมมัช = 108 วินาที และ 800 กัมมัช = 1 วัน) ดังนั้นเวลาเป็นกัมมัชนับจากจุดเถลิงศก จ.ศ. 0 มาหาจุดเถลิงศกปีที่ต้องการ ก็หาได้โดยเอา 292207 คูณกับจุลศักราชที่ต้องการทราบ แต่เนื่องจากวันเถลิงศก จ.ศ. 0 เวลาเถลิงศกตรงกับ 11:11:24 นาฬิกา หรือคิดเป็น 373 กัมมัช นับแต่เวลา 0 นาฬิกา จึงเอา 373 บวกเข้ากับผลคูณที่หาไว้แล้ว <!--หมายเหตุ: ถ้าไม่เอา 373 บวกกับผลที่ได้ แล้วจะพบว่าหรคุณเถลิงศกเท่ากับ 1 ซึ่งถูกต้อง แต่กัมมัชพลเถลิงศกเท่ากับ 800 เวลาเถลิงศกผิดพลาดจากเดิมอย่างมาก และจะส่งผลให้เวลาเถลิงศกในปีหลัง ๆ ผิดพลาดตามไปด้วย--> ผลทั้งหมดที่ได้นี้มีหน่วยเป็นกัมมัช เมื่อจะแปลงเป็นวัน ก็เอา 800 หาร
 
จากผลที่ได้ ถ้าหารแบบสมัยใหม่โดยติดทศนิยม จะได้ว่าส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม นับ 0 ที่วันแรกของ จ.ศ. 0 ส่วนที่เป็นทศนิยม เป็นเศษส่วนของวันนับจาก 0 นาฬิกาของวันเถลิงศกไปหาเวลาเถลิงศก แต่ในสมัยโบราณการคำนวณด้วยทศนิยมเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ถ้าหารแบบติดเศษ แล้วเอาส่วนที่เป็นจำนวนเต็มบวก 1 ก็จะได้หรคุณเถลิงศก ส่วนที่เป็นเศษนั้นบอกถึงเวลานับแต่ 0 นาฬิกาไปหาเวลาเถลิงศกในหน่วยกัมมัช หากเอาไปหักลบออกจาก 800 ก็จะได้กัมมัชพลเถลิงศก หรือเวลาเป็นกัมมัชที่เหลือจนสิ้นวันเถลิงศก
 
การแปลงหรคุณเถลิงศกออกเป็นวันที่ในปฏิทิน อาศัยความรู้ที่ว่า ตาม[[ปฏิทินก่อนเกรโกเรียน]] (proleptic Gregorian calendar) วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 เวลา 00:00 น. มีค่าหรคุณจูเลียน (Julian day number) เป็น 1954167.5 จึงสามารถบวกหรคุณตามแบบสุริยยาตร์เข้ากับเกณฑ์ข้างต้นก่อนแปลงให้เป็นวันที่ต่อไป ดังนั้น หรคุณจูเลียนของวันเถลิงศกจึงหาได้ตามสูตร
 
:<code>JD วันเถลิงศก = [(292207* (พ.ศ.-1181) + 373)/800] + 1954167.5</code>
 
สำหรับวันมหาสงกรานต์นั้น ปกติให้ใช้วิธีการคำนวณตำแหน่งที่สังเกตได้จริงของดวงอาทิตย์ว่าเข้าสู่ราศีเมษ ณ วันเวลาใด แต่วิธีการข้างต้นเสียเวลามากและต้องทำตารางขนาดใหญ่ ไม่สะดวกนัก การแก้ปัญหาทำได้โดยการประมาณ โดยถอยหรคุณเถลิงศกไป 2 วัน 3 ชั่วโมง 57 นาที 36 วินาที (2.165 วัน หรือ 1732 กัมมัช) ดังนั้น สูตรหาหรคุณจูเลียนของวันมหาสงกรานต์ (โดยประมาณ) เป็นดังนี้
 
:<code>JD วันมหาสงกรานต์ = [(292207* (พ.ศ.-1181) - 1359)/800] + 1954167.5</code>
 
=== ตัวอย่างการคำนวณ ===
<!-- เดือนตุลาคมถึงธันวาคมแสดงของปีหน้า นอกนั้นแสดงของปีปัจจุบัน -->
จากขั้นตอนโดยสรุปข้างบน และความรู้ที่ว่าหรคุณจูเลียนแปลงเป็นวันที่ได้ (และในทางกลับกันวันที่ก็แปลงเป็นหรคุณจูเลียนได้) สามารถแสดงวิธีการคำนวณวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกของ{{#if:{{CURRENTMONTH}}>=10|ปีถัดไป|ปีนี้}}ได้ ดังนี้
<div align=center>
{{#if:{{CURRENTMONTH}}>=10|{{วิธีคำนวณสงกรานต์|{{#expr:{{CURRENTYEAR}}+1}}}}|{{วิธีคำนวณสงกรานต์}}}}
{{#if:{{CURRENTMONTH}}>=10|{{วิธีคำนวณเถลิงศก|{{#expr:{{CURRENTYEAR}}+1}}}}|{{วิธีคำนวณเถลิงศก}}}}
</div>
ขั้นตอนที่แสดงอาจดูซับซ้อนหากคำนวณด้วยมือ แต่หาก[[การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์|เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์]]หรือใช้[[สเปรดชีต]]ช่วย ก็จะคำนวณได้โดยไม่ยากเย็นนัก
=== ตารางวันมหาสงกรานต์และเถลิงศก ===
จากขั้นตอนการคำนวณข้างบน ทำให้สามารถทำตารางสรุปวันเวลาของวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกได้ ตารางต่อไปนี้เป็นวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกของปีนี้ ปีก่อนหน้าห้าปี และปีถัดไปอีกห้าปี สังเกตว่าบางปีจะมีเทศกาลสงกรานต์ตามที่คำนวณได้อยู่ทั้งหมดสี่วัน
 
<div align=center>{{ตารางวันมหาสงกรานต์}}
{{ตารางวันเถลิงศก}}</div>