ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 75:
{{ความหมายอื่น|||ญี่ปุ่น (แก้ความกำกวม)|ญี่ปุ่น}}
 
'''ประเทศญี่ปุ่น''' ({{ญี่ปุ่น|日本|Nihon/Nippon|นิฮง/นิปปง}}, ชื่ออย่างเป็นทางการ {{ญี่ปุ่น|日本国|Nihon-koku/Nippon-koku|นิฮงโกกุ/นิปปงโกกุ}}) เป็น[[รัฐเอกราช]]หมู่เกาะใน[[เอเชียตะวันออก]] ตั้งอยู่ใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]นอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับ[[คาบสมุทรเกาหลี]]และ[[ประเทศจีน]] โดยมี[[ทะเลญี่ปุ่น]]กั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับ[[ประเทศรัสเซีย]] มี[[ทะเลโอค็อตสค์]]เป็นเส้นแบ่งแดน
ร์และขีปนาวุธของประเทศเกาหลีเหนือ ภัยคุกคามข้ามชาติซึ่งมีเหตุจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมทั้งการก่อการร้ายระหว่างประเทศและการโจมตีไซเบอร์ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ<ref name="Japan's Security Policy">{{cite news |title= Japan's Security Policy |publisher= Ministry of Foreign Affairs of Japan |url=http://www.mofa.go.jp/policy/security/}}</ref> ประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งกองกำลังป้องกันตนเองได้เข้ามีส่วนร่วมอย่างถึงที่สุดในความพยายามธำรงและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
 
ตัวอักษร[[คันจิ]]ของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของ[[ดวงอาทิตย์]]" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะ[[กรวยภูเขาไฟสลับชั้น]]ซึ่งมีเกาะประมาณ [[รายชื่อเกาะของประเทศญี่ปุ่น|6,852 เกาะ]] เกาะใหญ่สุดคือ เกาะ[[ฮนชู]] [[ฮกไกโด]] [[คีวชู]] และ[[เกาะชิโกกุ|ชิโกกุ]] ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 [[จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น|จังหวัด]]ใน 8 [[ภูมิภาคของญี่ปุ่น|ภูมิภาค]] โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และ[[จังหวัดโอกินาวะ|โอกินาวะ]]เป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็น[[รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากร|อันดับ 10 ของโลก]] [[ชาวญี่ปุ่น]]เป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุง[[โตเกียว]]<ref>{{cite web|title=「東京都の人口(推計)」の概要(平成26年2月1日現在) (2014)|url=http://www.metro.tokyo.jp/INET/CHOUSA/2014/02/60o2r100.htm|work=Tokyo Metropolitan Government (JPN)|accessdate=March 20, 2014}}</ref> เมืองหลวงของประเทศ
 
การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่[[ยุคหินเก่า]] การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดใน[[เอเชียตะวันออก]] หลังจากแพ้[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490
 
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงปี 2411 ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบบทหาร[[ระบบเจ้าขุนมูลนาย|เจ้าขุนมูลนาย]][[โชกุน]]ซึ่งปกครองในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิ ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่[[ซะโกะกุ|ระยะแยกอยู่โดดเดี่ยว]]อันยาวนานในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งยุติในปี 2396 เมื่อกองเรือสหรัฐ[[บะกุมะสึ|บังคับให้ประเทศญี่ปุ่นเปิดต่อโลกตะวันตก]] หลังความขัดแย้งและการก่อการกำเริบภายในเกือบสองทศวรรษ ราชสำนักจักรวรรดิได้อำนาจทางการเมืองคืนในปี 2411 ผ่านการช่วยเหลือของหลายตระกูลจาก[[โชชู]]และซัตสึมะ และมีการสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชัยใน[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง]] [[สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น]]และ[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ทำให้ประเทศญี่ปุ่นขยายจักรวรรดิระหว่างสมัยแสนยนิยมเพิ่มขึ้น [[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง]]ปี 2480 ขยายเป็นบางส่วนของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ในปี 2484 ซึ่งยุติในปี 2488 นับแต่การลงมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับบทวนวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 ระหว่างการยึดครองของผู้บังคับบัญชาสูงสุดสำหรับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศญี่ปุ่นธำรงระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและราชาธิปไตยภายใต้รัฐรรมนูญโดยมีจักรพรรดิเป็นประมุขแห่งรัฐและสภานิติบัญญํติจากการเลือกตั้ง เรียก [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]
 
ประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิก[[สหประชาชาติ]] [[OECD]] [[จี7]] [[จี8]] และ[[จี20]] และถือเป็น[[มหาอำนาจ]]<ref>{{cite web|url=http://www.the-american-interest.com/2015/01/04/the-seven-great-powers/|title=The Seven Great Powers|publisher=American-Interest|accessdate=July 1, 2015}}</ref><ref name="Balance of Power">{{cite book|author1=T. V. Paul|author2=James J. Wirtz|author3=Michel Fortmann|title=Balance of Power|publisher=State University of New York Press, 2005|year=2005|location=United States of America|pages=59, 282|isbn=0-7914-6401-6|url=https://www.google.com/books?id=9jy28vBqscQC&pg=PA59&dq="Great+power"}} ''Accordingly, the great powers after the Cold War are Britain, China, France, Germany, Japan, Russia, and the United States'' p.59</ref><ref name="Joshua Baron">{{cite book|last1=Baron|first1=Joshua|title=Great Power Peace and American Primacy: The Origins and Future of a New International Order|date=January 22, 2014|publisher=Palgrave Macmillan|location=United States|isbn=1-137-29948-7}}</ref> มีเศรษฐกิจใหญ่เป็น[[รายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)|อันดับ 3 ของโลกตามจีดีพีราคาตลาด]] และอันดับ 4 ของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ และยังเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่สุดอันดับ 4 ของโลกด้วย ประเทศญี่ปุ่นมีกำลังแรงงานทักษะสูงและถือเป็นประเทศที่มีการศึกษาสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก โดยมีร้อยละของพลเมืองมีวุฒิการศึกษาขั้นตติยภูมิ (tertiary education) สูงสุดประเทศหนึ่งของโลก<ref name="OECD">{{cite web|title=OECD.Stat Education and Training > Education at a Glance > Educational attainment and labor-force status > Educational attainment of 25–64 year-olds|publisher=OECD|url=http://stats.oecd.org}}</ref> แม้ประเทศญี่ปุ่น[[มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น|สละสิทธิประกาศสงคราม]] แต่ยังมี[[กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น|กองทหารสมัยใหม่]]และมีงบกองทัพมากเป็นอันดับ 8 ของโลก<ref>{{cite web|url=http://www.sipri.org/research/armaments/milex/resultoutput/15majorspenders|title=SIPRI Yearbook 2012–15 countries with the highest military expenditure in 2011|publisher=Sipri.org|accessdate=April 27, 2013|deadurl=yes|archiveurl=https://web.archive.org/web/20100328104327/http://www.sipri.org/research/armaments/milex/resultoutput/15majorspenders|archivedate=March 28, 2010|df=mdy-all}}</ref> ซึ่งใช้สำหรับบทบาทป้องกันตนเองและรักษาสันติภาพ ประเทศญี่ปุ่นเป็น[[ประเทศพัฒนาแล้ว]]ที่มีมาตรฐานการครองชีพและ[[ดัชนีการพัฒนามนุษย์]]สูง ประชากรมีความคาดหมายคงชีพสูงสุดและมีอัตราการเสียชีวิตทารกต่ำสุดอันดับ 3 ในโลก ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่อง[[ภาพยนตร์ญี่ปุ่น|ภาพยนตร์]]ที่เก่าแก่และกว้างขวาง [[อาหารญี่ปุ่น|อาหารหลากชนิด]]และการเข้ามีส่วนร่วมสำคัญในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบัน<ref>{{cite web|url=http://apps.who.int/gho/data/node.main.688?lang=en|title=WHO Life expectancy |publisher=World Health Organization|date=June 1, 2013|accessdate=June 1, 2013}}</ref><ref name="Table A.17">{{cite web|title=Table A.17|url=https://www.un.org/esa/population/publications/wpp2006/WPP2006_Highlights_rev.pdf|work=United Nations World Population Prospects'', 2006 revision''|publisher=UN|accessdate=January 15, 2011}}</ref>
 
== ชื่อประเทศ ==
ในภาษาญี่ปุ่น ชื่อประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า นิปปง (にっぽん) หรือ นิฮง (にほん) ซึ่งใช้[[คันจิ]]ตัวเดียวกันคือ '''日本''' คำว่า''นิปปง'' มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนคำว่า ''นิฮง'' จะเป็นศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป
 
สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (日本) " ตั้งแต่ช่วงปลาย[[พุทธศตวรรษที่ 12]] จนถึงกลาง[[พุทธศตวรรษที่ 13]]<ref>เช่น 熊谷公男 『大王から天皇へ 日本の歴史03』(講談社、2001) และ 吉田孝 『日本誕生』(岩波新書、1997)</ref><ref>เช่น 神野志隆光『「日本」とは何か』(講談社現代新書、2005)</ref> ตัวอักษร[[คันจิ]]ของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า''ถิ่นกำเนิดของ[[ดวงอาทิตย์]]'' และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่า''ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย'' ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับ[[ราชวงศ์สุย]]ของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน<ref>เช่น 網野善彦『「日本」とは何か』(講談社、2000)、神野志前掲書</ref> ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ<ref>{{cite web|url=http://www.lang.nagoya-u.ac.jp/proj/sosho/5/maeno.pdf|title=国号に見る「日本」の自己意識|author=前野みち子}}</ref>
 
ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน ({{lang-en|Japan}}), ยาพัน ({{lang-de|Japan}}), ฌาปง ({{lang-fr|Japon}}), ฆาปอน ({{lang-es|Japón}}) รวมถึงคำว่า '''ญี่ปุ่น''' ในภาษาไทย น่าจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋วที่ออกเสียงว่า "ยิดปุ่น" ([[หมิ่นหนาน|ฮกเกี้ยน]]) หรือ "หยิกปึ้ง" ([[สำเนียงแต้จิ๋ว|แต้จิ๋ว]]) ทั้งหมดล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่า "จีปังกู" แต่ในสำเนียง[[แมนดาริน]]อ่านว่า รื่อเปิ่นกั๋ว ({{zh-all|t=日本国|p=Rìběn'guó}}) หรือย่อ ๆ ว่า รื่อเปิ่น ({{zh-all|t=日本|p=Rìběn}}) <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|zh-TW&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-จีน)]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}} {{en icon}}</ref> ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี ออกเสียงว่า "อิลบน" ({{lang-ko|일본}}; 日本 ''Ilbon'') <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|ko&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-เกาหลี)]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}} {{en icon}}</ref> และภาษาเวียดนาม ที่ออกเสียงว่า "เหญิ่ตบ๋าน" ({{lang-vi|Nhật Bản}}, 日本)<ref>ก่อนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เวียดนามใช้ตัวอักษรจีน</ref> จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง
 
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Satellite View of Japan 1999.jpg|thumb|ภาพ[[กลุ่มเกาะญี่ปุ่น]]ถ่ายจากดาวเทียม]]
 
ประเทศญี่ปุ่นมีเกาะรวม 6,852 เกาะ ทอดตามชายฝั่งแปซิฟิกของเอเชียตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นรวมทุกเกาะตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 24 องศา และ 46 องศาเหนือ และลองติจูด 122 องศา และ 146 องศาตะวันออก หมู่เกาะหลักไล่จากเหนือลงใต้ ได้แก่ [[ฮกไกโด]] [[ฮนชู]] [[ชิโกกุ]] และ[[คีวชู]] [[หมู่เกาะรีวกีว]]รวมทั้ง[[เกาะโอกินาวะ]]เรียงกันอยู่ทางใต้ของคีวชู รวมกันมักเรียกว่า [[กลุ่มเกาะญี่ปุ่น]]<ref>{{cite book|last=McCargo|first=Duncan|title=Contemporary Japan|year=2000|publisher=Macmillan|isbn=0-333-71000-2 |pages=8–11}}</ref>
 
พื้นที่ประมาณร้อยละ 73 ของประเทศญี่ปุ่นเป็นป่าไม้ ภูเขาและไม่เหมาะกับการใช้ทางการเกษตร อุตสาหกรรม หรือการอยู่อาศัย<ref>{{cite web|title=Japan|url=https://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/4142.htm|publisher=US Department of State|accessdate=January 16, 2011}}</ref> ด้วยเหตุนี้ เขตอยู่อาศัยได้ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณชายฝั่งเป็นหลัก จึงมีความหนาแน่นของประชากรสูงมาก ประเทศญี่ปุ่นเป็น[[รายชื่อประเทศเรียงตามความหนาแน่นประชากร|ประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงสุดของโลกประเทศหนึ่ง]]<ref>{{cite web |url=http://esa.un.org/unpp/ |title=World Population Prospects |publisher=''[[United Nations Department of Economic and Social Affairs|UN Department of Economic and Social Affairs]]'' |accessdate=March 27, 2007 |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070321013235/http://esa.un.org/unpp/ <!--Added by H3llBot--> |archivedate=March 21, 2007}}</ref>
 
เกาะต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตภูเขาไฟบน[[วงแหวนไฟ|วงแหวนไฟแปซิฟิก]] รอยต่อสามโบะโซะ (Boso Triple Junction) นอกชายฝั่งญี่ปุ่นเป็นรอยต่อสามที่[[แผ่นอเมริกาเหนือ]] [[แผ่นแปซิฟิก]]และ[[แผ่นทะเลฟิลิปปิน]]บรรจบกัน ประเทศญี่ปุ่นเดิมติดกับชายฝั่งตะวันออกของ[[ทวีปยูเรเชีย]] แต่แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงดึงประเทศญี่ปุ่นไปทางตะวันออก เปิด[[ทะเลญี่ปุ่น]]เมื่อประมาณ 15 ล้านปีก่อน<ref>{{cite web|url=http://shinku.nichibun.ac.jp/jpub/pdf/jr/IJ1501.pdf|last=Barnes|first=Gina L.|title=Origins of the Japanese Islands|publisher=[[University of Durham]]|year=2003|accessdate=August 11, 2009}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ 108 ลูก ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีภูเขาไฟใหม่เกิดขึ้นหลายลูก รวมทั้งโชวะ-ชินซันบนฮกไกโดและเมียวจิน-โชนอกหินบายองเนสในมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวทำลายล้างซึ่งมักทำให้เกิด[[คลื่นสึนามิ]]ตามมาหลายครั้งทุกศตวรรษ<ref>{{cite web |url=http://volcano.und.edu/vwdocs/volc_images/north_asia/japan_tec.html |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070204064754/http://volcano.und.edu/vwdocs/volc_images/north_asia/japan_tec.html |archivedate=February 4, 2007 |title=Tectonics and Volcanoes of Japan |publisher=Oregon State University |accessdate=March 27, 2007}}</ref> [[แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466]] ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140,000 คน<ref>{{cite web|last=James |first=C.D. |title=The 1923 Tokyo Earthquake and Fire |url=http://nisee.berkeley.edu/kanto/tokyo1923.pdf |publisher=University of California Berkeley |accessdate=January 16, 2011 |year=2002 |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070316050633/http://nisee.berkeley.edu/kanto/tokyo1923.pdf |archivedate=March 16, 2007 |df= }}</ref> แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุด ได้แก่ [[แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538]] และ[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554|แผ่นดินไหวในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554]] ซึ่งมีขนาด 9.1 และทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ดัชนีความเสี่ยงโลกปี 2556 จัดให้ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงภัยธรรมชาติสูงสุดอันดับที่ 15<ref name="2013 World Risk Report">[http://www.worldriskreport.com/uploads/media/WorldRiskReport_2013_online_01.pdf 2013 World Risk Report] {{webarchive |url=https://web.archive.org/web/20140816173655/http://www.worldriskreport.com/uploads/media/WorldRiskReport_2013_online_01.pdf |date=August 16, 2014 }}</ref>
 
=== ภูมิอากาศ ===
ภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอบอุ่นเป็นหลัก แต่มีความแตกต่างกันมากตั้งแต่เหนือจดใต้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นหกเขตภูมิอากาศหลัก ได้แก่ ฮกไกโด ทะเลญี่ปุ่น ที่สูงภาคกลาง [[ทะเลเซโตะใน]] มหาสมุทรแปซิฟิกและ[[หมู่เกาะรีวกีว]]
 
เขตเหนือสุด ฮกไกโด มีภูมิอากาศแบบทวีปชื้นที่มีฤดูหนาวเย็นและยาวนาน และมีฤดูร้อนอุ่นมากถึงเย็น [[หยาดน้ำฟ้า]]ไม่หนัก แต่หมู่เกาะมักมีกองหิมะลึกในฤดูหนาว ในเขตทะเลญี่ปุ่นตรงชายฝั่งตะวันตกของฮนชู ลมฤดูหนาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือนำให้หิมะตกหนัก ในฤดูร้อน ภูมิภาคนี้เย็นกว่าเขตแปซิฟิก แม้บางครั้งมีอุณหภูมิร้อนจัดเนื่องจาก[[ลมเฟิน]] (foehn) เขตที่สูงภาคกลางเป็นภูมิอากาศแบบทวีปชื้นในแผ่นดินตรงแบบ มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนมีความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนมาก หยาดน้ำฟ้าเบาบาง แม้ฤดูหนาวปกติมีหิมะตก เขตภูเขา[[ชูโงกุ]]และ[[เกาะชิโกกุ]]กั้นทะเลในแผ่นดินเซโตะจากลมตามฤดูกาล ทำให้มีลมฟ้าอากาศไม่รุนแรงตลอดปี ชายฝั่งแปซิฟิกมีลักษณะภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้นซึ่งมีฤดูหนาวไม่รุนแรง มีหิมะตกบางครั้ง และฤดูร้อนที่ร้อนชื้นเนื่องจากลมฤดูกาลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะรีวกีวมีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน โดยมีฤดูหนาวอบอุ่นและฤดูร้อนร้อน หยาดน้ำฟ้าหนักมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างฤดูฝน<ref name=autogenerated2>{{cite book|last=Karan|first=Pradyumna Prasad|title=Japan in the 21st century|year=2005|publisher=University Press of Kentucky|isbn=0-8131-2342-9|pages=18–21, 41|author2=Gilbreath, Dick}}</ref>
 
อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 5.1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ 25.2 องศาเซลเซียส<ref>{{cite web|title=Climate|url=http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/essential/climate.html|publisher=[[Japan National Tourism Organization|JNTO]]|accessdate=March 2, 2011}}</ref> อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 41.0 องศาเซลเซียส ซึ่งมีบันทึกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2556<ref>{{cite web|url=http://ds.data.jma.go.jp/tcc/tcc/news/press_20130813.pdf |title=Extremely hot conditions in Japan in midsummer 2013
|publisher=Tokyo Climate Center, Japan Meteorological Agency |date=August 13, 2013 |accessdate=August 3, 2017}}</ref> ฤดูฝนหลักเริ่มในต้นเดือนพฤษภาคมในโอกินาวะ และแนวฝนจะค่อย ๆ เคลื่อนขึ้นเหนือจนถึงฮกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม ในฮนชูส่วนใหญ่ ฤดูฝนเริ่มก่อนกลางเดือนมิถุนายนและกินเวลาประมาณหกสัปดาห์ ในปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง พายุไต้ฝุ่นมักนำพาฝนตกหนักมา<ref name="climate">{{cite web |url=http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/essential/climate.html |title=Essential Info: Climate |publisher=[[Japan National Tourism Organization|JNTO]] |accessdate=April 1, 2007}}</ref>
 
=== ความหลากหลายทางชีวภาพ ===
[[ไฟล์:Jigokudani hotspring in Nagano Japan 001.jpg|thumb|left|[[ลิงกังญี่ปุ่น]]ที่[[Jigokudani Monkey Park|บ่อน้ำพุร้อนจิโกะคุดะนิ]]มีชื่อเสียงว่าเข้าสปาในฤดูหนาว]]
ประเทศญี่ปุ่นมีเขตชีวภาพป่าเก้าเขตซึ่งสะท้อนภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีตั้งแต่ป่าใบกว้างชื้นกึ่งเขตร้อนในหมู่เกาะรีวกีวและ[[หมู่เกาะโอะงะซะวะระ]] จนถึงป่าผสมและใบกว้างเขตอุบอุ่นในเขตภูมิอากาศไม่รุนแรงในหมู่เกาะหลัก จนถึงป่าสนเขาเขตอบอุ่นในส่วนฤดูหนาวหนาวเย็นในเกาะทางเหนือ ประเทศญี่ปุ่นมีสัตว์ป่ากว่า 90,000 ชนิด รวมทั้ง[[หมีสีน้ำตาล]] [[ลิงกังญี่ปุ่น]] [[ทะนุกิ]] หนูนาญี่ปุ่นใหญ่ และ[[ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น]] มีการตั้งเครือข่ายอุทยานแห่งชาติขนาดใหญ่เพื่อคุ้มครองพื้นที่สำคัญของพืชและสัตว์ตลอดจนเขตพื้นที่ชุ่มน้ำตาม[[อนุสัญญาแรมซาร์]]สามสิบเจ็ดแห่ง มีสี่แห่งลงทะเบียนใน[[รายการแหล่งมรดกโลกในประเทศญี่ปุ่น|รายการมรดกโลกของยูเนสโก]]
 
=== สิ่งแวดล้อม ===
ในช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นโยบายสิ่งแวดล้อมถูกรัฐบาลและบริษัทอุตสาหกรรมลดความสำคัญ ผลทำให้มี[[สี่โรคสิ่งแวดล้อมใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น|มลภาวะสิ่งแวดล้อม]]แพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 เพื่อสนองต่อความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงริเริ่มกฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหลายฉบับในปี 2513<ref>{{cite web|script-title=ja:日本の大気汚染の歴史 |url=http://www.erca.go.jp/taiki/history/ko_syousyu.html |publisher=Environmental Restoration and Conservation Agency |accessdate=March 2, 2014 |language=Japanese |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20110501085231/http://www.erca.go.jp/taiki/history/ko_syousyu.html |archivedate=May 1, 2011}}</ref> วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ยังส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ<ref>{{cite web|last=Sekiyama|first=Takeshi|title=Japan's international cooperation for energy efficiency and conservation in Asian region|url=http://nice.erina.or.jp/en/pdf/C-SEKIYAMA.pdf|archiveurl=https://web.archive.org/web/20080216005103/http://nice.erina.or.jp/en/pdf/C-SEKIYAMA.pdf|archivedate=February 16, 2008|publisher=Energy Conservation Center|accessdate=January 16, 2011}}</ref> ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้แก่ มลภาวะทางอากาศในเมือง การจัดการขยะ ยูโทรฟิเคชันน้ำ การอนุรักษ์ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การจัดการเคมีและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์<ref>{{cite web|title=Environmental Performance Review of Japan|url=http://www.oecd.org/dataoecd/0/17/2110905.pdf|publisher=[[Organisation for Economic Co-operation and Development|OECD]]|accessdate=January 16, 2011}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นจัดอยู่ในอันดับที่ 39 ในดัชนีสมรรถนะสิ่งแดวล้อมปี 2559 ซึ่งวัดความผูกมัดของประเทศต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม<ref>{{cite web|title=Environmental Performance Index: Japan|url=http://epi.yale.edu/country/japan|publisher=Yale University|accessdate=April 19, 2016}}</ref> ในฐานะเจ้าภาพและผู้ลงนาม[[พิธีสารเกียวโต]]ปี 2540 ประเทศญี่ปุ่นอยู่ภายใต้ข้อผูกพันตามสนธิสัญญาในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และใช้วิธีการเพิ่มเติมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ<ref>{{cite news |url=https://www.reuters.com/article/idUST191967 |title=Japan sees extra emission cuts to 2020 goal – minister |date=June 24, 2009 |agency=Reuters}}</ref>
 
== ประวัติศาสตร์ ==
{{บทความหลัก|ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น}}
=== ยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์โบราณ ===
[[ไฟล์:MiddleJomonVessel.JPG|thumb|150px|เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง|left]]
วัฒนธรรม[[ยุคหินเก่า]]ประมาณ 30,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์บนกลุ่มเกาะญี่ปุ่นครั้งแรกเท่าที่ทราบ หลังจากนั้นเป็น[[ยุคโจมง]]เมื่อประมาณ 14,000 ปีก่อน ค.ศ. ที่มีวัฒนธรรมนักล่าสัตว์หาของป่ากึ่งอยู่กับที่[[ยุคหินกลาง]]ถึง[[ยุคหินใหม่]] ซึ่งมีลักษณะโดยการอาศัยอยู่ในหลุมและเกษตรกรรมเรียบง่าย<ref>{{cite web|url=http://www.pitt.edu/~annj/courses/notes/jomon_genes.html|title=Jomon Genes|last=Travis|first=John|publisher=University of Pittsburgh|accessdate=January 15, 2011}}</ref> รวมทั้งบรรพบุรุษของ[[ชาวไอนุ]]และ[[ชาวยะมะโตะ]]ร่วมสมัยด้วย<ref>{{cite journal|last=Matsumara|first=Hirofumi; Dodo, Yukio|url=https://www.jstage.jst.go.jp/article/ase/117/2/117_080325/_article |title=Dental characteristics of Tohoku residents in Japan: implications for biological affinity with ancient Emishi|journal=Anthropological Science|year=2009|volume=117|issue=2|pages=95–105|doi=10.1537/ase.080325|last2=Dodo|first2=Yukio}}</ref><ref>{{cite journal|last=Hammer|first=Michael F.|url=http://www.nature.com/jhg/journal/v51/n1/abs/jhg20068a.html |title=Dual origins of the Japanese: common ground for hunter-gatherer and farmer Y chromosomes|journal=Journal of Human Genetics|year=2006|volume=51|issue=1|pages=47–58|doi=10.1007/s10038-005-0322-0|pmid=16328082|last2=Karafet|first2=TM|last3=Park|first3=H|last4=Omoto|first4=K|last5=Harihara|first5=S|last6=Stoneking|first6=M|last7=Horai|first7=S|display-authors=etal}}</ref> เครื่องดินเผาตกแต่งจากยุคนี้ยังเป็นตัวอย่างเครื่องดินเผาเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ยังเหลือรอดในโลกด้วย ประมาณ 300 ปีก่อน ค.ศ. ชาวยะโยะอิเริ่มเข้าสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น ผสมผสานกับโจมอน<ref>{{cite book|last=Denoon|first=Donald; Hudson, Mark|title=Multicultural Japan: palaeolithic to postmodern|publisher=Cambridge University Press|year=2001|isbn=0-521-00362-8|pages=22–23}}</ref> [[ยุคยะโยะอิ]]ซึ่งเริ่มตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อน ค.ศ. มีการริเริ่มการปฏิวัติอย่างการทำนาข้าวเปียก<ref>{{cite web|title=Road of rice plant|url=http://www.kahaku.go.jp/special/past/japanese/ipix/5/5-25.html|archiveurl=https://web.archive.org/web/20110430010530/http://www.kahaku.go.jp/special/past/japanese/ipix/5/5-25.html|archivedate=April 30, 2011|publisher=[[National Science Museum of Japan]]|accessdate=January 15, 2011}}</ref> เครื่องดินเผาแบบใหม่<ref>{{cite web|title=Kofun Period|url=http://www.metmuseum.org/toah/hd/kofu/hd_kofu.htm|publisher=Metropolitan Museum of Art|accessdate=January 15, 2011}}</ref> และโลหะวิทยาที่รับมาจากจีนและเกาหลี<ref>{{cite web|title=Yayoi Culture|url=http://www.metmuseum.org/toah/hd/yayo/hd_yayo.htm|publisher=Metropolitan Museum of Art|accessdate=January 15, 2011}}</ref>
 
ญี่ปุ่นปรากฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ลายลักษณ์อักษรใน[[ฮั่นซู]] (บันทึกประวัติศาสตร์ฮั่น) ของจีน<ref>{{cite book |last=Takashi |first=Okazaki |last2=Goodwin |first2=Janet |title=The Cambridge history of Japan, Volume 1: Ancient Japan |year=1993 |publisher=Cambridge University Press |location=Cambridge |isbn=0-521-22352-0 |page=275 |chapter=Japan and the continent}}</ref> ตามบันทึกสามก๊ก ราชอาณาจักรทรงอำนาจที่สุดในกลุ่มเกาะญี่ปุ่นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 เรียก ยะมะไตโกะกุ มีกาเผยแผ่[[ศาสนาพุทธ]] เข้าประเทศญี่ปุ่นจาก[[อาณาจักรแพ็กเจ]] (เกาหลีปัจจุบัน) และได้รับอุปถัมภ์โดย[[เจ้าชายโชโตะกุ]] และการพัฒนา[[ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น|ศาสนาพุทธญี่ปุ่น]]ในเวลาต่อมาได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก<ref>{{cite book |editor=Brown, Delmer M.|year=1993 |title=The Cambridge History of Japan |publisher=Cambridge University Press |pages=140–149}}</ref> แม้มีการต่อต้านในช่วงแรก แต่ศาสนาพุทธได้รับการส่งเสริมจากชนชั้นปกครองและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในช่วงต้น[[ยุคอะซุกะ]] (ค.ศ. 592–710)<ref>{{cite book |title=The Japanese Experience: A Short History of Japan |first=William Gerald|last=Beasley |publisher=University of California Press |year=1999 |page=42 |isbn=0-520-22560-0}}</ref>
 
[[ยุคนาระ]] (พ.ศ. 1253–1337) มีการกำเนิดรัฐญี่ปุ่นแบบรวมอำนาจปกครองโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักจักรพรรดิใน[[เฮโจเกียว]] ([[จังหวัดนาระ]]ปัจจุบัน) ยุคนาระเริ่มมีวรรณคดีตลอดจนการพัฒนาศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ<ref>{{cite book |first=Conrad|last=Totman |year=2002 |title=A History of Japan |publisher=Blackwell |pages=64–79 |isbn=978-1-4051-2359-4}}</ref> การระบาดของ[[โรคฝีดาษ]]ในปี 1278–1280 เชื่อว่าฆ่าประชากรญี่ปุ่นไปมากถึงหนึ่งในสาม<ref>{{cite book|last=Hays|first=J.N.|title=Epidemics and pandemics: their impacts on human history|year=2005|publisher=[[ABC-CLIO]]|isbn=1-85109-658-2|page=31}}</ref> ในปี 1327 [[จักรพรรดิคัมมุ]]ย้ายเมืองหลวงจากนาระไป[[นะงะโอกะเกียว]] และ[[เฮอังเกียว]] ([[เกียวโต (นคร)|นครเกียวโต]]ปัจจุบัน) ในปี 1337
 
นับเป็นจุดเริ่มต้นของ[[ยุคเฮอัง]] (พ.ศ. 1337–1728) ซึ่งวัฒนธรรมญี่ปุ่นเฉพาะถิ่นชัดเจนกำเนิด โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ศิลปะ กวีและร้อยแก้ว [[ตำนานเก็นจิ]]ของ[[มุราซากิ ชิคิบุ]] และ "[[คิมิงะโยะ]]" เนื้อร้องเพลงชาติประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ก็มีการเขียนขึ้นในช่วงนี้<ref>{{cite book |first=Conrad|last=Totman |year=2002 |title=A History of Japan |publisher=Blackwell |pages=79–87, 122–123 |isbn=978-1-4051-2359-4}}</ref>
 
ศาสนาพุทธเริ่มแพร่ขยายระหว่าง[[ยุคเฮอัง]] ผ่านสองนิกายหลัก ได้แก่ เท็งไดและชินงน [[สุขาวดี (นิกาย)|สุขาวดี]] (โจโดะชู โจโดะชินชู) ได้รับความนิยมมากกว่าในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 11
 
=== ยุคเจ้าขุนมูลนาย ===
[[ไฟล์:Mōko Shūrai Ekotoba 2.jpg|thumb|นักรบซะมุไรสู้รบกับมองโกลระหว่างการบุกครองญี่ปุ่นของมองโกล ([[Takezaki Suenaga|Suenaga]], 1836)]]
[[ไฟล์:Japan Kyoto Kinkakuji DSC00108.jpg|thumb|220px|[[วัดคิงกะกุ]] ในเมือง[[เกียวโต]]]]
 
ยุคเจ้าขุนมูลนายของญี่ปุ่นมีลักษณะจากการถือกำเนิดและการครอบงำของชนชั้นนักรบ[[ซะมุไร]] ใน พ.ศ. 1728 [[จักรพรรดิโกะ-โทะบะ]]ทรงแต่งตั้งซะมุไร [[มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ]] เป็น[[โชกุน]] หลังพิชิต[[ตระกูลไทระ]]ใน[[สงครามเก็มเป]] โยะริโตะโมะตั้งฐานอำนาจใน[[คะมะกุระ]] หลังเขาเสียชีวิต [[ตระกูลโฮโจ]]เถลิงอำนาจเป็น[[ชิกเก็ง|ผู้สำเร็จราชการให้โชกุน]] มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธสำนักเซนจากจีนใน[[ยุคคะมะกุระ]] (พ.ศ. 1728–1876) และได้รับความนิยมในชนชั้นซะมุไร [[รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ]]ขับไล่การบุกครองของมองโกลสองครั้งใน พ.ศ. 1817 และ 1824 แต่สุดท้ายถูก[[จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ]]โค่นล้ม ส่วนจักรพรรดิโกะ-ไดโงะก็ถูก[[อะชิกะงะ ทะกะอุจิ]]พิชิตอีกทอดหนึ่งใน พ.ศ. 1879
 
อะชิกะงะ ทะกะอุจิตั้งรัฐบาลโชกุนในมุโระมะชิ จังหวัดเกียวโต เป็นจุดเริ่มต้นของ[[ยุคมุโระมะชิ]] (พ.ศ. 1879–2116) [[รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ]]รุ่งเรืองในสมัยของ[[อะชิกะงะ โยะชิมิสึ]] และวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนศาสนาพุทธแบบเซ็น (ศิลปะ[[มิยะบิ (ศิลปะ)|มิยะบิ]]) แพร่กระจาย ต่อมาศิลปะมิยะบิวิวัฒน์เป็นวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ และเจริญจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21–22) อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะสมัยต่อมาไม่สามารถควบคุมขุนศึกเจ้าขุนมูลนาย ([[ไดเมียว]]) ได้ และเกิดสงครามกลางเมือง ([[สงครามโอนิน]]) ใน พ.ศ. 2010 เปิดฉาก[[ยุคเซ็งโงะกุ]] ("รณรัฐ") ยาวนานนับศตวรรษ
 
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีพ่อค้าและ[[มิชชันนารี]][[คณะเยสุอิต]]จากประเทศโปรตุเกสเดินทางถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก ([[การค้านัมบัน]]) โดยตรง ทำให้[[โอะดะ โนะบุนะงะ]]ได้เทคโนโลยีและอาวุธปืนยุโรปซึ่งเขาใช้พิชิตไดเมียวคนอื่นหลายคน การรวบอำนาจของเขาเริ่ม[[ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ]] (พ.ศ. 2116–2146) หลังโนะบุนะงะถูก[[อะเกะชิ มิสึฮิเดะ]]ลอบฆ่าใน พ.ศ. 2125 [[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ]] ผู้สืบทอดของโนะบุนะงะ รวมประเทศใน พ.ศ. 2133 และเปิดฉาก[[การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)|บุกครองเกาหลี]] 2 ครั้งใน พ.ศ. 2135 และ 2140 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
 
หลังฮิเดะโยะชิถึงแก่อสัญกรรม [[โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ]]ตั้งตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนบุตรของฮิเดะโยะชิและใช้ตำแหน่งให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะซุเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ใน[[ยุทธการที่เซะกิงะฮะระ]]ใน พ.ศ. 2143 ต่อมาใน พ.ศ. 2146 [[จักรพรรดิโกะ-โยเซ]]จึงทรงแต่งตั้งเขาเป็นโชกุน เขาตั้ง[[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]]ใน[[เอะโดะ]] (กรุง[[โตเกียว]]ปัจจุบัน) รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะออกมาตรการซึ่งรวมบุเกะโชะฮัตโตะเป็นจรรยาบรรณสำหรับควบคุมไดเมียวอัตตาณัติ และนโยบาย[[ซะโกะกุ]] ("ประเทศปิด") ใน พ.ศ. 2182 ซึ่งกินเวลานานสองศตวรรษครึ่งและเป็นยุคเอกภาพทางการเมืองที่เรียก [[ยุคเอะโดะ]] (พ.ศ. 2146–2411) การศึกษาศาสตร์ตะวันตก ที่เรียก [[รังงะกุ]] ยังคงมีต่อผ่านการติดต่อกับดินแดนแทรกของเนเธอร์แลนด์ที่[[เดจิมะ]]ใน[[นางาซากิ]] ยุคเอะโดะยังทำให้โคะกุงะกุ ("การศึกษาชาติ") หรือการศึกษาประเทศญี่ปุ่นโดยคนญี่ปุ่น เจริญด้วย
 
=== ยุคใหม่ ===
[[ไฟล์:Meiji tenno1.jpg|thumb|upright|left|[[สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ]] มีการฟื้นฟูการปกครองแบบจักรวรรดิในช่วงปลาย[[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]]]]
 
วันที่ 31 มีนาคม 2397 [[แมทธิว ซี. เพอร์รี|พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี]] และ "[[เรือดำ]]" แห่งกองทัพเรือสหรัฐบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศต่อโลกภายนอกด้วย[[สนธิสัญญาคานางาวะ]] สนธิสัญญาคล้ายกันกับประเทศตะวันตกในยุค[[บะกุมะสึ]]นำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง การลาออกของโชกุนนำสู่[[สงครามโบะชิง]] และการสถาปนารัฐรวมอำนาจปกครองที่เป็นเอกภาพในนามภายใต้จักรพรรดิ ([[การฟื้นฟูเมจิ]])<ref>{{cite book|title=JAPAN From Prehistory to Modern Times|author=John Whitney Hall|publisher =Charles E. Tuttle Company|page=262-264|date=1971}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นรับสถาบันการเมือง ตุลาการและทหารแบบตะวันตกและอิทธิพลทางวัฒนธรรมตะวันตกรวมเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมขปงะเรทศสำหรับการกลายเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นตะวันตกระหว่างการฟื้นฟูเมจิในปี 2411 คณะรัฐมนตรีจัดตั้งคณะองคมนตรี ริเริ่ม[[รัฐธรรมนูญเมจิ]] และเรียกประชุม[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] การฟื้นฟูเมจิเปลี่ยนจักรวรรดิญี่ปุ่นให้เป็นมหาอำนาจอุตสาหกรรมซึ่งมุ่งใช้ความขัดแย้งทางทหารเพื่อขยายเขตอิทธิพลของตน หลังคว้าชัยใน[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง]] (พ.ศ. 2437–2438) และ[[สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น]] (พ.ศ. 2447–2448) ประเทศญี่ปุ่นเข้าควบคุมไต้หวัน เกาหลีและครึ่งใต้ของ[[เกาะซาฮาลิน]] ประชากรญี่ปุ่นเพิ่มจาก 35 ล้านคนในปี 2416 เป็น 70 ล้านคนในปี 2478
 
[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตในทวีปเอเชียต่อไปอีก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีช่วง "ประชาธิปไตยไทโช" (พ.ศ. 2455–2469) แต่คริสต์ทศวรรษ 1920 (ประมาณพุทธทศวรรษ 2460) ประชาธิปไตยที่เปราะบางตกอยู่ภายใต้การเลื่อนทางการเมืองสู่[[ฟาสซิสต์]] มีการผ่านกฎหมายปราบปรามการเห็นต่างทางการเมืองและมีความพยายามรัฐประหารหลายครั้ง "[[ยุคโชวะ]]" ต่อมาอำนาจของกองทัพเริ่มเพิ่มขึ้นและนำญี่ปุ่นสู่การขยายอาณาเขตและการเสริมสร้างแสนยานุภาพ ตลอดจนเผด็จการเบ็ดเสร็จและ[[ลัทธิคลั่งชาติ]]ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ฟาสซิสต์ ในปี 2474 ประเทศญี่ปุ่นบุกครองและยึดครอง[[แมนจูเรีย]] เมื่อนานาชาติประณามการครอบครองนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็ลาออกจาก[[สันนิบาตชาติ]]ในปี 2476<ref>{{cite web|url=http://www.drc-jpn.org/AR-6E/sugiyama-e02.htm|title=Fundamental Issues underlying US-Japan Alliance: 2. Lytton Report and Anglo-Russo-Americana (ARA) Secret Treaty|publisher=Defense Research Center|author=Katsumi Sugiyama}}{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ในปี 2479 ญี่ปุ่นลงนาม[[กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น]]กับ[[นาซีเยอรมนี]] และ[[กติกาสัญญาไตรภาคี]]ในปี 2483 เข้าร่วมกับ[[ฝ่ายอักษะ]]<ref>{{cite web |url= http://www.friesian.com/pearl.htm |title= The Pearl Harbor Strike Force |author= Kelley L. Ross | publisher = friesian.com |accessdate=2007-03-27}}</ref> หลังพ่ายใน[[ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น|สงครามชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น]]ที่กินเวลาสั้น ๆ ประเทศญี่ปุ่นเจรจา[[กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น]] ซึ่งกินเวลาถึงปี 2488 เมื่อ[[การบุกครองแมนจูเรียของโซเวียต|สหภาพโซเวียตบุกครองแมนจูเรีย]]
 
[[ไฟล์:Nagasakibomb.jpg|thumb|right|[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโรชิมะและนางาซากิ|ระเบิดนิวเคลียร์แฟทแมนที่ถูกทิ้งลงนางาซากิ]]ในวันที่ 9 สิงหาคม 2488]]
ในยุค[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ [[สงครามมหาเอเชียบูรพา]]) ในวันที่ [[7 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2484]] โดย[[การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์|การโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล]] และการยาตราทัพเข้ามายัง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและ[[เนเธอร์แลนด์]] ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจาก[[ยุทธนาวีแห่งมิดเวย์]] ([[พ.ศ. 2485]]) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]โดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ[[ระเบิดปรมาณู]]ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่[[เมืองฮิโรชิมา]]และ[[นางาซากิ]] (ในวันที่ [[6 สิงหาคม|6]] และ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]] ตามลำดับ) และ[[ปฏิบัติการพายุสิงหาคม|การรุกรานของสหภาพโซเวียต]] (วันที่ [[8 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]]) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ [[15 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน<ref>{{cite web |url=http://library.educationworld.net/txt15/surrend1.html |title=Japanese Instrument of Surrender |publisher=educationworld.net |accessdate=2008-11-22}}</ref> สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่ง[[พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์]]เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ
 
ปี 2490 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น|รัฐธรรมนูญฉบับใหม่]]ซึ่งเน้นวัตร[[ประชาธิปไตยเสรีนิยม]] [[การยึดครองญี่ปุ่น]]ของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนาม[[สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก]]ในปี 2499<ref>{{cite web|url=http://www.taiwandocuments.org/sanfrancisco01.htm|title=San Francisco Peace Treaty|publisher=Taiwan Document Project|accessdate=2008-11-22}}</ref> และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิก[[สหประชาชาติ]]ในปี 2499<ref>{{cite web|url=http://www.un.org/News/Press/docs/2006/org1469.doc.htm|title=United Nations Member States|publisher=[[สหประชาชาติ]]|accessdate=2008-11-22}}</ref> หลังสงคราม ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จนถูกประเทศจีนแซงในปี 2553 แต่การเติบโตดังกล่าวหยุดในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อญี่ปุ่นประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย<ref name="webeco">{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/ECONOMY.pdf|title=Japan Fact Sheet: Economy|publisher=Web Japan|accessdate=2008-11-22}}{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 การเติบโตทางบวกส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป<ref>{{cite news |url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/business/5178822.stm |title=Japan scraps zero interest rates |publisher=BBC News |date=July 14, 2006 |accessdate=December 28, 2006}}</ref> วันที่ 11 มีนาคม 2554 ประเทศญี่ปุ่นประสบ[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554|แผ่นดินไหวครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ]] ซึ่งยังส่งผลให้เกิด[[ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิชิ]]
 
== การเมือง ==
{| class="wikitable" style="text-align:left; float:right; margin-right:9px; margin-left:2px;"
|-
| style="text-align:center;"| [[ไฟล์:Emperor Akihito cropped 2 Barack Obama Emperor Akihito and Empress Michiko 20140424 1.jpg|126px]] || style="text-align:left;" | [[ไฟล์:Shinzo Abe (2017).jpg|140px]]
|-
| style="text-align:center;"|[[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]] <br/><small>[[จักรพรรดิญี่ปุ่น|จักรพรรดิ]]ตั้งแต่ปี 2532</small>
| style="text-align:center;"|[[ชินโซ อะเบะ]]<br/><small>[[นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]]ตั้งแต่ปี 2555</small>
|}
 
ประเทศญี่ปุ่นมีรูปแบบรัฐเป็น[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] โดยที่จักรพรรดิมีพระราชอำนาจจำกัด ทรงเป็นประมุขในทางพิธีการ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของประชาชน"<ref name=constitution>[http://www.sangiin.go.jp/eng/law/index.htm รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}} ราชมนตรีแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น (1946-11-03) </ref> นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร ส่วนอำนาจอธิปไตยเป็นของชาวญี่ปุ่น
 
[[ไฟล์:Diet of Japan Kokkai 2009.jpg|thumb|left|อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]
[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตั้งอยู่ใน[[ชิโยะดะ (โตเกียว)|ชิโยะดะ กรุงโตเกียว]] สภาฯ ใช้ระบบ[[ระบบสองสภา]] ประกอบด้วย ''สภาผู้แทนราษฎร'' {{nhg2|衆議院|ชุงิ-อิง}} เป็น[[สภาล่าง]] มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และ ''[[ราชมนตรีสภา]]'' ({{nhg2|参議院|ซังงีง}}) เป็น[[สภาสูง]] มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์เป็นต้นไป<ref name="tst-">{{cite web |url=http://www.straitstimes.com/asia/east-asia/japan-lowers-voting-age-from-20-to-18-to-better-reflect-young-peoples-opinions-in |title=Japan lowers voting age from 20 to 18 to better reflect young people's opinions in policies |publisher=''[[The Straits Times]]'' |date=June 20, 2015 |accessdate=August 28, 2017 }}</ref> พรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น (CDP) ที่เป็นเสรีนิยมสังคม และพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม (LDP) ที่เป็นอนุรักษนิยมครองสภาฯ LDP ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเกือบตลอดมาตั้งแต่ปี 2498 ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างปี 2536 ถึง 2537 และระหว่างปี 2552 ถึง 2555
 
ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจาก[[กฎหมายจีน]]มาแต่อดีต และมีพัฒนาการเป็นเอกเทศใน[[ยุคเอะโดะ]]ผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น [[ประชุมราชนีติ]] ({{nhg2|公事方御定書|Kujikata Osadamegaki}}) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้น[[พุทธศตวรรษ 2400]] เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้[[ระบบซีวิลลอว์]]ของยุโรป โดยเฉพาะของ[[ฝรั่งเศส]]และ[[เยอรมนี]] เป็นต้นแบบ เช่น ในปี 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศใช้[[ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น|ประมวลกฎหมายแพ่ง]] ({{nhg2|民法|Minpō}}) โดยมี[[ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน]]เป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] จนปัจจุบัน<ref name="civilcode">{{cite web |url=http://www.britannica.com/eb/article-9043364?hook=6804 |title="Japanese Civil Code" |publisher=Encyclopædia Britannica |year=2006 |accessdate=2006-12-28}}{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ระบบศาลของญี่ปุ่นแบ่งเป็นสี่ขั้นหลัก คือ ศาลสูงสุดและศาลชั้นล่างสามระดับ ประชุมกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก [[หกประมวล]] ({{nhg2|六法|Roppō}})
 
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
 
ประเทศญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 [[จังหวัด]]<ref> คำว่าจังหวัดในภาษาญี่ปุ่นมี 4 แบบ คือ โทะ (都) ใช้เฉพาะโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวง, โด (道) เฉพาะฮกไกโด, ฟุ (府) ใช้กับเกียวโตและโอซากะ ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงในอดีต และเค็ง (県) ใช้กับจังหวัดอื่นๆ เมื่อพูดถึงจังหวัดรวมๆ จะใช้ว่า โทะโดฟุเก็ง (都道府県) </ref> และแบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร
 
ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งเขาการปกครองออกเป็นเทศบาลย่อยๆ <ref> ซึ่งเทศบาลมีหลายระดับ ตั้งแต่ กุ (区) ชิ (市) โช (町) และมุระหรือซน (村) ซึ่งเรียกรวมกันว่า [[ชิโจซง]] </ref> แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยการรวมเทศบาลที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเทศบาลลงได้ <ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/np20020126a8.html|title=City-merger talks on increase|publisher=The Japan Times|date=2002-01-26|accessdate=2008-11-15}}{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> การรวมเขตเทศบาลนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เทศบาลใน [[พ.ศ. 2542]] ให้เหลือ 1,773 เทศบาลใน [[พ.ศ. 2553]] <ref>{{cite web|url=http://www.soumu.go.jp/gapei|title=合併相談コーナー|publisher=Ministry of Internal Affairs and Communications|accessdate=2008-11-16}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป
 
{{แผนที่ประเทศญี่ปุ่น}}
 
{| border="0" cellpadding="3px" cellspacing="2px" style="background:#fff; width:60%; margin:auto;"
|- style="text-align:center; background:lightcoral;"
! style="width:25%;"| ''' [[ฮกไกโด]]'''
! style="width:25%;"| '''[[โทโฮะกุ]]'''
! style="width:25%;"| '''[[คันโต]]'''
! style="width:25%;"| '''[[ชูบุ]]'''
|- style="text-align:left; vertical-align:top; background:Lavenderblush; font-size:92%;"
|
1.&nbsp; [[จังหวัดฮกไกโด|ฮกไกโด]] <br />
|
2.&nbsp; [[จังหวัดอาโอโมริ|อาโอโมริ]]<br />
3.&nbsp; [[จังหวัดอิวาเตะ|อิวาเตะ]] <br />
4.&nbsp; [[จังหวัดมิยางิ|มิยางิ]]<br />
5.&nbsp; [[จังหวัดอากิตะ|อากิตะ]] <br />
6.&nbsp; [[จังหวัดยามางาตะ|ยามางาตะ]] <br />
7.&nbsp; [[จังหวัดฟูกูชิมะ|ฟูกูชิมะ]] <br />
|
8.&nbsp; [[จังหวัดอิบารากิ|อิบารากิ]] <br />
9.&nbsp; [[จังหวัดโทจิงิ|โทจิงิ]] <br />
10.&nbsp; [[จังหวัดกุมมะ|กุมมะ]] <br />
11.&nbsp; [[จังหวัดไซตามะ|ไซตามะ]] <br />
12.&nbsp; [[จังหวัดชิบะ|ชิบะ]]<br />
13.&nbsp; [[จังหวัดโตเกียว|โตเกียว]] <br />
14.&nbsp; [[จังหวัดคานางาวะ|คานางาวะ]] <br />
|
15.&nbsp; [[จังหวัดนีงาตะ|นีงาตะ]] <br />
16.&nbsp; [[จังหวัดโทยามะ|โทยามะ]] <br />
17.&nbsp; [[จังหวัดอิชิกาวะ|อิชิกาวะ]] <br />
18.&nbsp; [[จังหวัดฟูกูอิ|ฟูกูอิ]] <br />
19.&nbsp; [[จังหวัดยามานาชิ|ยามานาชิ]] <br />
20.&nbsp; [[จังหวัดนางาโนะ|นางาโนะ]] <br />
21.&nbsp; [[จังหวัดกิฟุ|กิฟุ]] <br />
22.&nbsp; [[จังหวัดชิซูโอกะ|ชิซูโอกะ]] <br />
23.&nbsp; [[จังหวัดไอจิ|ไอจิ]] <br />
 
|- style="text-align:center; background:lightcoral;"
! style="width:25%;"| '''[[คันไซ]]
! style="width:25%;"| '''[[ชูโงกุ]]'''
! style="width:25%;"| '''[[ชิโกกุ]]'''
! style="width:25%;"| '''[[คีวชู]]และ[[โอกินาวะ]]'''
|- style="text-align:left; vertical-align:top; background:Lavenderblush; font-size:92%;"
|
24.&nbsp; [[จังหวัดมิเอะ|มิเอะ]] <br />
25.&nbsp; [[จังหวัดชิงะ|ชิงะ]] <br />
26.&nbsp; [[จังหวัดเกียวโต|เกียวโต]] <br />
27.&nbsp; [[จังหวัดโอซากะ|โอซากะ]] <br />
28.&nbsp; [[จังหวัดเฮียวโงะ|เฮียวโงะ]] <br />
29.&nbsp; [[จังหวัดนาระ|นาระ]] <br />
30.&nbsp; [[จังหวัดวากายามะ|วากายามะ]] <br />
|
31.&nbsp; [[จังหวัดทตโตริ|ทตโตริ]] <br />
32.&nbsp; [[จังหวัดชิมาเนะ|ชิมาเนะ]] <br />
33.&nbsp; [[จังหวัดโอกายามะ|โอกายามะ]] <br />
34.&nbsp; [[จังหวัดฮิโรชิมะ|ฮิโรชิมะ]] <br />
35.&nbsp; [[จังหวัดยามางูจิ|ยามางูจิ]] <br />
|
36.&nbsp; [[จังหวัดโทกูชิมะ|โทกูชิมะ]] <br />
37.&nbsp; [[จังหวัดคางาวะ|คางาวะ]] <br />
38.&nbsp; [[จังหวัดเอฮิเมะ|เอฮิเมะ]] <br />
39.&nbsp; [[จังหวัดโคจิ|โคจิ]] <br />
|
40.&nbsp; [[จังหวัดฟูกูโอกะ|ฟูกูโอกะ]] <br />
41.&nbsp; [[จังหวัดซางะ|ซางะ]] <br />
42.&nbsp; [[จังหวัดนางาซากิ|นางาซากิ]] <br />
43.&nbsp; [[จังหวัดคูมาโมโตะ|คูมาโมโตะ]] <br />
44.&nbsp; [[จังหวัดโออิตะ|โออิตะ]] <br />
45.&nbsp; [[จังหวัดมิยาซากิ|มิยาซากิ]] <br />
46.&nbsp; [[จังหวัดคาโงชิมะ|คาโงชิมะ]] <br />
47.&nbsp; [[จังหวัดโอกินาวะ|โอกินาวะ]] <br />
|}
 
=== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ===
[[ไฟล์:Donald Trump and Shinzō Abe at 43rd G7 summit.jpg|thumb|นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น [[ชินโซ อะเบะ]] กับประธานาธิบดีสหรัฐ [[ดอนัลด์ ทรัมป์]]]]
<!-- [[ไฟล์:Liancourt walleye view.jpg|thumb|[[หินลีย็องกูร์]]เป็นดินแดนพิพาท]] -->
ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางทูตกับเกือบทุกประเทศเอกราชในโลก และเป็นสมาชิกปัจจุบันของ[[สหประชาชาติ]]ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2499 ประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิก[[จี 7]], [[เอเปก]] และ "อาเซียนบวกสาม" และเข้าร่วมประชุม[[การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก]] ประเทศญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงความมั่นคงกับประเทศออสเตรเลียในเดือนมีนาคม 2550<ref>{{cite web|url=http://www.mofa.go.jp/region/asia-paci/australia/joint0703.html |title=Japan-Australia Joint Declaration on Security Cooperation |publisher=Ministry of Foreign Affairs|accessdate=August 25, 2010}}</ref> และกับประเทศอินเดียในเดือนตุลาคม 2551<ref>{{cite web|url=http://www.mofa.go.jp/region/asia-paci/india/pmv0810/joint_d.html |title=Joint Declaration on Security Cooperation between Japan and India |publisher=Ministry of Foreign Affairs |date=October 22, 2008 |accessdate=August 25, 2010}}</ref> เป็นผู้บริจาคความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการรายใหญ่สุดอันดับห้าของโลก โดยบริจาคเงิน 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557<ref>{{cite web|title=Statistics from the Development Co-operation Report 2015|url=http://www.oecd.org/dac/japan.htm|publisher=[[Organisation for Economic Co-operation and Development|OECD]]|accessdate=November 15, 2015}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐ นับแต่สหรัฐและพันธมิตรพิชิตญี่ปุ่นใน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ทั้งสองประเทศธำรงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการกลาโหมอย่างใกล้ชิด สหรัฐเป็นตลาดสำคัญของสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นและเป็นแหล่งนำเข้าหลักของญี่ปุ่น และผูกมัดป้องกันประเทศญี่ปุ่น โดยมีฐานทัพในประเทศญี่ปุ่นบางส่วนด้วยเหตุนั้น<ref>{{cite web|title=Japan's Foreign Relations and Role in the World Today|url=http://afe.easia.columbia.edu/japan/japanworkbook/fpdefense/foreign.htm|website=Asia for Educators|accessdate=November 13, 2016}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นต่อสู้การควบคุมหมู่เกาะคูริลใต้ (ได้แก่ กลุ่มอิโตะโระฟุ คุนะชิริ ชิโตะคัง และฮะโบะมะอิ) ของประเทศรัสเซีย ซึ่งสหภาพโซเวียตยึดครองในปี 2488 ประเทศญี่ปุ่นรับรู้การยืนยันของประเทศเกาหลีใต้เกี่ยวกับ[[หินลีอังคอร์ท]] (หรือ "ทะเกะชิมะ" ในภาษาญี่ปุ่น) แต่ไม่ยอมรับ ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับ[[ประเทศจีน]]และ[[ประเทศไต้หวัน]]เหนือ[[หมู่เกาะเซ็งกะกุ]] และกับประเทศจีนเหนือสถานภาพของ[[โอะกิโนะโทะริชิมะ]]
 
== กองทัพ ==
กองทัพญี่ปุ่นถูกจำกัดสิทธิตาม[[มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น]] ซึ่งสละสิทธิของประเทศญี่ปุ่นในการประกาศสงครามและการใช้กำลังทหารในข้อพิพาทระหว่างประเทศ ฉะนั้น กองทัพญี่ปุ่นที่เรียก "[[กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น]]" นั้นจึงเป็นกองทัพที่ไม่เคยสู้รบนอกประเทศญี่ปุ่น<ref>正論, May 2014 (171).</ref> ประเทศญี่ปุ่นมีงบประมาณทางทหารสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก<ref>{{cite web|title=The 15 countries with the highest military expenditure in 2009|url=http://www.sipri.org/research/armaments/milex/resultoutput/milex_15|publisher=Stockholm International Peace Research Institute|accessdate=January 16, 2011|deadurl=yes|archiveurl=https://web.archive.org/web/20110217084451/http://www.sipri.org/research/armaments/milex/resultoutput/milex_15|archivedate=February 17, 2011|df=mdy-all}}</ref> จัดเป็นประเทศเอเชียอันดับสูงสุดใน[[ดัชนีสันติภาพโลก]]<ref>Institute for Economics and Peace (2015). ''[http://www.visionofhumanity.org/sites/default/files/Global%20Peace%20Index%20Report%202015_0.pdf Global Peace Index 2015.] {{webarchive|url=https://web.archive.org/web/20151006145259/http://www.visionofhumanity.org/sites/default/files/Global%20Peace%20Index%20Report%202015_0.pdf |date=October 6, 2015 }}'' Retrieved October 5, 2015</ref> รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปกครองกองทัพ และส่วนใหญ่ประกอบด้วย[[กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น]] [[กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น]] [[กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น]] ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเป็นผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทะเลริมแพ็ก (RIMPAC) เป็นประจำ<ref>{{cite web|title=About RIMPAC |url=http://www.mindef.gov.sg/imindef/mindef_websites/topics/exrimpac/abt_rimpac.html |publisher=Government of Singapore |accessdate=March 2, 2014 |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20130806203903/http://www.mindef.gov.sg/imindef/mindef_websites/topics/exrimpac/abt_rimpac.html |archivedate=August 6, 2013}}</ref> ล่าสุดมีการใช้กองทัพเพื่อปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยการวางกำลังในประเทศอิรักเป็นการใช้กองทัพญี่ปุ่นนอกประเทศครั้งแรกนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง<ref name="Iraq deployment">{{cite web |url=http://www.iht.com/articles/2006/06/20/news/japan.php |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070416075509/http://www.iht.com/articles/2006/06/20/news/japan.php |archivedate=April 16, 2007 |title= Tokyo says it will bring troops home from Iraq |work=International Herald Tribune |date=June 20, 2006 |accessdate=March 28, 2007}}</ref> สหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการห้ามส่งอาวุธออกเพื่อให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าร่วมโครงการนานาชาติอย่างเครื่องบินขับไล่จู่โจมร่วม (Joint Strike Fighter) ได้<ref>{{cite news|url=http://in.reuters.com/article/2010/07/13/idINIndia-50097320100713 |title=Japan business lobby wants weapon export ban eased |publisher=Reuters |date= July 13, 2010|accessdate=April 12, 2011}}</ref>
 
ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจโลกอย่างรวดเร็วร่วมกับโลกาภิวัตน์ สิ่งแวดล้อมความมั่นคงรอบประเทศญี่ปุ่นทวีความรุนแรงมากขึ้นอันสังเกตได้จากการพัฒนานิวเคลียร์และขีปนาวุธของประเทศเกาหลีเหนือ ภัยคุกคามข้ามชาติซึ่งมีเหตุจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมทั้งการก่อการร้ายระหว่างประเทศและการโจมตีไซเบอร์ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ<ref name="Japan's Security Policy">{{cite news |title= Japan's Security Policy |publisher= Ministry of Foreign Affairs of Japan |url=http://www.mofa.go.jp/policy/security/}}</ref> ประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งกองกำลังป้องกันตนเองได้เข้ามีส่วนร่วมอย่างถึงที่สุดในความพยายามธำรงและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
 
ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางทหารใกล้ชิดกับสหรัฐ พันธมิตรความมั่นคงสหรัฐ–ญี่ปุ่นเป็นหลักหมุดของนโยบายการต่างประเทศของชาติ<ref>{{cite web |url=http://www.realclearpolitics.com/articles/2007/03/japan_is_back_why_tokyos_new_a.html |title=Japan Is Back: Why Tokyo's New Assertiveness Is Good for Washington|author=Michael Green |publisher=Real Clear Politics |accessdate=March 28, 2007}}</ref> นับแต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2499 ประเทศญี่ปุ่นเคยเป็นสมาชิก[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ|คณะมนตรีความมั่นคง]]เป็นเวลารวม 20 ปี วาระล่าสุดในปี 2552 และ 2553