ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาชนก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:พระมหาชนก.jpg|thumb|250px|พระราชนิพนธ์เรื่อง''พระมหาชนก'']]
'''พระมหาชนก''' เป็นเรื่องหนึ่งใน[[ทศชาติชาดก]] อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่[[พระโพธิสัตว์]]จะมาประสูติเป็น[[เจ้าชายสิทธัตถะ]] และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎกและทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหา[[ชนกชาดก]] ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็น[[ภาษาสันสกฤต]]ประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝีพระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กับกำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอัปปางของเรืออับโชค ทรงคาดคะเนโดยอาศัยข้อมูลทาง[[โหราศาสตร์]] แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2539 พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกก็ออกจำหน่าย และเป็นที่ชื่นชมโดยทั่วไป แต่หนังสือพระราชนิพนธ์นี้ก็ยังอ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและของภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา ในปีพ.ศ. 2542 ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกอีกครั้ง ในรูปแบบของการ์ตูนโดยมี ชัย ราชวัตร เป็นผู้วาดภาพการ์ตูนประกอบ
ในปี 2557 ได้มีการนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น ทางโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ และออกอากาศทางโทรทัศน์ทุกสถานี มีทั้งหมด 3 องก์ คือ องก์ที่ 1 กำเนิด องก์ที่ 2 ความเพียร และองก์ที่ 3 ปัญญา รวมทั้งมีการแสดง แสง สี เสียงในชุด มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก ปี 2549 อิมแพค เมืองทองธานี และ“พระมหาชนก เดอะ ฟีโนมีนอน ไลฟ์โชว์” ณ สวนเบญจกิติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์