ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระคันธารราฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Kraiwitlee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
 
นักโบราณคดีมีความเห็นว่า พระคันธารราฐเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยทวารวดี สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 1000 ถึง 1200 สันนิษฐานว่าก่อนที่จะนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยานั้น แต่เดิมเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม มาก่อน เนื่องจากทางการขุดพบเรือนแก้วที่ชำรุด ซึ่งเป็นเรือนแก้วของพระพุทธรูปองค์นี้ ดังนั้น ความเก่าแก่ของ พระคันธารราฐ จึงเก่าแก่กว่าสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี และน่าจะไล่เลี่ยกับสมัยบุโรพุทโธ (ฺBorobodur) ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
 
พระวิหารน้อย หรือ พระวิหารเขียน ที่ประดิษฐานพระคันธารราฐองค์นี้ มีลายเขียนภายในพระวิหาร พระวิหารนี้มีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 6 เมตร ยาวประมาณ 16 เมตรเท่านั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถ ห่างจากพระอุโบสถประมาณ 2 เมตรเศษ หันหน้าออกไปทางทิศใต้หรือทางแม่น้ำลพบุรี พระยาไชยวิชิต (เผือก) ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2381 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวิหารมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ปิดทองประดับกระจกเช่นเดียวกับพระอุโบสถ หน้าบันสลักลายดอกไม้และนก มีประตูเข้าสู่ภายในพระวิหารเฉพาะด้านหน้าประตูเดียว เป็นประตูไม้แกะสลักลายก้านขดเคล้าภาพเป็นภาพเทพนม ครุฑ นาค และนก ตอนล่างแกะลายฐานสิงห์ ตอนบนเป็นวิมานและลายเปลว (ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย อาจเป็นสมัยพระเจ้าปราสาททอง) ซุ้มประตูเป็นลายปูนปั้นปิดทอง ตรงกลางทำเป็นรูปอาคารแบบยุโรป ล้อมด้วยลายดอกไม้มีลายเครือเถาอยู่ที่กรอบ เป็นลายแบบฝรั่งปนจีนฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 4 ผนังด้านข้างของพระวิหารมีหน้าต่างด้านละ 1 บาน ผนังด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนภาพเล่าเรื่องชาดกโดยรอบ<ref>พระพุทธปฏิมากรองค์สำคัญของประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547</ref> ปัจจุบันภาพเขียนจิตรกรรมยังคงอยู่แม้จะลบเลือนไปมากตามกาลเวลา
 
ในแง่ความเชื่อ ผู้คนที่มาสักการะบูชามักขอพรให้ตนเองหรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพรักมีอายุยืนมั่นคงดังศิลา
 
สำหรับพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท ศิลปะแบบทวารวดี ปางปฐมเทศนานี้ ปรากฏในโลกเพียง 6 องค์เท่านั้น (ในจำนวนนี้อยู่ในประเทศไทยจำนวน 5 องค์) ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
เส้น 44 ⟶ 40:
 
ในจำนวนพระพุทธรูปศิลา 6 องค์นี้ มีเพียงองค์เดียวที่สร้างขึ้นจากศิลาเขียว ก็คือ พระคันธารราฐ อยู่ที่วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนที่เหลือทั้งหมดสร้างขึ้นจากศิลาขาวทั้งสิ้น ถึงกระนั้นก็ยังมีความสับสนกันอยู่เนืองๆ
 
พระวิหารน้อย หรือ พระวิหารเขียน ที่ประดิษฐานพระคันธารราฐองค์นี้ มีลายเขียนภายในพระวิหาร พระวิหารนี้มีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 6 เมตร ยาวประมาณ 16 เมตรเท่านั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถ ห่างจากพระอุโบสถประมาณ 2 เมตรเศษ หันหน้าออกไปทางทิศใต้หรือทางแม่น้ำลพบุรี พระยาไชยวิชิต (เผือก) ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2381 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวิหารมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ปิดทองประดับกระจกเช่นเดียวกับพระอุโบสถ หน้าบันสลักลายดอกไม้และนก มีประตูเข้าสู่ภายในพระวิหารเฉพาะด้านหน้าประตูเดียว เป็นประตูไม้แกะสลักลายก้านขดเคล้าภาพเป็นภาพเทพนม ครุฑ นาค และนก ตอนล่างแกะลายฐานสิงห์ ตอนบนเป็นวิมานและลายเปลว (ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย อาจเป็นสมัยพระเจ้าปราสาททอง) ซุ้มประตูเป็นลายปูนปั้นปิดทอง ตรงกลางทำเป็นรูปอาคารแบบยุโรป ล้อมด้วยลายดอกไม้มีลายเครือเถาอยู่ที่กรอบ เป็นลายแบบฝรั่งปนจีนฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 4 ผนังด้านข้างของพระวิหารมีหน้าต่างด้านละ 1 บาน ผนังด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนภาพเล่าเรื่องชาดกโดยรอบ<ref>พระพุทธปฏิมากรองค์สำคัญของประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547</ref> ปัจจุบันภาพเขียนจิตรกรรมยังคงอยู่แม้จะลบเลือนไปมากตามกาลเวลา
 
ในแง่ความเชื่อ ผู้คนที่มาสักการะบูชามักขอพรให้ตนเองหรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพรักมีอายุยืนมั่นคงดังศิลา
 
[[หมวดหมู่:พระพุทธรูปสำคัญในประเทศไทย]]