ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ดันต์ซิก" → "ดันท์ซิช" ด้วยสจห.
บรรทัด 100:
เขาได้ส่งทหาร 70,000 นายไปยังเมือง[[แซงต์-โดมังก์]] (ชื่อของ[[ประเทศเฮติ|เฮติ]]ที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสในสมัยนั้น) ภายใต้การบังคับบัญชาของนาลพล [[ชาลล์ เลอแคลฺ]] เพื่อฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส หลังจากประสบความสำเร็จมาพอสมควร โดยเฉพาะจากการจับ[[ตูแซงต์ ลูแวร์ตูร์]] (ผู้ซึ่งเสียชีวิตที่[[ฟอร์ เดอ จัวย์]] ที่อำเภอ[[ดูบส์]] วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1803) กองทัพของเขาก็ถูกทำลายโดยการระบาดของ[[ไข้เหลือง]] เมื่อเห็นดังนี้ นโปเลียนจึงยอมขาย[[รัฐลุยเซียนา]] ให้กับ[[สหรัฐอเมริกา]] ดินแดนขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของ[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]
 
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1800 ([[วันคริสต์มาสอีฟ]]) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีส ขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรง[[โอเปร่า]] รถม้าของกงสุลเอกได้ควบผ่านพ้นจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็ว ระเบิดเกิดปะทุขึ้นช้ากว่าที่คาดทำให้กระจกรถม้าแตกกระจายเท่านั้น แต่สถานที่เกิดเหตุที่กลายเป็นซากปรักหักพังเต็มไปด้วยความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน [[โฌแซฟโฌแซ็ฟ ฟูเช]] ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่าอาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของพวก[[ฌากอแบ็ง]] การประหาร[[ลุยส์ อังตวน อ็องรี เดอ บูร์บง|ดยุกแห่งอิงไฮน์]]เป็นหนึ่งในผลพวงตามมา
 
ในปี ค.ศ. 1802 นโปเลียนได้รื้อฟื้น[[ระบบทาส]]ในอาณานิคมขึ้นอีกตามคำขอของภริยา อันได้แก่นาง[[โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน]] (ชาว[[เบเก]] จากหมู่เกาะ [[มาร์ตีนีก]]) การฟื้นฟูดังกล่าวทำให้ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของอาณานิคมโพ้นทะเลทางตะวันออกของ[[มหาสมุทรอินเดีย]]กระเตื้องขึ้น ต้องรอถึงปี ค.ศ. 1848 กว่าความพยายามใน[[การเลิกทาส]]อย่างเด็ดขาดจะประสบความสำเร็จ
 
หลังจากที่นโปเลียนได้ขยายอิทธิพลไปถึง[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิส]] ที่ได้จัดตั้งสถาบันกระจายอำนาจในปัจจุบัน และไปยัง[[สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี|เยอรมนี]] กรณีพิพาทของ[[มอลตา]]ก็เป็นข้ออ้างให้อังกฤษประกาศสงครามกับ[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]อีกครั้งในปี ค.ศ. 1803 รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนได้ตอบโต้ด้วยแนวคิดในการบุกอังกฤษ และเพื่อข่มขวัญฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่อาจจะกำลังลอบวางแผนโค่นล้มเขาอยู่ กงสุลเอกได้สั่งประหาร[[ลุยส์หลุยส์ อังตวนอองตวน อ็องรี เดอ บูร์บง|ดยุกแห่งอิงไฮน์]] เจ้าชายแห่งราชวงศ์[[ราชวงศ์บูร์บง]]
 
[[ไฟล์:Andrea Appiani 002.jpg|thumb|200px|left|นโปเลียนยกตัวเองขึ้นเป็น[[พระมหากษัตริย์อิตาลี|กษัตริย์แห่งอิตาลี]] เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1805 ที่นคร[[มิลาน]] ]]
บรรทัด 132:
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและครูบาอาจารย์ในระบอบเก่า ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายทหารในกองทัพหลวง ได้ทำลายกฎเกณฑ์ดั้งเดิมทางการทหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการไม่ริเริ่มสงครามที่กินเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษในการรบด้วยพลทหาร 30 ถึง 50,000 นาย แต่มองหาการรบที่สามารถเผด็จศึกได้อย่างเด็ดขาด ใช้ทหารกว่า 100,000 นายหากจำเป็น นั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในสมรภูมิเท่านั้น แต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูอีกด้วย
 
ในปี ค.ศ. 1808 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ทรงสร้างระบบศักดินาของจักรวรรดิฝรั่งเศสให้แก่กลุ่มชนชั้นสูงที่แวดล้อมพระองค์ ไม่นานต่อมา บรรดานายพันและนายพลของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ต่างได้รับฐานันดรเป็นท่านเคานต์แห่งจักรวรรดิ เจ้าชายแห่ง[[รัฐเนอชาแตล|เนอชาแตล]] ดยุกแห่ง[[โอเออสเต็ดท์]] ดยุกแห่ง[[มองต์เบลโล]] ดยุกแห่ง[[ดันต์ซิกดันท์ซิช]] ดยุกแห่ง[[เอลชิงเกน]] กษัตริย์แห่ง[[ราชอาณาจักรเนเปิลส์|เนเปิลส์]] ฯลฯ
 
จากกรุง[[อัมสเตอร์ดัม]]ถึงกรุงโรม จักรวรรดิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 70 ล้านคน โดยมีเพียง 30 ล้านคนเท่านั้นที่เป็นชาวฝรั่งเศส
บรรทัด 140:
เนื่องด้วยแนวคิดของอังกฤษที่จะกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เลยพยายามจะบังคับให้เกิด[[การกีดกันภาคพื้นทวีป]] โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกส อันเป็นประเทศพันธมิตรของอังกฤษมาเป็นเวลาช้านาน ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จึงทรงขอความช่วยเหลือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส ในที่สุดพระองค์ก็ได้รุกรานประเทศสเปน และตั้ง[[โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต]] พี่ชายขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองที่นั่น และ[[โปรตุเกส]]ก็ถูกจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุกรานเช่นกันในปี ค.ศ. 1807 ประชากรส่วนหนึ่งของ[[สเปน]]ที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านชาวฝรั่งเศส ในไม่ช้า กองพลทหารราบฝีมือเยี่ยมของอังกฤษ บัญชาการโดยว่าที่[[ดยุกแห่งเวลลิงตัน]] (อาร์เธอร์ เวลสลีย์) ก็ได้เคลื่อนทัพสู่สเปน โดยผ่านโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1808 และด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มผู้รักชาติชาวสเปน ก็ได้ผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจาก[[คาบสมุทรไอบีเรีย]] ในขณะที่กองทหารที่ฝีมือดีที่สุดของฝรั่งเศสกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ใน[[สเปน]] ออสเตรียก็ได้บุกฝรั่งเศสอีกครั้งจากแถบเยอรมนี และถูกปราบลงอย่างราบคาบใน[[ยุทธการวากร็อง]] จอมพล[[ลานส์]] เพื่อนและผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ของจักรพรรดิจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมที่เมือง[[เอสลิง]]
 
หลังจากที่ซาร์[[อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]] ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในรัสเซียที่เข้าข้างฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในการโจมตี[[สหราชอาณาจักร]] จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งเชื่อว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามกับอังกฤษได้ ได้กรีฑาทัพ[[การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส|บุกรัสเซียในปี ค.ศ. 1812]] [[กองทัพใหญ่]]ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ประกอบด้วยกองทัพพันธมิตร[[อิตาลี]] เยอรมนี และออสเตรียมีขนาดมหึมา มีทหารกว่า 600,000 นายที่ร่วมเดินทัพข้าม [[แม่น้ำนีเมน]]
 
พวกรัสเซียที่บัญชาการโดย[[มีฮาอิล คูตูซอฟ|จอมพล มีฮาอิล คูตูซอฟ]] ได้ใช้ยุทธวิธี ''[[scorched earth]]'' โดยถอยร่นให้ทัพฝรั่งเศสรุกเข้ามาให้รัสเซีย การรบที่มอสโกเมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ แม้ว่าพวกรัสเซียจะเป็นฝ่ายทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารไปในจำนวนเท่า ๆ กัน