ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิทัศน์เมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
บรรทัด 16:
== องค์ประกอบภูมิทัศน์เมือง ==
 
จากอดีตการเลือกที่ตั้งของเมืองตามจุดมุ่งหมายเพื่อการป้องกันการรุกรานจากข้าศึกศัตรู การสร้างเมืองโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงถูกกำหนดเป็นปัจจัยแรกขององค์ประกอบเมือง ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชนบทไปสู่ความเป็นเมือง และเกิดการขยายตัวจากศูนย์กลางเมืองไปชานเมืองมากขึ้น สภาพแวดล้อมของเมืองถูกกำหนดตามสิ่งที่มนุษย์สร้าง โดยมีโครงข่ายคมนาคมขนส่งเป็นตัวเชื่อมโยงชุมชนต่างๆองค์ประกอบของเมือง มีปัจจัยที่หลากหลายทั้งทางกายภาพ และสังคมตามสิ่งปลูกสร้างทางสถาปัตยกรรมของพื้นที่เมืองและพื้นที่ว่าง อันก่อให้เกิดสภาพภูมิทัศน์ในแต่ละเมืองที่แตกต่างกัน โดยได้แบ่งประเภทขององค์ประกอบภูมิทัศน์ ดังนี้
 
1. องค์ประกอบภูมิทัศน์เมือง ตามลักษณะสภาพแวดล้อมทางภูมิประเทศของเมือง (Natural Environment)
 
2. องค์ประกอบภูมิทัศน์เมือง ตามสภาพแวดล้อมทางที่มนุษย์สร้างสรรค์ (Manmade Build Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมของเมืองที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างของชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ของเมือง
 
เมื่อพิจารณาในแง่ของการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของเมือง และประเมินเงื่อนไขขององค์ประกอบโดยพิจารณาจากรูปทรงทางผังเมือง ลักษณะและตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งองค์ประกอบสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเมืองจากปัจจัยสภาพภูมิประเทศ และสภาพทางธรรมชาติ (Landform and Nature) โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิประเทศกับภูมิทัศน์เมือง และสถาปัตยกรรมใน 3 รูปแบบ ได้แก่ (Spreiregen, Paul D., 1965, page 51-52)
 
1. ภูมิทัศน์เมืองที่ตอบรับกับสภาพภูมิประเทศทั้งในเชิงสุนทรียภาพและประโยชน์ใช้สอย
 
2. การประเมินความสัมพันธ์ และผลกระทบระหว่างงานสถาปัตยกรรมในเมืองกับพื้นที่ธรรมชาติ
 
3. การตัดสินใจว่าพื้นที่ใดควรปล่อยให้คงอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อช่วยเสริมสร้างคุณค่าให้กับเมือง
 
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเมืองตามสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างสรรค์ (Manmade Build Environment) จากการประเมินเงื่อนไขขององค์ประกอบโดยพิจารณาจากรูปลักษณะของงานสถาปัตยกรรม ทางสัญจร และตำแหน่งของที่ตั้งตามสภาพแวดล้อมในชุมชนเมือง ได้แบ่งองค์ประกอบเมืองทางกายภาพที่มนุษย์สร้างสรรค์ 7 องค์ประกอบ ได้ดังนี้
(วรรณศิลป์ พีรพันธุ์, 2538, หน้า 5-18)
1. การวางผังเมือง (Urban Planning)
2. เส้นทางคมนาคม (Routes)
3. พื้นที่เมือง และพื้นที่ว่าง (Urban Spaces and Open Spaces)
4. กระสวนและลักษณะของเนื้อเมือง (Pattern, Grain and Texture)
5. ย่านของเมือง (The Districts of a City)
6. ปัจจัยเชิงนามธรรม (Nonphysical Aspects)
7. รายละเอียดประกอบเมือง (Details)
 
1. การวางผังเมือง (Urban Planning)
 
2. เส้นทางคมนาคม (Routes)
ภาพลักษณ์ หรือจินตภาพของเมือง (Image of the city)
 
3. พื้นที่เมือง และพื้นที่ว่าง (Urban Spaces and Open Spaces)
 
4. กระสวนและลักษณะของเนื้อเมือง (Pattern, Grain and Texture)
 
5. ย่านของเมือง (The Districts of a City)
 
6. ปัจจัยเชิงนามธรรม (Nonphysical Aspects)
 
7. รายละเอียดประกอบเมือง (Details) ภาพลักษณ์ หรือจินตภาพของเมือง (Image of the city)
เควิน ลินซ์สถาปนิกชาวอเมริกัน (Kevin Lynch, 1977, Pages 47 - 48) ได้ศึกษาองค์ประกอบของเมือง ที่ได้จากการสังเกต ที่ประกอบด้วย เอกลักษณ์ (Identity) โครงสร้าง (Structure) และความหมาย (Meaning) ส่วนประกอบทั้งสามต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดจินตภาพได้ชัดเจนต้องมีคุณสมบัติด้านเอกลักษณ์ และโครงสร้างอย่างชัดเจนปรากฏเป็นร่องรอยในความทรงจำแก่ผู้พบเห็น โดยเป็นมโนภาพของเมืองด้านความงามที่มีลักษณะเฉพาะอันชัดเจน แตกต่างไปจากเมืองอื่น อันชวนให้ระลึกถึงและจดจำได้ง่าย ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงผู้คนและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองนั้นๆ โดย Kevin Lynch พบว่ามีองค์ประกอบทางกายภาพของเมือง (The City Image and Its Elements) ที่ผู้คนมักใช้ในการสร้างจินตภาพขึ้นในใจระหว่างตนเอง และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเมือง ให้แนวคิดองค์ประกอบในการรับรู้ของเมือง ทำให้ได้ภาพของเมืองในการค้นหาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองจากผู้พบเห็นที่ช่วยให้ผู้คนใช้ในการสร้างมโนภาพของตัวเองเกี่ยวกับเมือง ตามองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการดังนี้ (วิมลสิทธิ์ หรยางกูล, 2537, 157-161)
1. เส้นทาง (Path)
เส้น 42 ⟶ 51:
3. ย่าน (Districts)
4. ชุมทาง (Node)
5. ภูมิสัญลักษณ์ (Landmarks)
 
1. เส้นทาง (Path)
ทางสัญจร เป็นช่องทางการเคลื่อนที่ใช้สัญจรไปมา เช่น ถนน ทางรถไฟ ทางด่วน ทางเท้า เป็นต้น เส้นทางเหล่านี้เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากต่อการเดินทางของผู้คนในเมือง ในขณะที่ผู้คนเคลื่อนไหวผ่านเส้นทาง ผู้คนมีโอการสเห็นส่วนต่างๆของเมืองตามเส้นทาง และเกิดความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆของเมือง
 
2. เส้นขอบ (Edge)
เส้นขอบ หรือ ขอบเขต เป็นองค์ประกอบที่มีลักษณะกำหนดขอบเขตของบริเวณที่ไม่ได้ใช้เป็นเส้นทางตามทัศนะของผู้สังเกต อาจปรากฏเป็นเส้นกั้นจากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่ง ที่เป็นแนวกั้นตามธรรมชาติ เช่น ชายฝั่งทะเล หรือ ริมฝั่งแม่น้ำ และแนวกั้นที่แสดงขอบเขตที่มนุษย์สรรสร้างขึ้น เช่น กำแพงเมือง คูเมือง
 
3. ย่าน (Districts)
เป็นบริเวณพื้นที่ชุมชนที่มีขนาดของพื้นที่ตามลักษณะเฉพาะของชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมือง มีเอกลักษณ์ของบริเวณอันเกิดจากลักษณะเฉพาะร่วมกันของบริเวณที่ผู้สังเกตเข้าสู่ภายในเมืองได้ โดยแต่ละพื้นที่จะมีสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันตามโครงสร้างทางสังคม วิถีชีวิตของชุมชนจะแสดงลักษณะกิจกรรมของผู้คนที่ปรากฏเป็นย่านที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในเมือง
 
4. ชุมทาง (Node)
จุดศูนย์รวม หรือ ชุมทาง มักเป็นจุดศูนย์กลางของเส้นทาง เช่น บริเวณสี่แยก หรือ ชุมทางสถานีขนส่งต่างๆ ชุมทางสถานีรถไฟใต้ดิน อาจเป็นสถานที่ซึ่งมีกิจกรรมหนาแน่นบริเวณจัตุรัสใจกลางเมือง จุดศูนย์รวมจึงเป็นจุดเด่นเฉพาะตัวของย่านในเมือง เกิดความสัมพันธ์กับเส้นทางต่างๆที่รวมกันเป็นชุมทางเมื่อมาถึงและเดินทางเชื่อมต่อไปยังที่อื่นๆ
 
5. ภูมิสัญลักษณ์ (Landmark)
จุดสังเกต หรือ จุดหมายตา เป็นจุดอ้างอิง หรือ ภูมิสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นจุดหมายตา แตกต่างจากชุมทาง ที่บุคคลไม่สามารถเข้าสู่ภายในจุดหมายตาได้ โดยทำหน้าที่เป็นสัญญาณชี้แนะสำหรับสภาพแวดล้อม เช่น ป้าย อาคารสำคัญๆ อนุสาวรีย์ เป็นต้น
เส้น 58 ⟶ 71:
[[ไฟล์:urbanscape2]]
ภาพแสดงจินตภาพในการรับรู้พื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ของนักท่องเที่ยว (เกริก กิตติคุณ, 2552, หน้า 29.)