ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แถบอักษรข่าววิ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7904959 สร้างโดย 223.24.188.53 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ย้อนการแก้ไขที่ 7904961 สร้างโดย Tvcccp (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 7:
ในประเทศไทย เริ่มมีการใช้แถบตัวอักษรข่าววิ่งครั้งแรกโดย [[เนชั่นทีวี]] แต่เป็นการเสนอข่าวแบบพาดหัวข่าวเดี่ยว ทีละหนึ่งข้อความข่าว ด้วยการเลื่อนตัวอักษรทีละตัวจากทางซ้ายไปทางขวาตามลำดับในช่วงเดียว โดยได้ใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ประมาณปลายปี พ.ศ. 2543 ถึงปี พ.ศ. 2544 (ใช้งานมาจนถึงกลางปี พ.ศ. 2554) ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 โมเดิร์นไนน์ทีวี (ปัจจุบันคือ [[ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี]]) เริ่มใช้แถบตัวอักษรข่าววิ่งโดยข่าวที่อยู่ในแถบตัวอักษรวิ่งจะแสดงต่อเนื่องกัน โดยแต่ละข่าวจะเว้นช่องว่างเป็นช่วงกว้าง ต่อมาสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องอื่นๆ เริ่มมีการใช้แถบตัวอักษรข่าววิ่งตามลำดับ
 
=== ไทยทีวีสีช่อง 3 ===
ตัววิ่งมีทั้งหมด 1 แบบ คือ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2548 (ปัจจุบันยกเลิกแถบอักษรข่าววิ่งแล้ว)
 
=== ททบ.5 ===
ตัววิ่งที่ใช้มี 2 แบบ คือ แบบที่ปรากฏในรายการข่าว และ แบบที่ปรากฏในรายการอื่นที่มิใช่รายการข่าว
 
==== แบบที่ปรากฏในรายการข่าว ====
ระยะแรกแต่ละข่าวจะมีจุดท้าย 3 จุด โดยใช้ชื่อย่อของสถานีฯ (ททบ.5) คั่นระหว่างข่าว ต่อมาเปลี่ยนเป็นการใช้สัญลักษณ์ของ ททบ. คั่นระหว่างข่าว ภายหลังจากนั้นในช่วงปี 2549-2551 มีการปรับพื้นที่ว่างเพื่อแสดงสัญลักษณ์ของสถานี ส่วนสัญลักษณ์ของสถานีฯที่คั่นระหว่างข่าวแต่ละชิ้นมีการหมุนรอบตัวเองอย่างช้า ภายหลังพื้นที่ว่างที่บริเวณด้านขวาล่างสุดได้เอาออก ก่อนจะปรับมาเป็น แสดงครั้งละ 1 ข่าว โดยระยะแรกแถบเป็นสีขาว ตัวอักษรเป็นสีเขียว มีแถบสีเขียวคำว่า "ททบ.๕" อยู่ด้านซ้ายมือ ก่อนที่จะเอาแถบนี้ออกในภายหลัง และในช่วงกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 สถานีใช้แถบอักษรแบบใหม่ โดยเป็นแถบสี่เหลี่ยมมุมบนสีขาว ส่วนตัวอักษรเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และใช้แบบฟอนต์ TH Sarabun New และ PSL Chamnarn และในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 สถานีฯ ได้กลับไปใช้การแสดงข่าวแบบเดิม เพียงแต่มีการเว้นระยะเพื่อคั้นข่าว และใช้แบบฟอนต์ DilleniaUPC
 
==== แบบที่ปรากฏในรายการอื่นที่มิใช่รายการข่าว ====
เริ่มใช้ครั้งแรกในช่วง การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ระยะแรกจะไม่มีพื้นหลัง ต่อมาจึงใส่พื้นหลังเป็นสีเขียวเช่นเดียวกับแบบที่ปรากฏในรายการข่าวในช่วงนั้น จนถึงต้นปี พ.ศ. 2556 จึงเปลี่ยนเป็นแถบสีขาว ส่วนตัวอักษรเป็นสีเขียว เช่นเดียวกับแบบที่ปรากฏในรายการข่าว แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นแถบสีน้ำเงิน (ในบางวันเป็นสีแดง) ตัวอักษรสีขาว และในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 สถานีฯ ก็ได้ใช้แบบแถบวิ่งตามแบบรายการข่าว
 
ข่าวที่ปรากฏในแถบอักษรวิ่งแบบดังกล่าว มักเป็นข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภายในกองทัพบก ข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการ รวมถึงคำขวัญรณรงค์ต่างๆ ตลอดจนแจ้งการถ่ายทอดสดกีฬา เป็นต้น
 
อนึ่ง ททบ. เคยใช้แถบการรายงานการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ออกอากาศผ่านทางหน้าจอมาก่อน ระหว่างกลางปี พ.ศ. 2547 ถึงปี พ.ศ. 2549 ใช้พร้อมร่วมกันกับที่ [[มันนี่ แชนแนล]] เคยใช้ เมื่อแรกเริ่มการก่อตั้งสถานีฯ ซึ่งมี แถบข้อมูล 2 ชั้น ใช้สีน้ำเงิน
 
=== ช่อง 7 สี ===
มีใช้ 3 แบบ นอกจากนี้ยังใช้ในขณะเผยแพร่ละครรอบบ่าย แต่ไม่มีพื้นหลัง
จนถึงต้นปี 2561ได้มีการปรับปรุงแถบตัววิ่งข่าวให้ทันสมัยสัญลักษณ์ช่อง7HDค้นหาข่าวแถบพื้นหลังจะเป็นสีขาว
เมื่อช่วงข่าวกีฬาพื้นหลังจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินส่วนใหญ่จะใช้รายงานข่าวกีฬา
 
=== ช่อง 9 เอ็มคอทเอชดี ===
''ดูเพิ่มเติมที่[[สำนักข่าวไทย #แถบอักษรข่าววิ่ง]]''
 
=== เอ็นบีที ===
ใช้ 5 แบบ โดยแบบแรกใช้พื้นหลังสีม่วงก่อน โดยคั่นข่าวแต่ละชิ้นด้วยตราราชการของ[[กรมประชาสัมพันธ์]] ภายหลังเปลี่ยนเป็นสีฟ้าเข้ม ต่อมาในปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่ใช้ชื่อเอ็นบีที ก็ใช้สีฟ้าตามแบบสมัยสทท. 11 แบบที่ 3 ใช้สีเทา ส่วนแบบที่ 4 เมื่อมีการเปลี่ยนโลโก้แบบปัจจุบัน ก็เปลี่ยนสีเป็นสีเทา แล้วจึงเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงแบบปัจจุบัน โดยครั้งล่าสุด ต้นปี พ.ศ. 2560 สทท.ปรับรูปแบบแถบอักษรข่าววิ่งใหม่เพื่อรองรับการออกอากาศระบบ HD แทนที่แถบอักษรข่าววิ่งแบบเดิมที่ใช้มาเกือบสิบปี (แถบดังกล่าวได้ยกเลิกแล้ว)
 
อนึ่ง ในช่วงระหว่างปี 2553 ก็มีการเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้าอ่อน ก่อนที่จะกลับมาเปลี่ยนเป็นสีม่วงตามปกติ
 
==== การเผยแพร่ ====
นอกจากจะปรากฏเฉพาะรายการข่าวแล้ว ยังมีการนำมาใช้ในรายการอื่นๆ ที่มิใช่ข่าว ยกเว้นบางรายการ เช่น รายการสั้นๆ หรือการถ่ายทอดสดกีฬา (บางกรณีในการถ่ายทอดสดกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ อาจมีการแสดงแถบอักษรข่าววิ่ง)
 
=== ไทยพีบีเอส ===
==== สำหรับรายงานข่าว ====
สำหรับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เดิมมีแถบอักษรข่าววิ่ง ใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2552 (แต่เป็นรูปแบบที่เคยใช้สมัยยังเป็นสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และ[[สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี]]) ต่อมาในช่วงต้นปี 2557 จึงนำแถบอักษรข่าววิ่งมาใช้อีกครั้ง โดยใช้สีเทาเป็นสีพื้นหลัง (ช่วงปี พ.ศ. 2558 ช่วงที่มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ไทยพีบีเอสได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ มาประดับบนหน้าจอพร้อมกับโทรทัศน์ช่องอื่นๆ มีการเพิ่มนาฬิกาดิจิทัลแบบไม่แสดงวินาทีบนแถบสีเทาเข้มฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว จนกระทั่งพ้นวาระงานเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว จึงนำแถบนาฬิกาออก)
 
==== แถบขัอมูลหลักทรัพย์ (ปัจจุบันยกเลิกแสดงแถบข้อมูลตลาดหุ้นไปแล้ว) ====
=== ทีเอ็นเอ็น 24 ===
==== สำหรับรายงานข่าว ====
ปัจจุบันแถบวิ่งรายงานข่าว ของ TNN24 เป็นแถบยาวสีเทา พร้อมนาฬิกาดิจิทัลแบบไม่แสดงเวลาเป็นวินาที ไว้ที่มุมซ้ายมือของแถบวิ่ง ในขณะที่วันเสาร์ ก็จะแสดงเป็นข่าวกีฬา เช่น ผลการแข่งขันฟุตบอล เพียงแต่ไม่แสดงแถบดังกล่าวในรายการข่าวภาคหลักของ TNN24
 
==== แถบข้อมูลหลักทรัพย์ (ปัจจุบันยกเลิกแสดงแถบข้อมูลตลาดหุ้นไปแล้ว) ====
 
TNN24 ใช้แถบข้อมูลรายงานหุ้นตั้งแต่สมัยเป็น ยูบีซีนิวส์ (UBC7) (*-กลางปี2554) ต่อมา(ระหว่างกลางปี 2554-2558)
ใช้แถบข้อมูลหุ้น 2 ชั้นด้วยกัน 1.แถบบน แบ่งเป็น ข้อมูลซื้อขายล่าสุดในตลาดหุ้นและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือฟิวเจอร์ส (Futures) (แถบสีดำ ซึ่งคล้ายตัววิ่งของบลูมเบิร์ก) กับแถบข้อมูลดัชนีหุ้นล่าสุด (แถบสีส้ม) ซึ่งจะเปลี่ยนข้อมูลโดยการเลือนขึ้น (Crossfade) ทุก 5 วินาที 2.แถบล่าง (สีน้ำเงิน) เป็นข้อมูลราคาหลักทรัพย์ โดยเรียงข้อมูลหมวดธุรกิจตามอักษรภาษาอังกฤษ
 
ล่าสุดเมื่อกลางเดือนมกราคม 2560 ก็ได้นำกลับมาใช้แถบดังกล่าวอีกครั้ง โดยปรับปรุงให้เป็นแถบชั้นเดียว เป็นแถบสีเทา(เช่นเดียวกับอักษรข่าววิ่ง) ซึ่งจะประกอบไปด้วย แสดงข้อมูลราคาหลักทรัพย์ โดยเรียงข้อมูลหมวดธุรกิจตามอักษรภาษาอังกฤษ ส่วนด้านขวาของแถบ แสดงข้อมูลดัชนีหุ้น ซึ่งจะเปลี่ยนข้อมูลโดยการเลื่อนขึ้น (Crossfade) ทุก 5 วินาที (ซึ่งลักษณะโดยรวมของแถบตัววิ่งหุ้นของช่อง TNN 24 จะคล้ายคลึงกับของช่อง 9 MCOTHD ชัดเจน)
 
=== สปริงนิวส์ ===
 
{{โครงส่วน}}
 
 
=== วอยซ์ทีวี ===
 
วอยซ์ทีวีเริ่มนำแถบอักษรข่าวมาใช้ในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2557]] ในรายการพิเศษเพื่อรายงานสด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557]] โดยใช้รูปแบบแสดงครั้งละ 1 ข่าวทีละหัวข้อโดยใช้การเลือน (Crossfade) ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับแถบแสดงข้อความที่ผู้ชมส่งผ่านระบบข้อความสั้น (SMS) จนกระทั่งหลังจากวอยซ์ทีวีชนะการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิทัลประเภทช่องข่าว แถบอักษรข่าวกลับมาใช้อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2559]] โดยเป็นแถบอักษรวิ่งปกติ คั่นข่าวแต่ละชิ้นด้วยสัญลักษณ์รายการข่าว Voice News ใช้พื้นสีแดง (ต่อมาเป็นแถบสีน้ำเงิน และแถบสีเทา ช่วงหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) โดยจะปรากฏแถบอักษรนี้ในรายการข่าวทุกรายการรวมถึงข่าวต้นชั่วโมง (ปัจจุบันแถบดังกล่าวได้ยกเลิกการแสดงแล้ว)
 
=== เนชั่นทีวี 22 ===
=== สำหรับการรายงานข่าว ===
เนชั่นทีวี ถือว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการใช้แถบด้านล่างจอลักษณะยาวเพื่อนำเสนอการรายงานข่าว (News Bar บ้างก็เรียกว่า News Ticker) แต่เป็นการเสนอข่าวแบบพาดหัวข่าวเดี่ยว ทีละหัวข้อ ด้วยการเลื่อนตัวอักษรจากทางซ้ายไปทางขวาตามลำดับในลักษณะพิมพ์ดีด (Typewriter) โดยได้ใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ประมาณปลายปี [[พ.ศ. 2543]] ถึงกลางปี [[พ.ศ. 2554]]{{อ้างอิง}}
 
รูปแบบดังกล่าวปัจจุบัน[[ช่องนาว|นาว 26]] ซึ่งเป็นสถานีพี่น้องกับเนชั่นทีวีได้รับเอารูปแบบดังกล่าวมาใช้ โดยเปลี่ยนจากการเลื่อนจากซ้ายไปขวามาเป็นเลื่อนจากล่างขึ้นบน โดยใช้ในช่วงกลางปี [[พ.ศ. 2558]] ก่อนที่ช่องนาวจะปรับเป็นแบบอักษรวิ่งปกติดังเช่นในปัจจุบัน
ปัจจุบันเนชั่นทีวีใช้แถบอักษรข่าววิ่งแบบปกติ โดยเป็นแถบสีฟ้า มีแถบสีเหลืองคั่นด้านบน คั่นข่าวแต่ละชิ้นด้วยสัญลักษณ์วงกลมตัวอักษร N ซี่งมาจากสัญลักษณ์ของสถานี โดยใช้ในช่วงกลางปี [[พ.ศ. 2558]] (ต่อมา ในวันที่ [[6 กันยายน]] [[พ.ศ. 2558]] ในรายการข่าวพิเศษเพื่อรายงานสดการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อลงมติ[[ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ยกร่าง พ.ศ. 2557)]] มีการเพิ่มตัวอักษร "NATIONTV.TV" ซึ่งเป็นโดเมนเนมเว็บไซต์ของเนชั่นทีวี บนแถบฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว)และปัจจุบันได้นำโดเมนเนมออกแล้วเอาสัญลักษณ์ช่องจากมุมขวาบนมาไว้แทน
 
=== แถบข้อความทวิตเตอร์ ===
เนชั่นแชนแนล ได้นำข้อความจาก[[ทวิตเตอร์]]ของสถานีโทรทัศน์ ที่ใช้สำหรับการเสนอข่าวสารและการสนทนาระหว่างกัน มาปรากฏผ่านหน้าจอทางสถานีโทรทัศน์ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน [[พ.ศ. 2552]] {{อ้างอิง}} อนึ่ง ตั้งแต่วันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2555]] เนชั่นแชนแนล ได้นำเสนอเทคโนโลยีที่ชื่อว่าโซเซียลทีวี (Social TV)เป็นเทคโนโลยีที่เผยแพร่ข้อความทวิตเตอร์จากผู้ชม ด้วยลักษณะตารางหลายชั้น แล้วพิธีกรรายการข่าวสามารถใช้มือสัมผัสเลื่อนขึ้นบนแต่ละช่องแนวตั้งได้ด้วย เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวการติดตต่อทางทวิตเตอร์ของผู้ชม บนหน้าจอโทรทัศน์มอนิเตอร์ มาเผยแพร่ขณะที่ออกอากาศรายการสด (ทั้งนี้ ได้มีการเผยแพร่ผ่านทางรายการ ข่าวข้นรับอรุณ ในวันออกอากาศนั้น เป็นครั้งแรก)
 
=== แถบแสดงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ ===
 
เนชั่นทีวี ได้มีการแสดงแถบตัวอักษรแสดงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์โดยเป็นแถบสีเทา 2 ชั้น โดยไม่มีแถบแสดงข้อมูลดัชนีเช่นเดียวกับช่องอื่นๆ โดยจะพบในรายการข่าวเศรษฐกิจ (ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ได้ขยายเข้าไปในรายการ[[เก็บตกจากเนชั่น]]ภาคกลางวัน ก่อนที่จะขยายแสดงแถบตลาดหุ้นทุกรายการในช่วงตั้งแต่ 10:15น.-13:00น.,13:30น.-17:00น.ในปัจจุบัน)
 
เมื่อเปลี่ยนเป็นเนชั่นทีวีในต้นปี 2557 แถบตัวอักษรแสดงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงโดยเป็นแถบ 2 ชั้น ชั้นบน (สีน้ำเงิน) เป็นแถบข้อมูลดัชนีและข่าวประชาสัมพันธ์ของ[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] (ปัจจุบันแสดงเพียงข้อมูลดัชนีแต่เพียงอย่างเดียว) แถบชั้นบนจะแสดงสลับไปมา และ ชั้นล่าง (สีฟ้า) เป็นแถบแสดงข้อมูลหลักทรัพย์เรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ จะเปลี่ยนแปลงระบุเป็นหน่วย %+,-
 
ปัจจุบัน (ตั้งแต่กลางปี 2558) แถบตัวอักษรแสดงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ได้ลดลงเหลือเพียงชั้นเดียว โดยเป็นแถบสีขาว แสดงข้อมูลราคาหลักทรัพย์รายตัวตามหมวดธุรกิจ และแถบด้านขวามือโดยเป็นสีน้ำเงิน แสดงข้อมูลดัชนีล่าสุด โดยขยายการแสดงไปในทุกรายการ โดยประกบกับแถบอักษรข่าววิ่งตามปกติ(จึงดูเสมือนเป็นแถบตัววิ่ง 2 ชั้น คล้ายคลึงกับของ สถานี CNBC) หรือแถบข้อความที่ผู้ชมส่งผ่านระบบข้อความสั้น (SMS) ในบางรายการ
 
=== ช่องเวิร์คพอยท์ ===
{{โครงส่วน}}
 
 
=== จีเอ็มเอ็ม 25 ===
{{โครงส่วน}}
 
=== นาว 26 ===
==== สำหรับรายงานข่าว ====
แถบอักษรข่าววิ่งของ นาว 26 มี 2 แบบ ซึ่งมีจุดเด่น คือ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ทวิตเตอร์ โดยยุคแรก(ช่วงที่เป็นกรุงเทพธุรกิจทีวี) จะเป็นแถบสีน้ำเงิน คั่นด้วยสัญลักษณ์ของทวิตเตอร์ ซึ่งใช้มาจนถึงช่วงของ นาว 26 จึงได้ปรับมาเป็นการนำเสนอเนื้อหาข่าวอย่างสั้น ระยะแรกใช้สัญลักษณ์ทวิตเตอร์คั่นข่าวไปก่อน (เริ่มใช้งานลักษณะนี้เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมกราคม 2556) ภายหลังปรับมาเป็นแถบสีฟ้าอ่อน และสีแดงตามลำดับ และนำสี่เหลี่ยมสีดำที่มีคำวา NOW คั่นระหว่างข่าว และยังมีการนำแถบสีฟ้าเข้มที่มีสัญลักษณ์ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ มาไว้ที่ด้านขวามือ โดยให้อักษรวิ่งหายไปเมื่อวิ่งจากแถบนี้ (บางกรณีจะไม่มีตรากรุงเทพธุรกิจแสดง เช่น รายการปกติ) โดยจะแสดงในทุกรายการ ยกเว้นรายการจากต่างประเทศและแถบแบบที่2 เป็นการแสดงข่าวภาษาอังกฤษจากสำนักข่าวรอยเตอร์ส โดยเป็นแถบสีแดง คั่นโดยรูปโปรไฟล์ทวิตเตอร์ของรอยเตอร์ส(ปัจจุบันแถบดังกล่าวยกเลิกแสดงแล้ว)
 
ต่อมา (นับตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2558) นาว 26 ได้นำแถบอักษรข่าวแบบแสดงทีละหัวข้อข่าว (แบบเดียวกับที่เคยใช้ในช่องเนชั่นทีวีในช่วงยุคแรกๆ) มาปรับใช้ โดยเป็นแถบสีเทา และเลื่อนตัวอักษรจากล่างขึ้นบน (เวลาต่อมากลับไปใช้แบบอักษรวิ่งตามเดิม) พร้อมทั้งขยายไปปรากฏบนรายการปกติทุกวันจันทร์-ศุกร์
 
==== แถบข้อมูลหลักทรัพย์ ====
 
แถบข้อมูลหุ้นของ นาว 26 แบ่งเป็น 3 ชั้น(ใช้ระหว่างปี 2557-2558) คือ
 
ชั้นที่ 1 แถบข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์โดยภาพรวม.อันดับหลักทรัพย์,ข้อมูลการซื้อขายตลาดอนุพันธ์,ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยเป็นแถบสีดำ ลักษณะโดยรวมคล้ายตัววิ่งของ Bloomberg
 
ชั้นที่ 2 แถบข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามหมวดอุตสาหกรรม (Sector) เป็นแถบยาว ประกอบด้วยสี่เหลี่ยมสีส้ม มีอักษรระบุหมวดอุตสาหกรรมสีดำ และมีสี่เหลี่ยมสีขาว.เทา 4 รูป (ต่อมาเพิ่มเป็น 5 รูป เมื่อปรับอัตราส่วนเป็น 16:9) ซึ่งแสดงข้อมูลหลักทรัพย์เป็นรายตัว ทั้งหมดจะเปลี่ยนข้อมูลโดยการเลือนขึ้น (Crossfade)
ที่ด้านขวาของชั้นที่ 1 และ 2 เป็นแถบข้อมูลดัชนี โดยเป็นสี่เหลี่ยมสีขาว มีแถบชื่อดัชนีสีส้ม อักษรสีดำ เปลี่ยนข้อมูลโดยการเลือนขึ้น (Crossfade)
 
ชั้นที่ 3 แถบอักษรข่าววิ่ง
ทั้งหมดนี้จะใช้ในรายการสดในช่วงวันและเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (รวมถึงก่อนเวลาทำการภาคเช้าอีกด้วย) โดยจะไม่แสดงในรายการสดที่มีการแสดง SMS จากผู้ชม
 
เวลาต่อมา นับตั้งแต่ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายน2559ถึงพฤษภาคม2560ช่องนาวกลับมามีการแสดงแถบข้อมูลหุ้นอีกครั้งโดยเป็นแถบชั้นเดียว มีองค์ประกอบ ดังนี้
 
ด้านซ้ายมือของหน้าจอ เป็นแถบข้อมูลดัชนีล่าสุด โดยเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียว ตัวอักษรสีดำ เปลี่ยนข้อมูลโดยการเลือนขึ้น (Crossfade)
 
ถัดจากแถบข้อมูลดัชนี จะเป็นแถบข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามหมวดธุรกิจ (Sector) เป็นแถบยาวสีดำ ลักษณะโดยรวมคล้ายตัววิ่งของ Bloombergโดยมีสี่เหลี่ยมสีเทา มีอักษรระบุหมวดอุตสาหกรรมสีฟ้า โดยให้ตัววิ่งหายไปเมื่อวิ่งเข้าสู่แถบนี้แล้วจะเลื่อนขึ้นเมื่อเข้าสู่หมวดธุรกิจ (Sector) ถัดไป
(ซึ่งลักษณะโดยรวมของแถบตัววิ่งหุ้นของช่อง NOW จะคล้ายคลึงกับของ ช่องเนชั่นทีวี และช่อง 9 MCOT HD ตรงที่จะจัดเรียงข้อมูลหลักทรัพย์แบบรายกลุ่มธุรกิจ (Sector) เหมือนกัน)(ปัจจุบันแถบดังกล่าวได้ยกเลิกแล้ว)
{{โครงส่วน}}
 
=== ไทยรัฐทีวี ===
{{โครงส่วน}}
 
 
=== อมรินทร์ทีวี ===
==== สำหรับรายงานข่าว (ปัจจุบันยกเลิกแสดงแถบข่าวแล้ว) ====
{{โครงส่วน}}
 
==== แถบข้อมูลหลักทรัพย์ (ปัจจุบันยกเลิกแสดงข้อมูลตลาดหุ้นแล้ว) ====
{{โครงส่วน}}
 
=== พีพีทีวี เอชดี 36 ===
 
พีพีทีวีเริ่มใช้แถบอักษรข่าววิ่งครั้งแรกเมื่อครั้งออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล โดยเป็นแถบสีฟ้า (ภายหลังเป็นสีดำ) คั่นข่าวแต่ละชิ้นด้วยรูปสามเหลี่ยม
 
ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 พีพีทีวีนำรูปแบบของแถบอักษรข่าวจากสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้ โดยเป็นแถบขนาดใหญ่ มีแถบแยกประเภทข่าว และตัวอักษรจะแสดง 2 บรรทัด
 
ปัจจุบัน พีพีทีวีใช้แถบสีน้ำเงินเข้ม หรือแถบสีแดงในกรณีข่าวด่วน (ในรายการ[[ยกทัพข่าวเช้า]] ประมาณปี พ.ศ. 2558-กรกฎาคม 2559 ต่อเนื่องมาจนถึงรายการ [[โชว์ข่าวเช้านี้]] ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2559 ใช้แถบสีส้ม) มีแถบแยกประเภทข่าวอยู่ที่ด้านซ้ายมือ (ในรายการปกติที่มิใช่ข่าว จะเปลี่ยนเป็นตัวอักษร News Update หรือ Breaking News กรณีข่าวด่วน) โดยให้อักษรวิ่งหายไปเมื่อวิ่งเข้าสู่แถบนี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้แถบอักษรข่าววิ่งในช่วงรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศ โดยใช้นำเสนอข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับฟุตบอล เช่น รายชื่อผู้เล่น ผลการแข่งขันล่าสุด
 
=== มันนี่ แชนแนล ===
กองทัพภาคที่2 (ทภ.2 เคเบิลทีวีอนาล๊อกทีวี)
 
ใช้ข้อความตัววิ่งแบบแถบสีเขียวเวลามีข่าวอะไรบนอนาล๊อกทีวี
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์โทรทัศน์]]
[[หมวดหมู่:โทรทัศน์]]