ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์การอแล็งเฌียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขการสะกด
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติศาสตร์
บรรทัด 7:
 
จักรวรรดิแฟรงก์ในยุคของราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงเริ่มเสื่อมสลายเมื่อ[[จักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา]]แบ่งดินแดนให้โอรส 3 พระองค์ตาม[[สนธิสัญญาแวร์เดิง]] [[พ.ศ. 1386]] หลังจากนั้น เมื่อถูกพวกไวกิ้งรุกราน การรวมศูนย์อำนาจจึงล่มสลาย อำนาจตกไปอยู่ในมือของพวกขุนนาง จนเข้าสูการปกครอง[[ระบบเจ้าขุนมูลนาย|ระบอบฟิวดัล]]ในที่สุด
 
== ประวัติศาสตร์ ==
 
ตระกูลขึ้นมามีอำนาจในฐานะสมุหราชมณเฑียรที่สืบทอดทางสายเลือดของราชอาณาจักรออสเตรเชียของชาวแฟรงก์ และเมื่อเปแป็งที่ 2 แห่งเฮริสตัลขึ้นเป็นสมุหราชมณเฑียรในปี ค.ศ. 679 ตระกูลก็ลดอำนาจของกษัตริย์เมโรวินเจียนที่ไม่มีความสำคัญให้เป็นแค่ผู้นำแต่ในนาม ในปี ค.ศ. 687 เปแป็งที่ 2 ได้อำนาจในการปกครองอาณาจักรแฟรงก์ทั้งหมดมาเมื่อสามารถปราบคู่แข่งชาวนูสเตรียน เอโบอิน ได้ เมื่อเสียชีวิตในปี ค.ศ. 714 เปแป็งทิ้งทายาทตามกฎหมายไว้หนึ่งคน เป็นเด็กน้อยวัย 6 ปี กับบุตรชายนอกสมรสหนึ่งคน ชาร์ลส์ มาร์เตล
 
ในปี ค.ศ. 725 ชาร์ลส์ มาร์เตลตั้งตนเป็นผู้ปกครองของชาวแฟรงก์ แม้จะยังเก็บระบอบกษัตริย์ของชาวเมโรวินเจียนไว้จนถึงปี ค.ศ. 737 เมื่อธูเดอริคที่ 4 สิ้นพระชนม์ ชาร์ลส์ทิ้งบัลลังก์ไว้ให้ว่างอยู่อย่างนั้น
 
ชาร์ลส์ มาร์เตลเสียชีวิตในปี ค.ศ. 741 และบุตรชายของเขา เปแป็งที่ 3 ผู้ตัวเตี้ยกับแกร์โลมงแบ่งอาณาจักรกัน หลังแกร์โลมงสละตำแหน่งในปี ค.ศ. 747 เปแป็งที่ 3 กลายเป็นผู้ปกครองเพียงคนเดียว ตำแหน่งของเขามั่นคงพอจนทำให้ในปี ค.ศ. 750 เขาปลดกษัตริย์เมโรวินเจียนคนสุดท้าย ชิลเดอริคที่ 3 ออกจากตำแหน่ง และด้วยการสนับสนุนของพระสันตะปาปาซาคาเรียส เปแป็งได้ทำให้ตนเองได้นับเลือกเป็นกษัตริย์โดยกลุ่มขุนนางชาวแฟรงก์และได้รับการเจิมจากบิชอปของศาสนจักรโรมัน
 
อาณาจักรถูกแบ่งอีกครั้งเมื่อเปแป็งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 768 แต่การสิ้นพระชนม์ในสามปีต่อมาจองพระโอรสคนเล็ก แกร์โลมง ทำให้อาณาเขตกลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวอยู่ในมือของพระโอรสคนโตของเปแป็ง ชาร์ลส์ ที่จะกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ ชาร์เลอมาญ ชาร์เลอมาญขยายอำนาจของชาวแฟรงก์ด้วยการพิชิตพื้นที่ทั้งหมดของกอล, เข้าสู่เยอรมนีและอิตาลี และทำให้ชาวโบฮีเมีย, ชาวอาวาร์, ชาวเซิร์บ, ชาวโครแอต และกลุ่มชนอื่นๆ ของยุโรปตะวันออกตกเป็นเมืองขึ้น พระองค์สร้างสัมพันธไมตรีกับพระสันตะปาปา และสร้างรัฐของพระสันตะปาปาขึ้นมาในอิตาลีตอนกลางในปี ค.ศ. 774 ในวันคริสตมาสของปี ค.ศ. 800 ต่อหน้าพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันที่ได้รับการกอบกู้
 
จักรวรรดิของชาร์เลอมาญสามารถบงการยุโรปตะวันตกได้ แต่กลับตกเป็นเหยื่อของจารีตของชาวแฟรงก์โบราณในการแบ่งอาณาจักรให้กับพระโอรสทุกคนของกษัตริย์ผู้ล่วงลับ เมื่อพระโอรสคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้สืบทอดของชาร์เลอมาญ หลุยส์ผู้ศรัทธา สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 840 พระโอรสสามคนของพระองค์แย่งชิงกันเป็นผู้สืบทอดต่อ ในสนธิสัญญาแวร์เดิงในปี ค.ศ. 843 ทั้งสามตกลงแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสามราชอาณาจักร ฟรานเชียอ็อกชิเดนตาลิสตะวันตกตกเป็นของชาร์ลส์ที่ 2 ผู้ศีรษะล้าน, ฟรานเชียอ็อกชิเดนตาลิสตะวันออกตกเป็นของหลุยส์ที่ 2 ชาวเยอรมัน และฟรานเชียเมเดียที่รวมถึงมณฑลในอิตาลีและโรมตกเป็นของโลธาร์ที่ได้สืบทอดตำแหน่งจักรพรรดิด้วย
 
การแบ่งส่วนในภายหลังของราชอาณาจักรทั้งสาม บวกกับการขึ้นมาของกลุ่มอำนาจใหม่ ชาวนอร์มันและชาวแซ็กซัน บั่นทอนอำนาจของชาวการอแล็งเฌียง ตำแหน่งจักรพรรดิถูกส่งต่อจากโลธาร์สู่พระโอรส หลุยส์ที่ 2 ในปี ค.ศ. 855, จากหลุยส์ที่ 2 สู่พระปิตุลา ชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้านในปี ค.ศ. 875 และหลังช่วงผลัดเปลี่ยนแผ่นดินหลังการสิ้นพระชนม์ของชาร์ลส์ในปี ค.ศ. 877 สู่ชาร์ลส์ที่ 3 ผู้ตัวอ้วน พระโอรสคนเล็กของหลุยส์ชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 881
 
เมื่อชาร์ลส์ที่ 3 ถูกปลดออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 887 อำนาจของชาวการอแล็งเฌียงไม่สามารถแก้ปัญหาในจักรวรรดิได้ แม้ว่ากษัตริย์การอแล็งเฌียงจะกลับมามีอำนาจในฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ. 893/898 – 923 และ ค.ศ. 936 – 987
 
== อ้างอิง ==
* อนันต์ชัย เลาหะพันธุ. เรื่องน่ารู้ในยุโรปสมัยกลาง. กทม: ศักดิ์โสภาการพิมพ์. 2550
 
== แหล่งข้อมูล ==
https://www.britannica.com/topic/Carolingian-dynasty
 
{{ราชวงศ์ยุโรป}}