ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อสคาร์ ชินด์เลอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
ในปี พ.ศ. 2482 ซินด์เลอร์ได้รับมอบให้เป็นเจ้าของโรงงานภาชนะเครื่องเคลือบใน[[กรากุฟ]] โปแลนด์ ซึ่งมีจำนวนคนงาน (ณ ช่วงเวลาที่รุ่งเรืองที่สุดของโรงงานในปี พ.ศ. 2487) อยู่ประมาณ 1,750 คน ในจำนวนนั้นเป็นชาวยิวราวหนึ่งพันคน ซินด์เลอร์สามารถปกป้องลูกจ้างชาวยิวของเขาจากการถูกส่งตัวไปยัง[[ค่ายกักกันนาซี]]ด้วยเส้นสายในหน่วยสืบราชการลับ แม้ว่าในช่วงแรกเขาจะมุ่งความสนใจไปที่การทำกำไรจากธุรกิจก็ตาม แต่ในภายหลังเขาหันกลับมาให้ความสำคัญในการปกป้องลูกจ้างชาวยิวของตน โดยไม่สนว่าจะต้องแลกมาด้วยอะไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ซินด์เลอร์ต้องติดสินบนเจ้าหน้าที่จากพรรคนาซีด้วยส่วยก้อนโตและสินทรัพย์หรูหรามากมายที่หาซื้อได้จากตลาดมืดเท่านั้น แลกกับอิสรภาพของลูกจ้างชาวยิวของเขา
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 เมื่อเยอรมนีมีทีท่าว่าจะพ่ายแพ้ในสงคราม หน่วย[[ชุทซ์ชทัฟเฟิล]] (หน่วยเอสเอส) ของนาซีจึงเริ่มปิดค่ายกักกันในภาคตะวันออกและอพยพนักโทษที่ยังคงหลงเหลืออยู่มายังฝั่งตะวันตก ส่งผลให้นาซีจำต้องสังหารนักโทษใน[[ค่ายกักกันเอาชวิทซ์]]และ[[ค่ายกักกันกรอสส์-โรเซิน]]ไปเป็นจำนวนมาก ซินด์เลอร์จึงได้ทำการโน้มน้าว ''เฮาป์ชเติมฟือเรอร์'' (Hauptsturmführer) ของหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิล [[อาโมนม็อน เกิท]] ผู้บัญชาการค่ายกักกันกรากุฟ-ปวาซอฟ (Kraków-Płaszów) ในละแวกใกล้เคียง ขอย้ายโรงงานของตนไปยัง[[บรึนน์ลิตซ์]]ใน[[ซูเดเทินลันด์]] เขาจึงสามารถปกป้องลูกจ้างของตนให้รอดพ้นจากการถูกจับเข้า[[ห้องรมแก๊ส]]ไปได้ เลขานุการของเกิท มีเทค เปมเปอร์ จึงรวบรวมและพิมพ์รายชื่อชาวยิวจำนวน 1,200 คน ซึ่งได้มาจากตำรวจแห่งกองตำรวจชาวยิว มาร์เซิล กอลด์แบร์ก ส่งให้เดินทางไปยังบรึนน์ลิตซ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2487 ทั้งนี้ซินด์เลอร์ยังคงติดสินบนเจ้าหน้าที่เอสเอสต่อไปจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองภาคพื้นยุโรปสิ้นสุดลงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 เพื่อหลีกเลี่ยงการจับลูกจ้างของเขาไปลงโทษและประหารชีวิต ทำให้เขาต้องแลกเอาทรัพย์สินและความมั่งคั่งที่มีอยู่ทั้งหมดไปกับการติดสินบนและซื้อสินค้าหายากจากตลาดมืดมาเพื่อการนี้
 
หลังสงครามสิ้นสุดลง ซินด์เลอร์ย้ายไปยังเยอรมนีตะวันตก และได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากบรรดาองค์กรบรรเทาทุกข์ของชาวยิว ซึ่งหลังจากที่ได้รับชำระเงินทดแทนจากสงครามมาบางส่วน เขาได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปยังอาร์เจนตินาและลงหลักปักฐานทำไร่สวนที่นั้น อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2501 ซินด์เลอร์ตกอยู่ในสภาวะล้มละลาย เข้าจึงแยกทางกับภรรยาและเดินทางกลับเยอรมนี ก่อนที่จะล้มเหลวในการประกอบธุรกิจหลายอย่าง จนในที่สุดเขาจำเป็นต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจาก ''ซินด์เลอร์ยูเดิน'' (Schindlerjuden; ชาวยิวของซินด์เลอร์) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยความช่วยเหลือของเขา นอกจากนี้เขายังถูกมอบเกียรติยศ ''ไรท์เชียสอะมองเดอะเนชันส์'' (Righteous Among the Nations) จากรัฐบาลอิสราเอลในปี พ.ศ. 2506<ref>[https://www.yadvashem.org/righteous/stories/schindler.html อ็อสคาร์ ชินด์เลอร์] - [https://www.yadvashem.org/ Yad Vashem] {{en}}</ref>
บรรทัด 50:
[[หมวดหมู่:นาซี]]
[[หมวดหมู่:ชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2]]
[[หมวดหมู่:อาโมนม็อน เกิท]]
{{โครงชีวประวัติ}}