ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 99:
{{นาซี}}
=== สมาชิกพรรคกรรมกร ===
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติ ฮิตเลอร์กลับมายังมิวนิก{{sfn|Bullock|1999|p=61}} เพราะไม่มีแผนหรือโอกาสการศึกษาและอาชีพอย่างเป็นทางการ เขาจึงพยายามอยู่ในกองทัพให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้{{sfn|Kershaw|1999|p=109}} เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1919 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นแวร์บินดุงสมันน์ (เจ้าหน้าที่การข่าว) แห่งเอาฟ์แคลรุงส์คอมมันโด (คอมมานโดลาดตระเวน) ของ[[ไรชส์แวร์]] เพื่อมีอำนาจบังคับทหารอื่นและเพื่อแทรกซึม[[พรรคกรรมกรเยอรมัน]] (DAP) ระหว่างที่เขาเฝ้าติดตามกิจกรรมของพรรค DAP ฮิตเลอร์ถูกดึงดูดโดยแนวคิดต่อต้านยิว ชาตินิยม ต่อต้านทุนนิยม และต่อต้านมากซิสต์ของอันทอนโทน เดร็กซ์แลร์เดร็คส์เลอร์ ผู้ก่อตั้งพรรค{{sfn|Kershaw|2008|p=82}} เดร็กซ์แลร์เดร็คส์เลอร์สนับสนุนรัฐบาลที่มีศักยะแข็งขัน สังคมนิยมรุ่นที่ "ไม่ใช่ยิว" และความสามัคคีท่ามกลางสมาชิกทั้งหมดของสังคม ด้วยความประทับใจกับทักษะวาทศิลป์ของฮิตเลอร์ เดร็กซ์แลร์เดร็คส์เลอร์จึงเชิญเขาเข้าร่วมพรรคกรรมกรฯ ฮิตเลอร์ยอมรับเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1919{{sfn|Stackelberg|2007|p=9}} เป็นสมาชิกพรรคคนที่ 55{{sfn|Mitcham|1996|p=67}}
 
[[ไฟล์:Hitler's_DAP_membership_card.png|thumb|left|สำเนาบัตรสมาชิกพรรคกรรมกรเยอรมันของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]
บรรทัด 106:
หลังถูกปลดประจำการในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1920 ฮิตเลอร์เริ่มทำงานกับพรรคเต็มเวลา ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 ฮิตเลอร์ ซึ่งสามารถปราศรัยต่อผู้ฟังจำนวนมากได้เป็นผลดีแล้ว ปราศรัยแก่ฝูงชนมากกว่าหกพันคนในมิวนิก{{sfn|Kershaw|2008|p=89}} ในการประกาศเผยแพร่การชุมนุมดังกล่าว ผู้สนับสนุนพรรคสองคันรถบรรทุกขับไปรอบเมืองและโบกธงสวัสติกะและโยนใบปลิว ไม่นานฮิตเลอร์ก็มีชื่อเสียงในทางไม่ดีจากความเอะอะโวยวายและการปราศรัยโจมตีสนธิสัญญาแวร์ซาย นักการเมืองคู่แข่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกมากซิสต์และยิว{{sfn|Kershaw|2008|pp=89–92}} ขณะนั้นพรรคนาซีมีศูนย์กลางอยู่ในมิวนิก แหล่งเพาะหลักของลัทธิชาตินิยมเยอรมันต่อต้านรัฐบาลซึ่งตั้งใจบดขยี้ลัทธิมากซ์และบ่อนทำลาย[[สาธารณรัฐไวมาร์]]{{sfn|Kershaw|2008|p=81}}
 
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1921 ระหว่างที่ฮิตเลอร์และเอคคาร์ทกำลังอยู่ระหว่างการเดินทางไประดมทุนยังเบอร์ลิน ได้เกิดการจลาจลขึ้นภายในพรรคกรรมกรฯ ในมิวนิก สมาชิกคณะกรรมการบริหารพรรคกรรมกรฯ ซึ่งบางคนมองว่าฮิตเลอร์ยโสเกินไป ต้องการผนวกรวมกับพรรคสังคมนิยมเยอรมัน (DSP) คู่แข่ง{{sfn|Kershaw|2008|pp=100, 101}} ฮิตเลอร์เดินทางกลับมิวนิกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 และยื่นใบลาออกจากพรรคด้วยความโกรธ สมาชิกกรรมการตระหนักว่าการลาออกของเขาจะหมายถึงจุดจบของพรรค{{sfn|Kershaw|2008|p=102}} ฮิตเลอร์ประกาศจะกลับเข้าพรรคอีกครั้งเมื่อเขาเป็นหัวหน้าพรรคแทนเดร็กซ์แลร์เดร็คส์เลอร์ และที่ทำการพรรคจะยังอยู่ในมิวนิกต่อไป{{sfn|Kershaw|2008|p=103}} คณะกรรมการตกลง เขาเข้าร่วมพรรคอีกครั้งเป็นสมาชิกคนที่ 3,680 เขายังเผชิญกับการคัดค้านภายในพรรคบ้าง แฮร์มันน์ เอสแซร์และพันธมิตรของเขาพิมพ์แผ่นพับ 3,000 แผ่นโจมตีฮิตเลอร์ว่าเป็นผู้ทรยศพรรค{{sfn|Kershaw|2008|p=103}} ไม่กี่วันให้หลัง ฮิตเลอร์กล่าวแก้ต่างและได้รับเสียงปรบมือดังสนั่น ยุทธศาสตร์ของเขาพิสูจน์แล้วว่าประสบผล ที่การประชุมใหญ่สมาชิกพรรคกรรมกรฯ เขาได้รับอำนาจเต็มในฐานะหัวหน้าพรรค โดยได้รับเสียงคัดค้านเพียงเสียงเดียว{{sfn|Kershaw|2008|pp=83, 103}} ฮิตเลอร์ยังได้รับการชดใช้จากคดีหมิ่นประมาทกับหนังสือพิมพ์สังคมนิยม มึนเชแนร์ โพสต์ ซึ่งตั้งคำถามถึงวิถีชีวิตและรายได้ของเขา{{sfn|Kershaw|2008|p=99}}
 
สุนทรพจน์โรงเบียร์ที่เผ็ดร้อนของฮิตเลอร์เริ่มดึงดูดผู้ฟังขาประจำ เขาเริ่มช่ำชองในการใช้แก่นประชานิยมต่อผู้ฟังของเขา รวมทั้งการใช้แพะรับบาปผู้ซึ่งสามารถใช้กล่าวโทษแก่ความยากลำบากทางเศรษฐกิจของผู้ฟังเขา{{sfn|Bullock|1999|p=376}}{{sfn|Frauenfeld|1937}}{{sfn|Goebbels|1936}} นักประวัติศาสตร์ได้สังเกตปรากฏการณ์สะกดจิตของวาทศิลป์ที่เขาใช้ต่อผู้ฟังกลุ่มใหญ่ และของตาเขาในกลุ่มเล็ก เคสเซลเขียนว่า "อย่างล้นหลาม ... ชาวเยอรมันเอ่ยกับการร่ายมนต์ของความดึงดูดใจ 'สะกดจิต' ของฮิตเลอร์ คำนี้ปรากฏขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฮิตเลอร์กล่าวกันว่าได้สะกดจิตประเทศชาติ ยึดพวกเขาอยู่ในภวังค์ที่ถอนตัวไม่ขึ้น"{{sfn|Kressel|2002|p=121}} นักประวัติศาสตร์ ฮิวจ์ เทรเวอร์-โรเปอร์ อธิบาย "ความมีเสน่ห์ของดวงตาคู่นั้น ซึ่งสะกดชายที่ดูสุขุมมานักต่อนัก"{{sfn|Trevor-Roper|1987|p=116}} เขาใช้อำนาจดึงดูดส่วนตัวของเขาและความเข้าใจในจิตวิทยาฝูงชนเป็นประโยชน์แก่เขา ระหว่างพูดในที่สาธารณะ{{sfn|Kershaw|2008|p=105–106}}{{sfn|Bullock|1999|p=377}} อัลฟอนส์ เฮค อดีตสมาชิกยุวชนฮิตเลอร์ อธิบายปฏิกิริยาที่มีต่อสุนทรพจน์ของฮิตเลอร์ว่า "เราปะทุเข้าสู่ความบ้าคลังของความภูมิใจชาตินิยมที่อยู่ติดกับฮิสทีเรีย เป็นเวลาหลายนาทีติดกัน เราตะโกนสุดปอดของเรา ด้วยน้ำตาที่ไหลลงมาตามใบหน้าของเรา [[ซีก ไฮล์]], ซีก ไฮล์, ซีก ไฮล์! นับแต่ชั่วขณะนั้น ผมเป็นของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ทั้งร่างกายและวิญญาณ"{{sfn|Heck|2001|p=23}} แม้ทักษะวาทศิลป์และคุณสมบัติส่วนตัวของเขาโดยทั่วไปจะได้รับการตอบรับดีจากฝูงชนขนาดใหญ่และในงานทางการ แต่บางคนที่พบฮิตเลอร์เป็นการส่วนตัวสังเกตว่า ลักษณะภายนอกและบุคลิกของเขาไม่อาจให้ความประทับใจสุดท้ายแก่พวกเขาได้{{sfn|Larson|2011|p=157}}{{sfn|Kershaw|1999|p=367}}
บรรทัด 114:
=== กบฏโรงเบียร์ ===
{{บทความหลัก|กบฏโรงเบียร์}}
ฮิตเลอร์ขอการสนับสนุนจากพลเอกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง [[เอริช ลูเดินดอร์ฟ]] สำหรับพยายามก่อรัฐประหารที่เรียกว่า "[[กบฏโรงเบียร์]]" พรรคนาซีได้ใช้ลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีเป็นแบบภาพลักษณ์และนโยบาย และใน ค.ศ. 1923 ฮิตเลอร์ต้องการเลียนแบบ "[[การสวนสนามแห่งโรม]]" ของ[[เบนิโต มุสโสลินี]] (ค.ศ. 1922) โดยจัดรัฐประหารของเขาเองในบาวาเรีย ตามด้วยการท้าทายรัฐบาลในเบอร์ลิน ฮิตเลอร์และลูเดินดอร์ฟฟ์แสวงหาสการสนับสนุนจากสทาทสคอมมิสซาร์ (ผู้ตรวจการรัฐ) [[กุสทัฟ ริทเทอร์ ฟ็อน คาร์|กุสทัฟ ฟ็อน คาร์]] ผู้ปกครองบาวาเรียโดยพฤตินัย อย่างไรก็ดี คาร์ ร่วมกับหัวหน้าตำรวจ ฮันส์ ริทแทร์ ฟอน ไซส์แซร์ และพลเอกแห่งไรชส์แวร์ ออทโทอ็อทโท ฟอน ลอสซอว์ ต้องการสถาปนาลัทธิเผด็จการชาตินิยมโดยปราศจากฮิตเลอร์{{sfn|Kershaw|2008|p=126}}
 
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 102-00344A, München, nach Hitler-Ludendorff Prozess.jpg|thumb|250px|จำเลยในการพิจารณากบฏโรงเบียร์ ฮิตเลอร์เป็นคนที่สี่นับจากขวาสุด]]
บรรทัด 124:
 
=== การสร้างพรรคใหม่ ===
เมื่อฮิตเลอร์ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำนั้น การเมืองในเยอรมนีสงบลงและเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ซึ่งจำกัดโอกาสของฮิตเลอร์ในการปลุกระดมทางการเมือง ผลของกบฏโรงเบียร์ที่ล้มเหลว ทำให้พรรคนาซีและองค์การสืบเนื่องถูกกฎหมายห้ามในรัฐบาวาเรีย ในการประชุมกับนายกรัฐมนตรีบาวาเรีย ไฮน์ริช เฮลด์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1925 ฮิตเลอร์ตกลงที่จะเคารพอำนาจโดยชอบของรัฐ และเขาจะมุ่งแสวงหาอำนาจทางการเมืองเฉพาะผ่านกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น การประชุมดังกล่าวนำไปสู่การยกเลิกการห้าม NSDAP{{sfn|Kershaw|2008|pp=158, 161, 162}} อย่างไรก็ดี ฮิตเลอร์ยังถูกห้ามมิให้ปราศรัยต่อสาธารณะ{{sfn|Kershaw|2008|pp=162, 166}} ซึ่งยังมีผลไปจนถึง ค.ศ. 1927{{sfn|Shirer|1960|p=129}} ในการรุกหน้าความทะเยอทะยานทางการเมืองแม้จะมีการสั่งห้ามนี้ ฮิตเลอร์แต่งตั้งเกรกอร์ สทรัสเซอชตรัสเซอ, ออทโทอ็อทโท สทรัสเซอชตรัสเซอ และ[[โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์]] ให้จัดการและขยายพรรคนาซีทางตอนเหนือของเยอรมนี ด้วยความเป็นผู้จัดที่ยอดเยี่ยม เกรกอร์ สทรัสเซอชตรัสเซอ ได้เดินหน้าวิถีการเมืองที่เป็นอิสระมากขึ้น โดยเน้นองค์ประกอบของสังคมนิยมในโครงการพรรค{{sfn|Kershaw|2008|pp=166, 167}}
 
ฮิตเลอร์ปกครองพรรคนาซีโดยอัตโนมัติโดยอ้างฟือเรอร์พรินซิพ ("หลักการผู้นำ") ตำแหน่งภายในพรรคไม่ถูกกำหนดโดยการเลือกตั้ง แต่จะถูกบรรจุผ่านการแต่งตั้งโดยผู้มีตำแหน่งสูงกว่า ซึ่งต้องการการเชื่อฟังโดยไม่มีการตั้งคำถามต่อประสงค์ของผู้นำ{{sfn|Kershaw|2008|pp=170, 172}}
บรรทัด 255:
 
[[ไฟล์:Buchenwald Corpses 60623.jpg|thumb|left|ทหารอเมริกันยืนอยู่ข้างรถเข็นซึ่งมีศพกองเป็นภูเขานอกเมรุใน[[ค่ายกักกันบูเคินวัลท์]]ที่เพิ่งได้รับการปลดปล่อย เมษายน ค.ศ. 1945]]
แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งเจาะจงจากฮิตเลอร์ที่อนุมัติการสังหารหมู่{{sfn|Megargee|2007|p=146}} เขาได้อนุมัติไอน์ซัทซกรุพเพน หน่วยสังหารซึ่งติดตามกองทัพเยอรมันผ่านโปแลนด์และรัสเซีย เขายังได้รับรายงานอย่างดีเกี่ยวกับพฤติกรรมของหน่วยนี้ด้วย{{sfn|Megargee|2007|p=144}} ระหว่างการสอบสวนโดยสายลับโซเวียต บันทึกซึ่งได้รับการเปิดเผยในอีกกว่าห้าสิบปีให้หลัง คนขับรถของฮิตเลอร์ ไฮนซ์ ลินเกอ และผู้ช่วยของเขา ออทโทอ็อทโท กึนเชอ แถลงว่าฮิตเลอร์มีความสนใจโดยตรงในการพัฒนาห้องรมแก๊ส{{sfn|Yad Vashem, 2006}}
 
ระหว่าง ค.ศ. 1939 ถึง 1945 เอ็สเอ็ส ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลผู้ให้ความร่วมมือและทหารเกณฑ์จากประเทศที่ถูกยึดครอง รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตถึงสิบเอ็ดถึงสิบสี่ล้านชีวิต รวมทั้งชาวยิวหกล้านคน คิดเป็นสองในสามของประชากรยิวในยุโรป{{sfn|Yad Vashem, 2008}}{{sfn|Holocaust Memorial Museum}} และชาวโรมาระหว่าง 500,000 ถึง 1,500,000 คน{{sfn|Hancock|2004|pp=383–396}} การเสียชีวิตเกิดขึ้นในค่ายกักกันและค่ายมรณะ ย่านชาวยิว และการประหารชีวิตหมู่ เหยื่อการล้างชาติหลายคนถูกรมแก๊สจนเสียชีวิต ขณะที่บ้างเสียชีวิตเพราะหิวโหยหรือป่วยขณะใช้แรงงานทาส{{sfn|Shirer|1960|p=946}}