ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไชยเชษฐ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แมว
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง|แมว=}}
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ=วรรณกรรม|สำหรับ=กษัตริย์[[ล้านนา]]และ[[ล้านช้าง]]|ดูที่=แมวสมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช}}'''แมวเถื่อน'''[[ไฟล์:Chaiyach1.jpg|thumb|250px]]
 
[[ไฟล์:Chaiyach1.jpg|thumb|250px]]
== เนื้อเรื่อง ==
 
'''ไชยเชษฐ์''' เป็น [[นิทานพื้นบ้าน]] สมัย [[กรุงศรีอยุธยา]] เป็นราชธานี มีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเป็นเรื่องสนุก ต่อมา [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน ให้ผู้ชายแสดงเป็นตัวละครทั้งหมด [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ เพื่อให้เป็นบทละครนอกของหลวง และทรงให้ผู้หญิงที่เป็นละครหลวงแสดงอย่างละครนอก
อมมะนาว
 
== เนื้อเรื่อง ==
 
"ท้าวอภัยนุราช" เจ้าเมืองเวสาลี มีพระธิดาองค์หนึ่ง พระนามว่า "นางจำปาทอง" เพราะเมื่อนางร้องไห้จะมีดอกจำปาทองร่วงลงมา ครั้นนางจำปาทองเจริญวัยขึ้น นางได้นำไข่จระเข้จากสระในสวนมาฟักจนเป็นตัวและเลี้ยงจระเข้ไว้ในวัง ครั้นจระเข้เติบใหญ่ขึ้น ก็ดุร้ายตามวิสัยของมัน มันเที่ยวไล่กัดชาวเมืองจนชาวเมืองเดือดร้อนไปทั่ว ท้าวอภัยนุราชทรงขัดเคือง จึงขับไล่นางจำปาทองออกจากเมืองเวสาลี "นางแมว" ซึ่งเป็นแมวที่นางจำปาทองเลี้ยงไว้ได้ติดตามนางไปด้วย นางจำปาทองกับนางแมวเดินซัดเซพเนจรอยู่ในป่า ไปพบยักษ์ตนหนึ่งชื่อ "นนทยักษ์" ซึ่งกำลังจะไปเฝ้า "ท้าวสิงหล" นางตกใจกลัวจึงวิ่งหนีไปพบ "พระฤๅษี" พระฤๅษีช่วยนางไว้ นางจำปาทองกับนางแมวจึงขออาศัยอยู่รับใช้พระฤๅษีในป่านั้น
 
ท้าวสิงหลเป็นยักษ์ครองเมืองสิงหล ไม่มีพระโอรสและพระธิดา คืนหนึ่งท้าวสิงหลบรรเทาหลับและทรงพระสุบินว่า มียักษ์ตนหนึ่งมาจากป่านำดอกจำปามาถวาย ดอกจำปามีสีเหลืองเหมือนทองคำงามยิ่งนัก ท้าวสิงหลจึงทรงให้โหรทำนายพระสุบิน โหรทำนายว่าท้าวสิงหลจะได้พระธิดา วันนั้นนนทยักษ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหลและทูลว่าพบหญิงสาวอาศัยอยู่กับพระฤๅษีที่ในป่า ท้าวสิงหลจึงเสด็จไปหาพระฤๅษี และขอนางจำปาทองมาเป็นธิดา ประทานนามว่า "นางสุวิญชา"
 
ฝ่าย "พระไชยเชษฐ์" เป็นโอรสเจ้าเมืองเหมันต์ พระไชยเชษฐ์มีพระสนมอยู่ 7 คน วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสป่า และหลงทางเข้าไปในสวนเมืองสิงหล นางสุวิญชามาเที่ยวชมสวนพบพระไชยเชษฐ์ จึงนำความทูลให้ท้าวสิงหลทราบ ท้าวสิงหลให้พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้า พระไชยเชษฐ์จึงทูลขอรับราชการในเมืองสิงหล ต่อมามีข้าศึกยกทัพมาตีเมืองสิงหล พระไชยเชษฐ์อาสาสู้ศึกจนชนะ ท้าวสิงหลจึงทรงยกนางสุวิญชาให้เป็นชายาพระไชยเชษฐ์ พระไชยเชษฐ์จึงพานางสุวิญชากลับเมืองเหมันต์
 
ฝ่ายนางสนมทั้ง 7 คนริษยานางสุวิญชาที่พระไชยเชษฐ์รักนางสุวิญชามากกว่า ครั้นนางสุวิญชาทรงครรภ์จวนจะถึงกำหนดคลอดนางสนมทั้ง 7 คน ก็ออกอุบายว่ามีช้างเผือกอยู่ในป่า พระไชยเชษฐ์จึงออกไปคล้องช้างเผือก ฝ่ายนางสุวิญชาคลอดลูกเป็นกุมารมีศรกับพระขรรค์ติดตัวมาด้วย นางสนมทั้ง 7 คน นำพระกุมารใส่หีบไปฝังที่ใต้ต้นไทรในป่า เทวดาประจำต้นไม้ช่วยชีวิตพระกุมารไว้ เมื่อพระไชยเชษฐ์เสด็จกลับจากคล้องช้างเผือก นางสนมทั้ง 7 คน ทูลว่านางสุวิญชาคลอดลูกเป็นท่อนไม้ พระไชยเชษฐ์จึงขับไล่นางสุวิญชาออกจากเมือง ขณะที่นางสุวิญชาคลอดกุมารนั้น นางแมวแอบเห็นการกระทำของนางสนมทั้ง 7 คน จึงพานางสุวิญชาไปขุดหีบที่ใต้ต้นไทร แล้วพาพระกุมารกลับไปเมืองสิงหล ท้าวสิงหลตั้งชื่อพระกุมารว่า "พระนารายณ์ธิเบศร์"
ต่อมาพระไชยเชษฐ์ทรงรู้ความจริงว่านางสุวิญชาถูกใส่ร้าย จึงออกติดตามนางสุวิญชาไปเมืองสิงหลและได้พบพระนารายณ์ธิเบศร์ ซึ่งกำลังประพาศป่ากับพระพี่เลี้ยง พระไชยเชษฐ์เห็นพระนารายณ์ธิเบศร์เป็นเด็กน่ารัก มีหน้าตาคล้ายพระองค์ก็มั่นใจว่าเป็นพระโอรส จึงเข้าไปขออุ้มและเอาขนมนมเนยให้ พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธว่าเป็นคนแปลกหน้า จึงไม่ให้จับต้องและไม่ยอมเสวยขนม
 
พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธพระไชยเชษฐ์ที่มาจับต้องตัวและจับหัวของพระพี่เลี้ยงของตนจึงใช้ศรธนูหมายจะฆ่าให้ตาย แต่ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้กระจายเติมพื้นดิน จึงทำให้พระไชยเชษฐ์เกิดความประหลาดใจยิ่งนัก จึงอธิษฐานจิตว่าถ้ากุมารองค์นี้เป็นลูกของตนที่เกิดกับนางสุวิญชาขอให้ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลายเป็นอาหาร ทันใดนั้นพระไชยเชษฐ์ก็แผลงศรออกไปและศรธนูที่ยิงออกไปนั้นก็กลายเป็นอาหารมากมายเต็มพื้น จึงทำให้พระไชยเชษฐ์มั่นใจเป็นแน่แท้ว่าเป็นบุตรของตนจริงจัง
 
พระไชยเชษฐ์ทรงไต่ถามพระนารายณ์ธิเบศร์เกี่ยวกับมารดา เพราะทรงจำแหวนที่พระนารายณ์ธิเบศร์สวมได้ พระนารายณ์ธิเบศร์บอกว่านางสุวิญชาเป็นแม่และท้าวสิงหลเป็นพ่อ พระไชยเชษฐ์จึงทรงเล่าเรื่องเดิมให้พระนารายณ์ธิเบศร์ฟัง ทั้ง 2 จึงทราบว่าเป็นพ่อลูกกัน พระนารายณ์ธิเบศร์พาพระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล พระไชยเชษฐ์ขอโทษนางสุวิญชา พระนารายณ์ธิเบศร์ช่วยทูลนางสุวิญชาให้หายโกรธพ่อ นางสุวิญชายกโทษให้ พระไชยเชษฐ์ นางสุวิญชาและพระนารายณ์ธิเบศร์ 3 คนพ่อแม่ลูกจึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
 
[[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย]]