ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีโทรทัศน์ไอทีวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ 27.130.158.174 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Soponwit Sangsai
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 37:
}}
 
'''สถานีโทรทัศน์ไอทีวี''' ({{lang-en|Independent Television}} ชื่อย่อ: itv) เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2539]] เวลา 19.00 น. โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอ ''ข่าวภาคค่ำประจำวัน'' เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ การเป็น สถานีโทรทัศน์เพื่อข่าวสาร และสาระความรู้ โดย[[ผู้ประกาศข่าว]]คู่แรกของสถานี คือ [[กิตติ สิงหาปัด]] และ [[เทพชัย หย่อง]] ออกอากาศทางช่อง 26<ref>[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=11397 ขุดกรุ:จากสถานี HS1PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ](บางส่วน) จากเว็บไซต์รถไฟไทยดอตคอม</ref>และช่อง 29 โดยมี [[บริษัท อสมท จำกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี]] (มหาชนสปน.)]] เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ และผู้กำกับสัมปทาน เป็น[[สถานีโทรทัศน์]]แห่งที่ 6 ที่ให้บริการแบบไม่ต้องเสียค่าบริการ แห่ง[[ประเทศไทย]] จนกระทั่งต้องยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันพุธที่ [[7 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2550]] เนื่องจากไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานส่วนต่างๆ และค่าปรับแก่ อสมทสปน.ได้ตามเวลาที่กำหนด
 
== ประวัติ ==
''สถานีโทรทัศน์ไอทีวี'' ถือกำเนิดจากดำริของรัฐบาลในสมัยที่ นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] เป็นนายกรัฐมนตรี และ[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี]] (อสมทสปน.) ที่ต้องการให้มี''สถานีโทรทัศน์เสรี'' เพื่อการนำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้สู่ประชาชน โดยเปิดให้เอกชนเช่าสัมปทาน เพื่อให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยในโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าวนั้น ระบุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งไว้ว่า ในช่วง[[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] [[พ.ศ. 2535]] สถานีโทรทัศน์ทั้งหมด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งสามารถบิดเบือนการนำเสนอข่าว ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการได้ ประชาชนจึงไม่สามารถรับรู้ข่าวที่[[ทหาร]]เข้าปราบปรามประชาชนในช่วงนั้นได้ ประจวบเหมาะกับการที่มีเสียงเรียกร้องของประชาชน ให้รัฐบาลใช้นโยบายจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าว เพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง และรายการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น
 
ในปี [[พ.ศ. 2538]] อสมทสปน.ได้เปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น โดย''กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด'' ซึ่งนำโดย[[ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)]] เป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีช่องใหม่ ในระบบ[[ยูเอชเอฟ]] ออกอากาศทางช่อง 26 นับเป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ[[ที่สุดในประเทศไทย|ช่องแรกของประเทศไทย]] จากนั้น กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ก่อตั้ง ''บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนท์ จำกัด'' เพื่อเป็นนิติบุคคลที่ดำเนินการสถานีฯ โดยมีการลงนามในสัญญาสัมปทานฯ เมื่อวันที่ [[3 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2538]] พร้อมทั้งเชิญชวนให้[[บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)]] เข้าร่วมถือหุ้น และบริหารสถานีฯ ด้วย
 
ในระยะแรก สถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีที่ทำการอยู่บนชั้นที่ 16, 17 และ 21 ของตึกฝั่งตะวันออก [[อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า]] [[ถนนพหลโยธิน]] โดยมีระบบการบริหาร ที่เน้นภาพลักษณ์ของการนำเสนอข่าวสารและสาระเป็นหลัก โดยมี [[เทพชัย หย่อง]] เป็นผู้อำนวยการฝ่ายข่าว พร้อมทั้งนำทีมงานจากเครือเนชั่น เข้าเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ในช่วงแรกของไอทีวี มีรายการข่าว และรายการ[[สารคดีเชิงข่าว]] ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ข่าวภาคค่ำ, ไอทีวี ทอล์ค, สายตรงไอทีวี, ถอดรหัส, ย้อนรอย เป็นต้น ซึ่งทำให้ไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการนำเสนอข่าวสารในเวลาต่อมา รวมถึงการเป็นผู้นำในเชิงข่าว[[สืบสวนสอบสวน]]อีกด้วย
บรรทัด 48:
เมื่อวันที่ [[20 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2541]] บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น ''[[บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)]]'' และในราวปี [[พ.ศ. 2542]] หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 โดยส่งสัญญาณจากยอด[[อาคารใบหยก 2]] และมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 52 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายมากที่สุด ครอบคลุมจำนวนผู้รับชม ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทย
 
ต่อมา ในเดือน[[พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2543]] [[บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] เข้าซื้อหุ้นของ บมจ.ไอทีวี จากธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่แสดงความจำนงจะขายหุ้น หลังประสบปัญหาในการบริหารสถานีฯ ส่งผลให้พนักงานฝ่ายข่าวของสถานีฯ บางส่วนไม่เห็นด้วย และเมื่อบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นเป็นผลสำเร็จ กลุ่มผู้บริหารและพนักงานฝ่ายข่าวบางส่วน ที่นำโดย เทพชัย หย่อง ตัดสินใจลาออกจากสถานีฯ และหลังจากนั้น ไอทีวีก็เคลื่อนย้ายที่ทำการ จากอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า มาอยู่บน[[อาคารชินวัตรทาวเวอร์]] 3 [[ถนนวิภาวดีรังสิต]]
 
ในช่วงประมาณปี [[พ.ศ. 2546]] [[ไตรภพ ลิมปพัทธ์|นายไตรภพ ลิมปพัทธ์]] กรรมการผู้จัดการ ''บริษัท บอร์น ออพปอเรชั่น จำกัด'' และ ''บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด'' และ ''[[บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)]]'' ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกับ บมจ.ไอทีวี พร้อมเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 และมีผลให้นายไตรภพมีสถานะเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีด้วย ซึ่งถือเป็นการกลับสู่ไอทีวีอีกครั้ง หลังจากที่ในระยะเริ่มแรกของสถานีฯ นายไตรภพ เคยเข้าร่วมกับกลุ่มสยามทีวี ในการประมูลสถานีโทรทัศน์เสรีมาแล้ว แต่ไม่นานนักก็ได้ถอนตัวออกไป
บรรทัด 54:
เมื่อเข้าบริหารไอทีวี นายไตรภพได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถานีฯ ใหม่ในหลายด้าน เช่น เปลี่ยนแปลงเวลานำเสนอข่าวภาคค่ำ จาก 19.00 น. มาเป็น 18.00 น., ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอรายการประเภทข่าวใหม่ และเปลี่ยนแปลง[[ผังรายการ]]ในช่วงเวลา 15.00-24.00 น. โดยเพิ่มเติมรายการบันเทิง เช่น [[ร่วมมือร่วมใจ]], [[ไอทีวี ฮอตนิวส์]], [[บุปผาแฟนคลับ]] (ของ บมจ.กันตนา กรุ๊ป), [[ชวนชื่นคาเฟ่]] (ของ บจก.บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ ) เป็นต้น พร้อมทั้งนำรายการทั้งหมดของ บจก.บอร์นฯ เช่น [[ทไวไลท์โชว์]], [[เกมเศรษฐี]], [[วอท อีส อิท? อะไรกันนี่]] เป็นต้น ซึ่งเดิมออกอากาศทาง[[ไทยทีวีสีช่อง 3]] มาออกอากาศทางไอทีวีด้วย แต่ในเวลาต่อมา บจก.บอร์น และ บมจ.กันตนา กรุ๊ป ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตกลงไว้ในบันทึกความเข้าใจได้ จึงส่งผลให้ทั้งสองบริษัทกลายเป็นผู้เช่าเวลาของสถานีฯ เท่านั้น พร้อมกันนั้น นายไตรภพก็ต้องสิ้นสุดการเป็นผู้อำนวยการสถานีฯ ลงเฉพาะตัว โดยมี [[ทรงศักดิ์ เปรมสุข|นายทรงศักดิ์ เปรมสุข]] และ[[นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล|นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล]] เข้ามาเป็นผู้บริหารสถานีฯ แทน
 
ในวันที่ [[9 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2549]] [[ศาลปกครองกลาง]]มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของ[[อนุญาโตตุลาการ]] ที่ชี้ขาดให้ สปน.ลดค่าสัมปทานแก่สถานีฯ เป็นเงิน 230 ล้านบาท ตลอดจนการปรับเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงในผังรายการ เป็นร้อยละ 50 เท่ากับรายการข่าวและสาระ รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดย อสมทสปน. ซึ่งเมื่อวันที่ [[13 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2549]] [[ศาลปกครองสูงสุด]]ก็พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานสำหรับเช่าเวลาออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับเพิ่มสัดส่วนให้รายการข่าวและสาระ เป็นร้อยละ 70 ต่อรายการบันเทิง ร้อยละ 30 ตามเดิม นอกจากนี้ บมจ.ไอทีวี ยังต้องเสียค่าปรับจากการผิดสัญญาสัมปทาน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานในแต่ละปี คิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มมีการปรับผังรายการ รวมระยะเวลา 2 ปี
 
จากนั้น สถานีฯ จึงต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกอากาศโดยทันที ประกอบกับที่ผู้ผลิตรายการบางส่วน เริ่มถอนรายการออกจากสถานีฯ เป็นผลให้ความนิยม (เรตติ้ง) ของสถานีฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ [[14 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2549]] [[จุลยุทธ หิรัณยะวสิต|นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต]] ปลัด[[สำนักนายกรัฐมนตรี]] ประกาศให้ บมจ.ไอทีวี ชำระค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงินรวม 464 ล้าน 5 แสนบาท มาชำระกับ อสมทสปน.ภายใน 45 วัน และให้ชำระค่าปรับ กรณีทำผิดสัญญาเรื่องปรับผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท ทั้งนี้ อสมทสปน.กับ บมจ.ไอทีวี ได้เปิดการเจรจา ขอให้ต่อเวลาเรียกชำระออกไปอีก 30 วัน ไปสิ้นสุดในวันที่ [[6 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2550]] แต่อย่างไรก็ตาม บมจ.ไอทีวี ก็ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานและชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว ให้กับ อสมทสปน.ได้ ที่สุดแล้ว ในวันที่ [[7 มีนาคม]] พ.ศ. 2550 [[คณะรัฐมนตรี]]จึงมีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี ระหว่าง อสมทสปน.กับ บมจ.ไอทีวี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 24.00 น. รวมระยะเวลาการออกอากาศทั้งสิ้น 10 ปี 8 เดือน 6 วัน 5 ชั่วโมง (รวมอายุสัมปทาน 11 ปี 8 เดือน 4 วัน)
 
== ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว ==
บรรทัด 81:
 
== คลื่นความถี่ ==
โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีในระบบ[[ยูเอชเอฟ]] ในนามสถานีโทรทัศน์ไอทีวีนั้น มี[[บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี]]เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ โดยทำสัญญาสัมปทานให้ [[สยามอินโฟเทนเมนท์|บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด]] (ภายหลังคือ [[บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)]]) ดำเนินการจัดตั้งสถานีฯ ได้ ตั้งแต่วันที่ [[3 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2538]] และออกอากาศทางช่อง 26 มาตั้งแต่วันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2539]]
 
ต่อมา ราวปี [[พ.ศ. 2542]] ไอทีวีได้รับอนุญาตจาก สปน.ให้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณที่ออกอากาศ ในระบบยูเอชเอฟ จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29{{อ้างอิง}} และในปีเดียวกัน ไอทีวีดำเนินการย้ายเสาส่งสัญญาณในส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จากอาคาร[[เอสซีบีปาร์คพลาซ่า]] , อาคาร[[สินสาธร ทาวเวอร์]] และ [[เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป|อาคาร เนชั่น ทาวเวอร์]] มาอยู่ที่ [[อาคารใบหยก 2]] แทน โดยไอทีวีดำเนินการแพร่ภาพนิ่ง เพื่อแจ้งให้ผู้ชมทราบการเปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณ และการย้ายเสาส่งของสถานีฯ ไว้ทางช่อง 26 พร้อมไปกับการแพร่ภาพออกอากาศตามปกติ ทางช่อง 29 ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2542<ref>[https://www.youtube.com/watch?v=CvuKQHXKsX8 โฆษณา สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (2542)]</ref>ก่อนที่จะยุติการแพร่ภาพทางช่อง 26 อย่างสมบูรณ์ ในปีเดียวกัน และออกอากาศทางช่อง 29 เรื่อยมาจนกระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็น[[สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี]] และ[[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]] ตามลำดับ ปัจจุบันช่อง 26 ในกรุงเทพมหานคร ถูกใช้งานโดยกรมประชาสัมพันธ์เพื่อแพร่ภาพในระบบดิจิทัล
บรรทัด 116:
''ดูรายละเอียดที่ [[สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี]]''
 
เมื่อวันที่ [[7 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2550]] บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งหนังสือยกเลิกสัญญามายัง บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผ่านระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 อย่างเป็นทางการ ในเวลา 24.00 น. ของวันดังกล่าว ทั้งนี้ ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้พนักงานไอทีวีดำเนินการออกอากาศได้ต่อไป ในคลื่นความถี่เดิมอย่างต่อเนื่อง โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการ ใช้ชื่อว่า ''สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี'' ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ [[8 มีนาคม]] เป็นต้นไป
 
== ดูเพิ่ม ==