ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Orraphan (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาตย์
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
|สังกัด =[[มหานิกาย]]
|วุฒิ = เปรียญธรรม 5 ประโยค
|ตำแหน่ง = [[เจ้าอาวาส]] [[วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร]] [[วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร]]
|รางวัล =
|ลิขิต =
บรรทัด 23:
 
== ประวัติ ==
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์เจริญ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง เป็นบุตรของหม่อมเจ้าถึก (พระโอรสใน[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์]])` ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านบางอ้อ ([[อำเภอบ้านนา]]) [[จังหวัดนครนายก]] แล้วติดตามบิดาเข้ามาอยู่ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เริ่มแรกได้ศึกษากับบิดา ต่อมาไปศึกษาภาษาบาลีกับพระอาจารย์จีน จนอายุได้ 7 ขวบ บิดาจึงนำไปถวายเป็นศิษย์ของ[[หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์)]] ขณะพระองค์ยังเป็นหม่อมเจ้าพระเปรียญอยู่วัดระฆังฯ และศึกษากับพระอมรเมธาจารย์ (เกษ) ขณะยังเป็นมหาเปรียญ กับหม่อมเจ้าชุมแสงซึ่งเป็นลุง และกับพระโหราธิบดดี (ชุม) ศึกษากับอาจารย์ทั้ง 4 ท่านนี้เป็นหลัก นอกจากนี้ก็ศึกษากับ[[สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)]] [[สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)]] เป็นต้นด้วย<ref>''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑'', หน้า 222</ref>
 
ปีมะเมีย พ.ศ. 2413 บรรพชาเป็นสามเณร และเข้าสอบพระปริยัติธรรมได้[[เปรียญธรรม 3 ประโยค]] ขณะอายุได้ 14 ปี ถึงปีชวด พ.ศ. 2419 ได้เข้าสอบอีก ณ [[พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท]] ได้เพิ่มอีก 1 ประโยคเป็น[[เปรียญธรรม 4 ประโยค]] ต่อมาในปีขาล พ.ศ. 2421 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] โดยมีหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ขณะยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันธน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ได้เข้าสอบอีกเป็นครั้งสุดท้ายที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เพิ่ม 1 ประโยค รวมเป็น[[เปรียญธรรม 5 ประโยค]]<ref>''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑'', หน้า 223</ref>
 
หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระราชานุพัทธมุนีแล้ว โปรดให้ท่านพร้อมด้วยฐานานุกรม 1 รูป มหาเปรียญ 1 รูป และพระอันดับ 4 รูป ย้ายไปอยู่วัดโมลีโลกยาราม โดยมีขบวนแห่ทางเรือประกอบด้วยเรือศรีม่านทองทรงพระพุทธรูป 1 ลำ เรือโขนม่านทองแย่งของพระราชานุพัทธมุนี 1 ลำ เรือม่านลายของพระที่ติดตาม 1 ลำ และเรือดั้งพิณพาทย์กลองแขก 2 ลำ ออกจากวัดระฆังตอนเช้าวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/012/89_1.PDF กำหนดการแห่พระสงฆ์ไปอยู่พระอารามหลวง], เล่ม 4, ตอน 12, 26 มิถุนายน ร.ศ. 106, หน้า 90</ref> (ตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2430)
 
เมื่อทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ได้ทรงโปรดฯ ให้ท่าน (ขณะยังเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์) เป็นเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/016/296.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งราชาคณะเจ้าคณะมณฑล], เล่ม 19, ตอน 16, 20 กรกฎาคม ร.ศ. 121, หน้า 296</ref> และพระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑลแก่ท่าน ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 19 กรกฎาคม ศกนั้น<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/017/334_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑล], เล่ม 19, ตอน 17, 27 กรกฎาคม ร.ศ. 121, หน้า 334</ref> ต่อมาท่านเกิดขัดแย้งกับ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] ถึงกับแสดงกิริยาและวาจามิบังควรเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงทราบ จึงทรงพระดำริจะถอดท่านจากสมณศักดิ์ แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ขอพระราชทานโทษไว้ จึงมีพระบรมราชโองการให้ท่านกราบทูลขอขมาโทษต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ในท่ามกลางเถรสมาคม ให้ลดนิตยภัตลงมาเท่าพระราชาคณะชั้นสามัญตลอดปี และให้ถอดเสียจากตำแหน่งผู้บัญชาการคณะมณฑลนครสวรรค์<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/520.PDF ประกาศกระทรวงธรรมการ ประกาศถอนพระพิมลธรรมจากตำแหน่งผู้บัญชาการคณะมณฑลนครสวรรค์], เล่ม 31, ตอน 0 ง, 7 มิถุนายน 2457, หน้า 520-521</ref>