ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัคส์ แอ็นสท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
ในปี ค.ศ. 1919 งานเทคนิคผสมได้ถูกนำมารวมกับงานพิมพ์เพื่อการค้า การพิมพ์ถูแล้วระบายสีเคลือบทับของภาพประกอบในวัสดุสิ่งพิมพ์และงานภาพปะติดได้เข้ามาแทนทีการใช้พู่กัน ปากกา หรือดินสอ วิธีนี้ถือเป็นการท้าทายในเชิงทำลายที่ต่างจากมาตรฐานศิลปะในสมัยนั้นแอ็นสท์ปฏิเสธการทำงานที่มุ่งรูปแบบธรรมชาติโดยตรง ทั้งไม่พยายามส่งผลกระทบต่อผู้ชมให้เกิดการยอมรับความจริง อีกแง่มุมหนึ่งถือเป็นแบบรากฐานแห่งการเข้าถึงชีวิตโลกแบบใหม่ เป็นการกระทำเพื่อล้อเลียนรูปแบบต้นแบบวัตถุที่เขาแสดงออกในงานภาพตัดปะ
 
====2. ประสบการณ์จากยุคดาดาและภาพปะติด (''Fruit of a Long Experience Dada''), 1919–1922====
ผลงานศิลปะที่นำวัสดุและวิธีเสนอเป็นภาพปะติด โดยการตัดเฉพาะส่วนที่แตกต่างกัน สิ่งที่ขัดแย้งกันมารวมกัน ถือเป็นการต่อต้านความจริงขั้นพื้นฐานทางสายตา เพื่อสร้างสรรค์สู่โลกใหม่และหนีจากโลกความจริง โดยเฉพาะความจริงจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาซึ่งการทำลายล้างก่อเกิดเป็นสงคราม แนวคิดของแอ็นสท์ที่ยึดหลักความไร้เหตุผลมาเป็นเหตุผล เพื่อแสดงออกถึงความมีสิทธิและเสรีภาพ จนกระทั่งกลายเป็นกระบวนการคติดาดา คตินิยมที่ปฏิเสธกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางสังคมและรสนิยมทางศิลปะอย่างสิ้นเชิง
 
====3. ''มนุษย์ไม่ควรรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้'' (''Of This Men Shall Know Nothing''), 1923–1924====
จากการตีความหลักจิตวิทยาวิเคราะห์ของฟร็อยท์ ในความหมายที่เกี่ยวกับเนื้อหาความฝันที่เปิดเผย จุดประสงค์แห่งขีดความไร้สำนึกที่ปราศจากการควบคุม ถือเป็นแนวทางที่เด่นชัดของกลุ่มลัทธิเหนือจริง โดยภาพวาดของแอ็นสท์ใช้รูปแบบคนโดยการลดทอนและนำมาจัดรวมกันใหม่ให้ดูแปลกไปจากเดิม หรือนำอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของคนมานำเสนอเฉพาะส่วนที่จำเป็น ใช้วิธีการระบายสีเน้นลักษณะพื้นผิวด้วยรอยแปรงอย่างชัดเจน
 
====4. การพิมพ์ถูและประวัติธรรมชาติ (Frottage and History Natural), 1925–1926====
การค้นพบเทคนิคการลอกลาย หรือเทคนิคอัตโนมัตอัตโนมัติ เป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์และจิตไร้สำนึก เทคนิค Frottage หรือพิมพ์ถูเป็นการแสดงให้เห็นถึงขอบเขตของทฤษฎีการกระทำแบบอัตโนมัติของกลุ่มเซอร์เรีบลิสม์เหนือจริง การทำซ้ำ ๆ ในการออกแบบตามความรู้สึกนึกคิด ซึ่งวิธีการที่เกี่ยวข้องกลับสวนทางกับความคิดของการวาดภาพที่ต่อเนื่องรวดเร็ว โดยผลลัพธ์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพผิวและรูปร่าง เข้าเป็นหน่วยสื่อความหมายทางภาษาด้วยการแสดงออกชุดผลงานอย่างต่อเนื่อง การผันแปรสับเปลี่ยนองค์ประกอบภายในชุดผงงาน ความสอดคล้องของรูปทรงหนึ่งกับอีกรูปทรงหนึ่ง
 
====5. นก เจ้าสาว ป่า และดอกไม้ (Birds, Brides, Forests and History Natural), 1927–1939====
บรรทัด 52:
 
====6. นวนิยายภาพปะติดและการแผ่ขยาย (The Collage Novels and Loplop), 1930–1936====
รูปแบบภาพตัดปะด้วยเทคนิคสื่อประสม(Mix Media) คือการเปลี่ยนจากภาพประกอบนิยายราคาถูกแกะสลักไม้ และเปลี่ยนมาเป็นพิมพ์แม่พิมพ์โลหะ เพื่อจะเอาชนะวิธีการแบบใหม่ของการคัดลอกงานด้วยวิธีการต่าง ๆ แอ็นสท์ได้เสนอความหลากหลายของการจัดองค์ประกอบศิลป์ การผสมผสานการปะติดในส่วนที่เกี่ยวกับลวดลายต้นแบบวัตถุจริง
 
===7. ทัศนียภาพโรแมนติก เมือง และป่า (The Romantic Vision : Cities and Jungles), 1935–1938===