ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปราสาทพระวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 75:
=== โคปุระ ชั้นที่ 3 ===
[[ไฟล์:PreahVihear01.jpg|thumb|ภาพวาดโคปุระที่ 3 โดยปามังติเอร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส]]
[[ไฟล์:គោបុរៈទី៣នៃប្រាសាទព្រះវិហារ.jpg|thumb|250px|โคปุระชั้นที่ 3]]
โคปุระชั้นที่ 3 นั้นมีขนาดใหญ่สุด สมบูรณ์ที่สุด และขนาบด้วยห้องสองห้อง ตัวปราสาทประธานนั้นสามารถผ่านเข้าไปทางลานด้านหน้า บันไดกว้าง 3.6 เมตร สูง 6 เมตร สองข้างมีฐานตั้งรูปสิงห์นั่ง 5 กระพัก
* '''มนเทียรกลาง''' มุขเหนือหน้าบันเป็นรูป[[พระกฤษณะ]]ยกภูเขาโควรรธนะ ทับหลังเป็นรูป[[พระนารายณ์]] 4 กรทรงครุฑ มุขตะวันออกและตะวันตกที่ผนังด้านเหนือมีซุ้มประตู 1 ซุ้มหน้าประตูมีรูปสิงห์นั่งตั้งอยู่ ห้องใหญ่มีหน้าต่างซีกเหนือ 6 ช่องซีกใต้ 2 ช่องมุขใต้หน้าบันเป็นรูป[[พระอิศวร]]บนหลัง[[โคอุศุภราช]]
เส้น 83 ⟶ 84:
=== โคปุระ ชั้นที่ 4 ===
[[ไฟล์:เขาพระวิหารโคปุระ21.jpg|thumb|ภาพเขียนแสดงให้เห็นส่วนโคปุระ ชั้นที่ 4 และชั้นที่ 5เมื่อยังสมบูรณ์ 'วารสารสยามสมาคม ค.ศ. 1956'']]
[[ไฟล์:គោបុរៈទី៤នៃប្រាសាទព្រះវិហារ.jpg|thumb|โคปุระชั้นที่ 4]]
 
* '''มนเทียรหน้า''' เป็นรูปกากบาท กว้าง 23 เมตร ยาว 23 เมตร มีมุขทั้ง 4 ทิศ ที่มุขเหนือและใต้มีช่องหน้าต่างมุขละ 2 ช่อง มุขตะวันออกและตกมีประตูหน้าหลังมุขละ 2 ประตู กับช่องหน้าต่างมุขละ 1 ช่อง ห้องใหญ่มีหน้าต่างที่ผนังด้านเหนือ 6 ช่อง ด้านใต้ 4 ช่อง ซุ้มประตูส่วนมากจะเป็นซากปรักหักพัง กรอบประตูห้องใหญ่มีจารึกอักษรขอมระบุบปีศักราชตกอยู่ในสมัยพระเจ้าสุรยวรมันที่ 1 ด้านหน้ามนเทียรมีบันไดตรงกับประตูซุ้มทั้ง 3 ประตูและมีชานต่อไปยังเฉลียงซ้ายและขวา
* '''เฉลียงซ้ายและขวา''' เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 เมตร ยาว 32 เมตร ผนังด้านนอกทึบ ด้านในเปิดมีเสาราย 10 ต้น ที่สนามด้านหน้ามีภาพจำหลักตกหล่นอยู่หลายชิ้น เช่น รูปกษัตริย์กำลังหลั่งน้ำทักษิโณฑกแก่พราหมณ์
เส้น 124 ⟶ 127:
=== การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา ===
{{บทความหลัก|ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา}}
[[ไฟล์:ជណ្តើរខាងជើង.jpg|thumb|260px|ลานนาคราช (สะพานนาค) ประดับ[[ธงชาติกัมพูชา]]]]
 
เมื่อ [[8 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2548]] กัมพูชาได้เสนอต่อ[[องค์การยูเนสโก]]ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น[[มรดกโลก]]อย่างเป็นทางการ ปี [[พ.ศ. 2549]] วันที่ [[30 มกราคม]] ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกที่[[ปารีส]]ขอให้กัมพูชายื่นเอกสารใหม่เกี่ยวกับเขตกันชนของปราสาท และมีคำแนะนำให้ร่วมมือกับฝ่ายไทย<ref name="สารคดี"/> [[พ.ศ. 2550]] กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอีกครั้ง ขณะที่ไทยยื่นบันทึกช่วยจำต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาและเสนอขึ้นทะเบียนร่วม (transboundary property) แต่คณะกรรมการมรดกโลกสากลมีมติเลื่อนการขึ้นทะเบียนออกไป โดยให้ไทย-กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และในวันที่ [[8 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2551]] องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เฉพาะเพียงตัวปราสาทเท่านั้น โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อ (i) เพียงข้อเดียว<ref name="whitebook">[[สื่อ:Whitepage.pdf| สมุดปกขาวชี้แจงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก]]</ref>