ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 54:
[[ไฟล์:Scala Cinema (II).jpg|250px|thumb|ภายในโถงทางเข้าโรงภาพยนตร์สกาลา]]
หนังสือดังกล่าว มีขนาด[[แท็บลอยด์]] ออกเป็นรายเดือน โดยชื่อของศูนย์การค้าย่านนี้ที่ว่า "สยามสแควร์" มีที่มาจาก คอลัมน์ซุบซิบเรื่องราวต่าง ๆ ของบุคคลในวงการบันเทิง และบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงสังคม ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเขียนโดย[[พอใจ ชัยเวฬุ]] ที่มีชื่อว่า ''สยามสแควร์'' มาก่อนแล้วนั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีนักเขียนรับเชิญ ที่โด่งดังอีกหลายท่าน อาทิ [[ประมูล อุณหธูป]], [[วิลาศ มณีวัต]], [[สุจิตต์ วงษ์เทศ]], [[ขรรค์ชัย บุนปาน]] เป็นต้น
 
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2519 มีการขว้างระเบิดใส่ขบวนของนักศึกษาประชาชนที่เดินขบวนต่อต้านฐานทัพอเมริกาที่บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์สยาม มีผู้เสียชีวิต 4 คน คือ นาย กมล แซ่นิ้ม นาย นิพนธ์ เชษฐากุล นาย แก้ว เหลืองอุดมเลิศ และ นาย ธเนศร์ เขมะอุดม
 
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2536 โรงภาพยนตร์ลิโด เกิดเหตุ[[เพลิงไหม้]] จึงต้องก่อสร้างปรับปรุงใหม่ เป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก (มัลติเพล็กซ์) จำนวนสามโรง และเปิดทำการอีกครั้ง ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2537 ต่อมาราวปี พ.ศ. 2544 โรงภาพยนตร์ทั้งสามแห่ง ทยอยติดตั้ง ระบบเสียง เซอร์ราวด์ ดอลบี ดิจิตอล เอสอาร์ดี ดีทีเอส เอสดีดีเอส รวมทั้งทยอยติดตั้ง ระบบปรับอากาศ[[โอโซน]] เพื่อฟอกอากาศให้บริสุทธิ์สดชื่น นอกจากนี้ โรงภาพยนตร์ทั้งสามแห่ง ยังเปิดพื้นที่ใต้ถุนโรงภาพยนตร์ โดยแบ่งเป็นห้องเล็ก ๆ ให้ผู้ประกอบการรายย่อย เช่าเปิดเป็นร้านค้าต่าง ๆ โดยส่วนมากจะจำหน่ายเสื้อผ้า และเครื่องประดับตามแฟชั่น<ref>[http://www.apexsiam-square.com/aboutus.asp ประวัติโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์]</ref>