ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป้อมวิไชยประสิทธิ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Paul 012 (คุย | ส่วนร่วม)
เขียนใหม่
เพิ่มเติมที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์
บรรทัด 4:
ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เดิมเป็นป้อมหอรบตั้งอยู่มุมกำแพงเมืองบางกอก (ธนบุรี) ถูกสร้างขึ้นในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]เพื่ออารักขาปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าขายสำคัญ คาดว่าป้อมนี้ถูกสร้างขึ้นก่อนรัชสมัยของ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] โดยอาจมีชาวโปรตุเกสช่วยออกแบบ<ref name="พิพัฒน์">พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2560). การค้าในการเมือง กับ มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ วิศวกรฝรั่งเศสผู้ออกแบบป้อมกำแพงเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์. ''วิจิตรศิลป์''. 8(2): 185-264. https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/78661.</ref>
 
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้ทรงให้ปรับปรุงและสร้างป้อมเมืองบางกอกขึ้นใหม่ โดยอาจดำเนินการตามคำกราบบังคมทูลของ[[เจ้าพระยาวิชเยนทร์]] (คอนสแตนติน ฟอลคอน) การออกแบบและควบคุมการก่อสร้างป้อมทำโดยมองซิเออร์[[เดอ ลา มาร์]] นายช่างชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทในการก่อสร้างป้อมปราการหลายแห่งสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยคุณพ่อ โทมัสโซ วัลกวาเนรา [[บาทหลวง]][[คณะเยสุอิต]]ชาว[[ประเทศอิตาลี|อิตาเลียน]] เป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม<ref>[http://baanxavier.org/?page_id=1059&lang=th 160ปี ของคณะเยสุอิต ในกรุงศรีอยุธยา]</ref> ลา มาร์ได้วางแผนก่อสร้าง[[ป้อมดาว]]ตามแบบตะวันตกทั้งสองฝั่งแม่น้ำ มีโซ่ขึงกั้นแม่น้ำเพื่อป้องกันเรือเข้าออก แต่มีเพียงป้อมฝั่งตะวันออกที่ได้สร้างจนสำเร็จ ก่อนจะเกิดการปฏิวัติเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ และถูกรื้อลงใน[[สมัยรัตนโกสินทร์]]<ref name="พิพัฒน์" /> (บางแหล่งกล่าวว่ารื้อลงในสมัย[[สมเด็จพระเพทราชา]]) ป้อมวิไชยประสิทธิ์จึงยังคงรูปลักษณ์เดิมอยู่
 
ป้อมทั้งสองฝั่งแม่น้ำนี้ แหล่งข้อมูลบางแหล่งระบุชื่อป้อมฝั่งตะวันออกว่า'''ป้อมวิไชยเยนทร์''' และฝั่งตะวันตกว่าป้อมวิไชยประสิทธิ์ ขณะที่บางแหล่งเรียกรวมกันว่าป้อมวิไชยเยนทร์หรือ'''ป้อมบางกอก''' และระบุว่าต่อมาเมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงสถาปนา[[กรุงธนบุรี]]เป็นราชธานี ได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นบริเวณป้อมฝั่งตะวันตก พร้อมกับปรับปรุงป้อมพระราชทานนามว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์"