ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกออร์ค คันทอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
| alma_mater = [[สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก]], [[มหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน]]
| doctoral_advisor = [[แอ็นสท์ คุมเมอร์]]<br>[[คาร์ล ไวแยร์สตราสส์]]<ref name = "Mathematics Genealogy Project">[http://www.genealogy.ams.org/id.php?id=29561 Georg Ferdinand Ludwig Philipp Cantor's Mathematics Genealogy]</ref>
| doctoral_students = Alfredอัลเฟรท Barneckบาร์เน็ค<ref name = "Mathematics Genealogy Project"></ref>
| known_for = [[ทฤษฎีเซต]]
| religion = [[ลูเทอแรน]]
| prizes =
}}
'''เกออร์ค แฟร์ดีนันท์ ลูทวิช ฟิลลิพ คันทอร์''' ({{lang-drde|Georg Ferdinand Ludwig Philipp Cantor}}, 3 มีนาคม ค.ศ. 1845 – 6 มกราคม ค.ศ. 1918) เป็น[[นักคณิตศาสตร์]] เกิดในรัสเซีย แต่ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในนามของผู้บัญญัติ[[ทฤษฎีเซต]]ยุคใหม่ โดยได้ขยายขอบเขตของทฤษฎีเซตให้ครอบคลุมแนวคิดของ[[จำนวนเชิงอนันต์]] (transfinite or infinite numbers) ทั้ง[[จำนวนเชิงการนับ]]และ[[จำนวนเชิงอันดับที่]] นอกจากนี้ คันทอร์ยังเป็นที่รู้จักจากผลงานในเรื่องการแทน[[ฟังก์ชัน]]ด้วย[[อนุกรมตรีโกณมิติ]] ที่เป็นเอกลักษณ์ (unique representation of functions by means of trigonometric series) ซึ่งเป็นภาคขยายของ[[อนุกรมฟูรีเย]]
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 28:
ขณะเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮัลเลอนี้เอง คันทอร์ได้รับอิทธิผลของไฮเนซึ่งเป็นอาจารย์อาวุโสประจำมหาวิทยาลัย ทำให้คันทอร์เริ่มเปลี่ยนความสนใจจากทฤษฎีจำนวนไปเป็น[[คณิตวิเคราะห์]] ในปี ค.ศ. 1873 คันทอร์มีผลงานชิ้นสำคัญคือ การพิสูจน์ว่าเซตของจำนวนตรรกยะเป็นเซตนับได้ และในปลายปีเดียวกัน ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าเซตของจำนวนจริงเป็นเซตที่นับไม่ได้ ซึ่งผลงานทั้งสองนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปีถัดมา ในผลงานดังกล่าว คันทอร์ยังได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสมนัยแบบหนึ่งต่อหนึ่งของสมาชิกในเซตเป็นครั้งแรกอีกด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1879–1884 คันทอร์ได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญต่อการพัฒนา[[ทฤษฎีเซต]]อย่างมากถึงหกฉบับลงในวารสาร ''Mathematische Annalen'' แต่ถูกนักคณิตศาสตร์บางคนในสมัยนั้นต่อต้าน เพราะมีแนวคิดที่แปลกใหม่จนเกินไป การโจมตีผลงานของคันทอร์ได้ส่งผลกระทบทางจิตใจของคันทอร์ในเวลาต่อมา
 
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1884 คันทอร์เริ่มมีอาการซึมเศร้า และมีอาการเรื้อรังเรื่อยมา จนทำให้เขาเริ่มหันไปสนใจปรัชญาและวรรณคดี ในขณะที่ก็ยังมีผลงานทางด้านคณิตศาสตร์อยู่ นับจากปี ค.ศ. 1899 เป็นต้นมาอาการป่วยของคันทอร์ก็หนักลงเรื่อย ๆ จนต้องลาจากการสอนเป็นระยะเพื่อรักษาตัว ในปี ค.ศ. 1911 คันทอร์ได้รับเกียรติในฐานะนักวิชาการต่างชาติไปร่วมงานเฉลิมฉลอง 500 ปี ของ[[มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์]]แห่ง[[สกอตแลนด์]] จากนั้นอีกปีหนึ่ง คันทอร์ก็ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนี้เช่นกัน แต่ก้ไม่สามารถเดินทางไปรับได้เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ คันทอร์เกษียณในปี ค.ศ. 1913 และมีอาการป่วยเรื้อรังตลอดเวลา ในปี ค.ศ. 1915 มหาวิทยาลัยฮัลเลอมีแผนจะจัดงานฉลองอายุครบ 70 ให้แก่คันทอร์ แต่ก้ต้องยกเลิกเพราะเกิด[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] คันทอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1918 ที่เยอรมนี ด้วยอาการหัวใจวาย รวมอายุได้ 72 ปี
 
[[ดาวิท ฮิลเบิร์ท]] ได้กล่าวยกย่องคันทอร์ไว้ว่า